อินเตอร์เน็ตกับการก่อการร้ายสากล
โลกของเราในยุคปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุคของโลกาภิวัฒน์ (Globalization)เป็นสังคมโลกในยุคที่ 4 เป็นสังคมของข้อมูลข่าวสาร (Information Technology )ซึ่งมีการบูรณาการระบบการติดต่อสื่อสารต่างๆเข้าด้วยกันทำให้เกิดการไหลของข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว โดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตามความเจริญก้าวหน้าของระบบการติดต่อสื่อสารดังกล่าวก็ได้เปิดโอกาสและช่องทางให้กลุ่มก่อการร้ายอาศัยสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การประสานงานและการวางแผนก่อการร้าย ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการของกลุ่มก่อการร้าย เพื่อที่จะได้แนวทางในการแก้ปัญหาหรือลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของกลุ่มก่อการร้าย
โดยธรรมชาติของอินเตอร์เน็ต เป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมเป็นอย่างมากในการดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์กรก่อการร้ายต่างๆ เนื่องจาก สะดวกต่อการเข้าถึง มีกฎข้อบังคับน้อย ไม่มีการตรวจสอบ หรือการควบคุมจากรัฐบาล จำนวนของผู้ชมมหาศาลจากทั่วโลก การไหลของข้อมูลที่รวดเร็ว ราคาประหยัดในการดำเนินการจัดทำและดูแล และ สามารถสื่อสารได้ในระบบมัลติมีเดีย ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและดาวโหลดข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เริ่มจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ วิตกกังวลในจุดอ่อนของระบบการติดต่อสื่อสารในอันที่จะรับมือกับภัยคุกคามอาวุธนิวเคลียร์ ภายหลังยุคของสงครามเย็นในช่วงปี ค.ศ.1970s จึงได้ตัดสินใจที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสาร นับจากนั้นเป็นต้นมาระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายได้มีการใช้งานในองค์กรต่างๆ และได้รับการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อการใช้งานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี และได้ขยายตัวเข้าสู่ภาคธุรกิจและการค้าในช่วงปลายปี ค.ศ.1980s และในช่วงกลางปี ค.ศ.1990s ระบบอินเตอร์เน็ตได้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันมากกว่า 18,000 เครือข่ายทั่วโลก และจำนวนดังกล่าวก็มีจำนวนเพิ่มสูงมากขึ้นทุกๆปีตามลำดับ โดยมีจำนวนของผู้ใช้งานในช่วงต้นปีของศตวรรษที่ 20 ประมาณมากกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก
ผู้ก่อการร้ายใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไร
การใช้งานอินเตอร์เน็ตของกลุ่มก่อการร้ายมีรูปแบบพลวัตร (Dynamic) คือมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีการผุดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็วหรือคงอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกปิดและการลวงถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกลุ่ม อย่างไรก็ตามเราสามารถระบุการใช้งานอินเตอร์เน็ต ของกลุ่มก่อการร้ายได้ออกเป็น 8 แนวทางซึ่งมีการทับซ้อนกันบางโอกาส มีการใช้งานคู่ขนานกันไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ดังนี้
สงครามปฏิบัติการจิตวิทยา
การบิดเบือนข้อเท็จจริง การเผยแพร่ภัยคุกคามให้เกิดความหวาดกลัวและสิ้นหวัง เช่นการสังหารผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันอย่างโหดเหี้ยม ภาพวิดีโอเทปที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของผู้ก่อการร้ายหลายๆ แห่ง ผู้ก่อการร้ายสามารถสร้างความหวาดกลัวผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อผลทางจิตวิทยา ความหวาดกลัวภัยอินเตอร์เน็ต ถูกกระทำให้เกิดขึ้นจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการโจมตีต่อระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายของสายการบินต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการบินขัดข้อง หรือโจมตีระบบเศรษฐกิจของชาติ โดยการเจาะระบบเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหุ้น โดยอาศัยการไหลของข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและต่อเนื่อง จนทำให้สาธารณชนเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง
กลุ่มอัลเคด้า ได้ผสมผสานการโฆษณาชวนเชื่อโดยอาศัยเทคโนโลยีในการสร้างรูปแบบสงครามปฏิบัติการจิตวิทยา อุสมา บิน ลาเดน และพรรคพวก มุ่งความพยายามของการสร้างการโฆษณาชวนเชื่อบน อินเตอร์เน็ต สถานที่ซึ่งผู้เยี่ยมชมจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงเพื่อสร้างความความเห็นใจ ในรูปแบบของสื่อชนิดต่างๆ เช่น ข้อความ วิดีโอเทปและ ไฟล์เสียง CD –ROMs ,DVDs, ภาพ และประกาศประชาสัมพันธ์ต่างๆ
เป็นที่น่าสนใจว่า กลุ่มอัลเคด้า สามารถอ้างต่อเนื่องในเวบไชต์ ถึงการทำลายล้างตึกเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ Center has inflicted psychological damage พอๆกับการสร้างความเสียหาย concrete damage, ในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ การโจมตีตึกแฝดดังกล่าวถือเป็นการกระทำต่อเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ หลักฐานที่มีประสิทธิภาพคือการอ่อนค่าลงของเงินดอลล่าห์สหรัฐฯ ,การตกลงของตลาดหุ้น และการสูญเสียความเชื่อมั่นของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอื่นๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่ถึงการกระทำดังกล่าวว่า สหรัฐอมริกาถูกโต้ตอบโดยอำนาจที่ยิ่งใหญ่จากพระเจ้า
สาธารณะและการโฆษณาชวนเชื่อ
อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญและเพิ่มโอกาสของกลุ่มก่อการร้ายที่จะแย่งชิงสาธารณะ โดยคาดหวังชัยชนะเหนือสาธารณะในปัญหาและกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ สมัยก่อนการต่อสู้ต้องพึ่งพาสื่อจำพวก วิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งปกติแล้วยากที่กลุ่มก่อการร้ายจะเข้าถึง จนกระทั้งอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น ความจำกัดดังกล่าวได้หมดไป ปัจจุบันกลุ่มก่อการร้ายต่างๆได้มีเว็บไซต์ของตนเองเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร สามารถที่จะนำเสนอและควบคุมข่าวสารได้อย่างไม่จำกัด สร้างภาพที่ยุติธรรมและโจมตีศัตรูได้ เว็บไซต์ของกลุ่มก่อการร้ายปกติแล้วจะนำใช้เทคนิคในการนำเสนอ 3 แนวทาง
ประการแรกคือการกล่าวอ้างถึงความจำเป็นและไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้ความรุ่นแรง ด้วยวิธีการนี้ จะทำให้สื่อถึงภาพองค์กรที่มีขนาดเล็ก อ่อนแอ และถูกเอารัดเอาเปรียบ
ประการที่สองจะเกี่ยวข้องกับความชอบธรรมของการใช้ความรุ่นแรงเพื่อ สมาชิกของกลุ่มจะถูกนำเสนอในฐานะของนักสู้เพื่ออิสรภาพ แรงกระตุ้นให้ต่อสู้อย่างรุ่นแรงเนื่องจากศัตรูกำลังบีบคั้นสิทธิและศักดิ์ศรีของกลุ่ม กลุ่มหรือองค์กรที่อยู่ตรงข้ามคือผู้ก่อการร้ายตัวจริง การใช้ความรุ่นแรงเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ่งที่ถูกกระทำ กลุ่มก่อการร้ายพยายามที่จะเปลี่ยนความรับผิดชอบของความรุ่นแรงให้กับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีความโหดร้าย ไม่ใช้มนุษย์ และไร้ศีลธรรม
กลยุทธ์ประการที่สามคือการสร้างภาพของการไม่ใช้ความรุ่นแรงในความพยายามในการแก้ไขปัญหา แม้ว่าองค์กรเหล่านี้คือองค์กรแห่งความรุ่นแรง เว็บไซต์จำนวนมากของกลุ่มเหล่านี้กล่าวอ้างถึงการค้นหาการแก้ปัญหาอย่างเสรีภาพ ซึ่งเป้าประสงค์สูงสุดคือการเจรจาทางการทูต
แหล่งข้อมูล
อินเตอร์เน็ตอาจจะถูกมองในฐานะของห้องสมุดดิจิตอลขนาดใหญ่ ในโลกของอินเตอร์เน็ตเพียงอย่างเดียวก็เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล และส่วนใหญ่แล้วฟรี และส่วนใหญ่ก็เป็นที่สนใจของ กลุ่มก่อการร้าย พวกก่อการร้ายสามารถเรียนรู้จากอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับเป้าหมายเช่น ระบบการขนส่งมวลชน โรงงานนิวเคลียร์ อาคารสาธารณะ สนามบิน ท่าเรือ แม้กระทั่งมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย แดน เวอร์ตันผู้เขียน หนังสือ “ The Invisible Threat of Cyberterrorism” (2003), อธิบายว่า กลุ่มก่อการร้ายอัลเคด้า ปฏิบัติการโดยใช้ฐานข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในการรวบรวมเป้าหมายที่เป็นไปได้ในสหรัฐฯ กลุ่มก่อการร้ายใช้อินเตอร์เน็ตเครื่องมือการข่าวเพื่อรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับเป้าหมาย เฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายสำคัญด้านเศรษฐกิจ ด้วยความสามารถของโปรแกรมสมัยใหม่เกื้อกูลให้สามารถศึกษาโครงสร้างจุดอ่อนของสิ่งอำนวยความสะดวกรวมทั้งการคาดการณ์ผลกระทบจากการโจมตีที่เกิดขึ้น
ปัจจุบันมีเว็บไซต์จำนวนมากที่เสนอเครื่องมือในการค้นหาข้อมูล (Search Engine) เช่น google.com ,yahoo.com live.com จากฐานข้อมูลบนเว็บของตนเอง ทำให้เกื้อกูลต่อผู้ก่อการร้ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกโดยใช้ความพยายามเล็กน้อยหรือลงทุนนิดหน่อย
แหล่งระดมเงินทุน
การหาเงินทุนสนับสนุนการก่อการร้ายโดยอาศัยอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง คล้ายกับเว็บไซต์ขององค์การทางการเมือง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อหาเงินทุนจากผู้สนับสนุน ดังนั้นกลุ่มผู้ก่อการร้ายก็ได้จัดตั้งเว็บไซต์จำนวนมากขึ้นเพื่อระดมทุนจาก แนวร่วมหรือผู้มีอุดมการณ์ร่วมจากทั่วโลก ซึ่งจะอยู่ในรูปของการบริจาคเพื่อกองทุนการกุศล องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ เช่น The Sunni extremist group Hizb al-Tahrir ใช้การบูรณาการของเว็บไซต์ เครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนการกุศลทางศาสนา JIHAD ซึ่งผู้ศรัทธาสามารถบริจาคได้ทั้งในรูปแบบของการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยใช้ระบบบัตรเครดิตด้วย จึงนับว่าสะดวกอย่างยิ่ง
กลุ่มก่อการร้ายจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ในการกรอกแบบสอบถาม หรือการสั่งซื้อในอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้สามารถระบุกลุ่มผู้ใช้ ที่มีแนวโน้มทัศนะคติความเชื่อที่ใกล้เคียงกัน ต่อมากล่มบุคคลเหล่านี้จะถูกถามให้บริจาคเงินช่วยเหลือ ผ่านทางระบบอีเมล์ ซึ่งส่งมาจากตัวแทนของก่อการร้าย (องค์กรที่สนับสนุนการก่อการร้าย แต่ดำเนินการเปิดเผยและถูกกฎหมาย และปกติจะไม่มีหลักฐานเชื่อโยงถึงกลุ่มก่อการร้าย) ยกตัวอ่าง เงินทุนสนับสนุนขบวนการฮามาส จะถูกรวบรวมผ่านทางเว็บไซต์ ของ Texas-based charity, the Holy Land Foundation for Relief and Development (HLF) ซึ่งถูกรัฐบาลสหรัฐฯ จับกุมทรัพย์สินในธันวาคม 2001 เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มฮามาส
การชักจูงสมาชิก
อินเตอร์เน็ตไม่เป็นเพียงแต่เครื่องมือในการเข้าถึงการบริจาค แต่รวมถึงการชักชวนสมาชิกใหม่โดยอาศัยการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บ ผู้ใช้งานซึ่งแสดงออกถึงสนใจมากที่สุดต่อกิจกรรมของกลุ่มหรือมีความเหมาะสมที่สุดต่อการดำเนินการของกลุ่มจะได้รับการติดต่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป้าหมายที่ถูกเลือกจะเป็นคนหนุ่มสาว นอกจากนั้นยังมีข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผย ว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการโฆษณาตัวเองต่อกลุ่มก่อการร้าย เช่นกรณีของนักศึกษา Ziyad Khalil นักศึกษาชาวอียิปต์ซึ่งศึกษาอยู่ในคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัย โคลัมเบีย รัฐ มิสซูรี สหรัฐฯ ได้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอตัวเองต่อกลุ่มก่อการร้าย ด้วยการจัดตั้งเว็บไซต์สนับสนุนกลุ่มฮามาส กิจกรรมที่เขาทำหลายอย่างผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำให้เขาเป็นที่สนใจของ บินลาเดนและพรรคพวก ต่อมา Khalil ได้กลายมาเป็นตัวแทนของอัลเคด้าในสหรัฐฯ ทำหน้าที่ในการจัดซื้อโทรศัพท์ดาวเทียม คอมพิวเตอร์และระบบอิเล็คโทรนิคในการติดต่อสื่อสาร เพื่อช่วยให้บินลาเดนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สนับสนุนและลูกน้องของเขาได้ อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วกลุ่มก่อการร้ายจะเข้าถึงเป้าหมายที่ต้องการมากกว่าที่จะให้เป้าหมายนำเสนอตัวเอง
เครือข่ายเชื่อมโยงถึงกัน
ปัจจุบันกลุ่มก่อการร้ายฮามาสและอัลเคด้าได้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์และการสั่งการ และขยายการติดต่อสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ในอนาคตกลุ่มก่อการร้ายมีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจในการควบคุมและสั่งการมาขึ้น โดยระบบสายสัมพันธ์ของกลุ่มก่อการร้ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการติดต่อและการประสานงานจะกระจายเป็นไปในทิศทางระดับมากกว่าทางดิ่ง
เหตุผลที่เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเตอร์เน็ต สามารถเอื้อประโยชน์อย่างมากต่อกลุ่มก่อการร้ายในการจัดตั้งและดำรงสภาพของเครือข่ายเนื่องจาก ประการแรกเทคโนโลยีช่วยลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างเสรีและประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สอง เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการลดค่าใช้จ่ายของการติดต่อสื่อสาร และประการที่สาม การบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับการติดต่อสื่อสารส่งผลให้สามารถเพิ่มรูปแบบของการสื่อสารที่หลากหลายของข้อมูลที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้
อินเตอร์เน็ตไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างสมาชิกของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระหว่างสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายทั่วโลกด้วย เช่น เว็บไซต์จำนวนมากซึ่งสนับสนุนการก่อการร้ายในนามของจีฮัด โดยเว็บไซต์เหล่านี้รวมทั้งชุมชนออนไลน์ (Forum) อนุญาตให้กลุ่มก่อการร้ายต่างๆทั่วโลกเช่น Chechnya, Palestine, Indonesia, Afghanistan, Turkey, Iraq, Malaysia, the Philippines, and Lebanon แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เช่นการผลิตระเบิด การชักจูงสมาชิกใหม่ และการปฏิบัติการโจมตี เป็นต้น
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
โลกของอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนแหล่งรวมของของเว็บไซต์จำนวนมหาศาล ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสารเคมี การผลิตวัตถุระเบิด เว็บไซต์หลายแห่งมีข้อมูล The Terrorist's Handbook and The Anarchist Cookbook, คู่มือสองเล่มนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าให้ข้อมูลและรายละเอียดในการผลิตระเบิดชนิดต่างๆ และอีกหนึ่งคู่มือคือ The Mujahadeen Poisons Handbook, ซึ่งเขียนโดย The Mujahadeen Poisons Handbook, และถูกนำเสนอบนเว็บไซต์ของกลุ่มฮามาสให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเตรียมสารพิษ กาซพิษ และสารพิษอันตรายอื่นๆสำหรับใช้ในการโจมตี นอกจากนั้นยังมีคู่มืออีกหนึ่งเล่มที่มีซื่อเรียกว่า "The Encyclopedia of Jihad" and prepared by al Qaeda, มีจำนวนมากกว่าหนึ่งพันหน้า นำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ให้ข้อมูลวิธีการการเครือข่ายใต้ดินรวมทั้งการปฏิบัติการโจมตีต่อเป้าหมาย
การวางแผนและการประสานงาน
กลุ่มก่อการร้ายไม่เพียงแต่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่ในการเรียนรู้วิธีการผลิตวัตถุระเบิดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการวางแผนและประสานความร่วมมือในการโจมตีเป้าหมายด้วย การปฏิบัติการของกลุ่มอัลเคด้าต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ตอย่างมากในการวางแผนและประสานงานในการโจมตีเมื่อ 9/11 เจ้าหน้าที่ FBI ของสหรัฐฯ ตรวจพบข้อมูลนับพันซึ่งมีการเข้ารหัสป้องกันอย่างดีบนเว็บไซต์ของกลุ่มก่อการร้ายรวมทั้งในคอมพิวเตอร์ของ Abu Zubaydah, ผู้ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตี เมื่อ 11 กันยายน ข้อความแรกตรวจพบในคอมพิวเตอร์ถูกส่งออกไป dated May 2001 and the last were sent on September 9, 2001. ความถี่ของข้อความสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2001 และเพื่อปกปิดการตัวเอง กลุ่มก่อการร้ายใช้อินเตอร์เน็ตของสาธารณะ ในการส่งข่าวสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
บางส่วนของเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับขวนการก่อการร้าย
alneda.com, เป็นเวบที่จะนำสมาชิกของขบวนการก่อการร้ายอัลเคด้าเข้าสู่เว็บที่มีระบบ รปภ.ที่เข้มกวดมากขึ้น
assam.com, ถือเป็นกระบอกเสียงของกลุ่ม jihad in Afghanistan, Chechnya, and Palestine;
almuhrajiroun.com, เพื่อกระตุ้นสมาชิกร่วมอุดมการณ์ให้สังหารประธานาธิบดี Pakistani president Pervez Musharraf;
qassam.net, เว็บไซต์ที่ เชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้าย al Qaeda และ Hamas;
jihadunspun.net, วิดีโอความยาว 36 นาทีของบินลาเดน ในการแนะนำ ให้พร และ สร้างภัยคุกคาม
7hj.7hj.com, สอนวิธีการเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์
aloswa.org, นำเสนอข้อมูลคำกล่าวของ บินลาเดนในการโจมตีเมื่อ 9/11
jehad.net, alsaha.com, and islammemo.com, เชื่อมโยงกลุ่มก่อการร้าย al Qaeda การแถลงการณ์ และการเรียกร้องให้ปฏิบัติการโจมตี รวมทั้งให้คำแนะนำในการปฏิบัติการด้วย
บทสรุป
อินเตอร์เน็ตกับการก่อการร้ายระดับโลกเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงและไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์การโจมตีตึกเวิล์ดเทรดเซ็นต์เตอร์ของสหรัฐอเมริกา ( 9/11/2001) เหตุการณ์ลอบวางระเบิดรถไฟใต้ดินลอนดอนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2548 และล่าสุดการก่อการร้ายที่มุมไบ อินเดีย เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2551 ตำรวจมุมไบได้เปิดเผยข้อมูลจากผลการสอบสวนผู้ก่อการร้ายที่จับตัวได้รายหนึ่งพบว่า ผู้ก่อการร้ายได้รับการฝึกฝน และใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น มือถือดาวเทียม และจีพีเอส รวมทั้งการใช้ Google Earth ศึกษาเส้นทางโดยรอบโรงแรมที่จะปฏิบัติแผนการจู่โจมครั้งนี้ ซึ่ง Google Earth คือระบบแผนที่ออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าไปค้นหารายละเอียดเส้นทางและสถานที่ต่างๆทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตามการใช้งานอินเตอร์เน็ตของกลุ่มก่อการร้ายก็มีลักษณะ Dynamic หรือเป็นแบบพลวัตร ที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกปิดสถานะที่แท้จริงขององค์กร จึงทำให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนในการรับมือและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการที่มีเทคโนโลยีสูงนั้นอาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะเราอาจจะถูกเทคโนโลยีที่สร้างขึ้น กลับมาทำร้ายเราเองก็เป็นไปได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องควบคุมและคำนึงถึงการใช้งานที่เป็นไปได้ด้วยเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง
http://www.bangkokbiznews.com/2008/12/03/news_316923.php
http://www.usip.org/pubs/specialreports/sr116.html
No comments:
Post a Comment