การสอบภาษาไทย สำหรับการเลื่อนฐานะปริญญาตรี ยศ.ทบ. ของนายทหารประทวน สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและทดลองทำดูได้ครับ ขอขอบคุณที่มาด้วยนะครับ http://actboard.129jump.com/viewthread.php?tid=3009
เอามา Post ต่อเพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับผู้สนใจครับ จริงๆ เป็นแนวของสัสดี แต่ผมว่าทุกสายและครับ สามารถดูเป็นตัวอย่างหรือแนวทางได้ ไม่ว่าจะการเงิน หรือทั่วไป ก็คงไม่แตกต่างกันมากครับ ขอให้โชค D
ข้อสอบ ชุดที่ 1
1. ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง
1) ภาษาไทยมาตรฐานคือภาษาราชการ
2) ภาษาไทยมีการออกเสียงหนักเสียงเบา
3) ภาษาไทยรับคำจากภาษอื่นในรูปศัพท์เดิมเป็นส่วนใหญ่
4) คนไทยบางคนออกเสียงพยัญชนะบางเสียงตามเสียงภาษาอังกฤษ
2. เสียงควบกล้ำในข้อใดไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาไทย act group
1) บรั่นดี 2) นิวเคลียส 3) อิเควเตอร์ 4) เพนกวิน
3. ข้อความต่อไปนี้มีพยางค์ที่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายกี่พยางค์ “ มัวแต่พูดว่า จะ จะ อยู่นั่นเอง ทำไมไม่ลงมือเสียที ”
1) 7 พยางค์ 2) 8 พยางค์ 3) 9 พยางค์ 4) 10 พยางค์
4. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง 5 เสียง
1) ประหยัดวันนี้สบายวันหน้า
2) สมบัติเมาเซถลาหัวทิ่ม
3) หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย
4) จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
5. ข้อใดไม่มีคำสมาส อ.วันนรัตน์
1) ทหารเป็นผู้มีหน้าที่รบเพื่อปกป้องมาตุภูมิของตนไม่ให้ข้าศึกรุกราน
2) ประชาชนส่งไปรษณียบัตรทางผลฟุตบอลยูโร 2000 เป็นจำนวนมาก
3) ประธานในพิธีกล่าวคาถาเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อเป็นมงคล
4) ชีวเคมีเป็นวิชาวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งมีชีวิต
6. ข้อใดมีคำซ้อนมากที่สุด
1) แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ
2) ออกแออัดผู้คนอยู่ล้นหลาม
3) ในแหล่งหล้าใครไม่มีเสมอเหมือน
4) ไม่สมประกอบทรัพย์สินก็ขัดสน
7. ข้อใดไม่มีคำพ้องความหมาย
1) ไอยรา ราชสีห์ กุญชร
2) ลำธาร ชลาสินธุ์ มัจฉา
3) เทเวศร์ อัจฉรา สุรารักษ์ เเอ็คคอร์นเนอร์
4) สิงขร เวหาสน์ วนาดร
8. ข้อใดไม่มีคำประสม
1) เห็นกิ่งกีดมีดพร้าเข้ารารัน
2) หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโรงผี
3) ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่
4) ถึงหนามกรานก็ไม่เจ็บเหมือนเหน็บแนม
9. ข้อใดมีคำซ้ำที่แสดงความหมายต่างจากข้ออื่น
1) แน่นวดแป้งแล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ
2) แยกๆกันไปกินอาหารจะได้ออกรถเร็วขึ้น
3) สมพรอยากย้ายบ้านไปอยู่ใกล้ๆที่ทำงาน
4) อายุเกิน 80 แล้วยังชอบใส่เสื้อผ้าสีสดๆ
10. ข้อใดไม่ใช่สำนวนต่างประเทศ
1) ประชากรโลกกำลังเผชิญโศกนาฏกรรมเงียบจากโรคร้าย ทั้งเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค
2) ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าว ตัวแทนสภากาชาดสากลแถลงว่าสถานการณ์โรคร้ายในปัจจุบันกำลังน่าวิตก
3) สภากาชาดสากลพร้อมด้วยผู้นำจากประเทศในเอเชียแถลงว่าประเทศในทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มีโรคเอดส์ระบาด
มากที่สุด
4) รัฐบาลแต่ละประเทศควรสนในปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัจจุบันโรคเอดส์เป็นมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจและสังคม
11.ข้อใดใช้คำภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น
1) เมื่อไฟดับควรตรวจดูว่าเป็นเพราะฟิวส์ขาดหรือปลั๊กหลุด
2) เด็กๆชอบรับประทานไอศกรีมช็อคโกแลตมากกว่าไอศกรีมกะทิสด
3) ก่อนเข้าแบงค์ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องถอดหมวกกันน็อกและแว่นตาดำออก
4) นักกอล์ฟหลายคนอยากเปลี่ยนวงสวิงให้คล้ายกับไทเกอร์วูดส์เพื่อให้ตีลูกได้แม่นและไกล
12. ข้อใดไม่มีคำที่มาจากภาษาเขมร
1) จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2) คุณปู่ทำกนกแก้วลายไทยงามไพจิตร
3) ให้รื่นเริงสุขสำราญเหมือนดอกไม้บานยามเช้า
4) เพลงลาวดำเนินทรายมีทำนองไพเราะอ่อนหวาน
13. ข้อใดมีคำที่ใช้ผิดความหมาย
1) เมื่อประตูเปิดผู้ที่รออยู่ก็วิ่งกรูเข้าไปแย่งซื่อบัตรชมฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ
2) เยอรมันคิดค้นเทคโนโลยีการใช้แม่เหล็กลอยตัวสำหรับรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ
3) ไทยเตรียมโยกย้ายทหารออกไปจากติมอร์ตะวันออกภายในเดือนมีนาคม
4) ตำรวจพยายามสืบสวนหาตัวคนร้ายอยู่หลายสัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ร่องรอยอะไรเลย
14. ข้อใดมีคำที่ไม่ได้ใช้ความหมายเชิงอุปมา
1) หมดตัว ยกเครื่อง ขนแมว
2) ลอบกัด ตาบอด เปิดท้าย
3) ไข่ดาว ขมขื่น ลายแทง
4) ปลากรอบ หวานเย็น เด็กดอง
15. ข้อใดสื่อความหมายไม่ชัดเจน
1) พรุ่งนี้หัวหน้าจะเรียกประชุมตอนบ่ายๆ
2) คุณย่าชอบดูละครโทรทัศน์หลังข่าวภาคค่ำ
3) สมสิริมาหาครูตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน
4) เมื่อวานนี้แม่แวะมหาหาตอนกินข้าวเย็น
16. ข้อใดมีความหมายกำกวม
1) ผู้ได้รับรางวัลเป็นกวีที่มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น
2) ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมากที่กลางกรุง
3) แม่ค้าหยิบเหรียญบาทออกมาทอน 4 เหรียญ
4) แผ่นดินไหวทำให้บ้านเมืองพังพินาศและผู้คนล้มตายมาก
17. ข้อใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง
1) ลูกทำกิจการขาดทุนหลายครั้ง แต่แม่ก็ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด ให้เงินช่วยทุกครั้ง
2) ตอนนี้เขาร่ำรวย แต่เมื่อหนุ่มๆ ยากจนแทบไม่มีจะกิน เข้าทำนองตีนถีบปากกัด
3) เธอบอกว่าไม่ชอบสมศักดิ์ แต่พอเขาชวนไปเที่ยวก็ไป เข้าตำราปากว่าตาขยิบ
4) คุณปู่เล่าว่าแต่ก่อนเรามีฐานะดีมากขนาดที่เรียกว่าข้าวเหลือเกลืออิ่ม
18. ข้อใดใช้คำได้ถูกต้อง
1) เช้านี้อากาศปลอดโปร่ง นักท่องเที่ยวต่างชื่นชมกับพระอาทิตย์ยามเช้า
2) ก่อนไปสอบเป็นผู้ประกาศข่าว ข้าพเจ้าฝึกอ่านข่าวกับคุณศันสนีย์จนคล่อง
3) นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนช้ากว่ากำหนด ต้องยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่
4) ในอนาคตข้าพเจ้าอยากทำงานกับกระทรวงศึกษาธิการ
19. ข้อความต่อไปนี้ตรงกับสำนวนใด “ ข่าวความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายเชี่ยวชาญนั้น น่าจะเป็นการปล่อยข่าว เพื่อต้องการทราบว่าจะมีปฏิกิริยา อย่างไร ”
1) กวนน้ำให้ขุ่น 2) โยนหินถามทาง
3) หว่านพืชหวังผล 4) ปากคนยาวกว่าปากกา
20. ข้อใดใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสม
ก. การสร้างงานศิลปะมีตั้งแต่ระดับการประดิดประดอยไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมศิลป์
2) การค้นคว้าวิจัยเป็นกระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์ที่ใช้เหตุผลและตรรกะ
3) ในสังคมไทยอาจารย์จำนวนมากเป็นผู้บริโภควิชาการมากกว่าสร้างสรรค์
4) สถาบันต่างๆ ควรสอนให้นักศึกษาประยุกต์ความลุ่มลึกในวิชาชีพไปพัฒนาการสังคม
21. ข้อใดใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง
1) แม่ทำกับข้าวแปลกๆให้เรากินเสมอ
2) เราเห็นกับตาว่าเธอหยิบของใสกระเป๋า
3) แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ
4) เขารีบกลับจากต่างประเทศเพื่อจัดงานวันเกิดให้แม่
22. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์
1) หนึ่งในบรรดาสารพิษหรือสารเคมีที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร
2) เมื่อท่านทราบแล้วว่าอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ใส่ถุงประดาษหนังสือพิมพ์มีมากเพียงใด
3) องค์การอนามัยโลกซึ่งชี้ปัญหาการขาดแคลนธาตุไอโอดีนว่ามักจะมีในประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขา
4) การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโภชนาการของเด็กเป็นประจำ
23. ข้อใดมีโครงสร้างเช่นเดียวกับประโยค “ ดอกบัวตองบานสะพรั่งชูไสวทั่วท้องทุ่ง ”
1) พวกเด็กๆวิ่งเล่นกันเต็มสนามกีฬา
2) ฟ้าคะนองผ่าเปรี้ยงลงที่ตกหลังสูง
3) เจ้าด่างครางหงิงๆไปมาตามถนน
4) แม่ครัวนอนเหยียดยาวกลางห้องครัว
24. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1) เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน
2) หลานสาวตัวน้อยเดินไปโรงเรียนใกล้บ้าน
3) คนไทยแทบทุกคนรู้จักนักชกเหรียญทองคนนั้น
4) สมบัติดูหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตายมาหลายเดือน
25. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1) ฉันพบอาจารย์ของลูกที่ตลาดเสมอ
2) เราไปซื้อผลไม้ที่ร้านเจ้าประจำ
3) มะม่วงต้นที่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ
4) กล้วยไม้ที่คาคบออกดอกแล้ว
26. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
1) ประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้มีผลดีต่อสังคมในระยะยาว
2) เพราะแม่สูบบุหรี่จัดลูกที่คลอดออกมาจึงมีขนาดเล็กกว่าปกติ
3) คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อทางกรวยไตมากกว่าคนทั่วไป
4) อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้สร้างเสร็จภายใน 5 เดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน
27. ข้อใดมีเนื้อหาไม่เป็นไปเพื่อความจรรโลงใจ
1) มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
2) การให้จะนำความสุขมาให้ทั้งแก้ผู้ให้และผู้รับ
3) เราเกิดในแผ่นดินนี้จึงควรตอบแทนคุณของแผ่นดิน
4) การกระทำความดีจะส่งผลดีต่อผู้กระทำในวันใดวันหนึ่ง
28. ข้อความต่อไปนี้ใช้ภาษาระดับใด “ คุณเกษมเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมีความรู้ความสามารถและช่วยสร้างความเจริญแก่หน่วยงานนี้มาไม่น้อย จนเป็นที่รักใคร่ของพวกเราทุกคน เราเสียดายที่คุณเกษมจะไม่ได้ร่วมงานกับเราอีก แต่ก็ยินดีที่ท่านได้เลื่อนตำแหน่งมีความก้าวหน้าในอาชีพ เชื่อว่าคุณเกษมจะสร้างความเจริญให้แก่หน่วยงานแห่งใหม่ ในโอกาสนี้ ขอมอบของที่ระลึกแก่ท่านเพื่อแสดงน้ำใจของพวกเราทุกคน”
1) ระดับกันเอง
2) ระดับทางการ
3) ระดับกึ่งทางการ
4) ระดับไม่เป็นทางการ
29. ข้อความตอนใดใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง
(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้/ (2) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออกแทนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน/ (3) พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประทานวุฒิสภา/(4) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล
1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)
30. จากข้อความต่อไปนี้ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการตีความต่างกัน “นักเรียนชายกับนักเรียนหญิงเถียงกันเรื่องความหมายของข้อความ สามวันจากนารีเป็นอื่น นักเรียนหญิงเชื่อว่าผู้ชายเป็นฝ่าย เป็นอื่น ในขณะที่นักเรียนชายเชื่อว่าผู้หญิง เป็นอื่น ”
1) ภาษากำกวมทำให้เข้าใจต่างกัน
2) วิจารณญาณต่างกันทำให้คิดไม่ตรงกัน
3) อคติส่วนตนอันเกิดจากความเป็นชายเป็นหญิง
4) การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมตามยุคสมัย
31. ข้อใดเป็นข้อความที่ใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดในแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของชมรมภาษาไทย
1) - นิทรรสการทางภาษาและวรรณคดี
- ฝึกอ่านทำนองเสนาะ
2) - ประกวดแต่งโคลงทุกประเภท
- ร้องเพลงประกวดทั้งลุกทุ่งและลูกกรุง
3) - การนำนักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่
- นักเรียนเสนอกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์
4) - การบรรยายของนักเขียนที่มีชื่อเสียง
- การแข่งขันตอบปัญหาภาษาไทย
32. ข้อใดเป็นการเขียนแบบพรรณนา
1) ชายทะเลทอดเป็นแนวยาวสุดลูกหูลูกตา ทรายสีขาวตัดกับน้ำทะเลสีเขียว
2) แนวปะการังด้านหน้าเป็นที่อาศัยของฝูงปลาเล็กๆหลากสี
3) นักปะดาน้ำต่างว่ายวนไปมาเพื่อชื่นชมความงามของปะการังและปลา
4) นักท่องเที่ยวขนาดกลางจอดรออยู่เหนือน้ำ โคลงไปมาตามแรงกระทบของคลื่น
33. ข้อใดมีลักษณะเป็นการเขียนแบบบรรยาย
1) ฝนฟ้ากระหน่ำพายุซ้ำกรรโชก
2) แสนวิปโยคอนิจจาน้ำตาเอ๋ย
3) ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย
4) ตัวเราเอยแสนอาภัพอับปัญญา
34. ข้อใดเป็นหัวข้อประกาศที่ถูกต้อง
1) ประกาศเรื่องระเบียบการแต่งกายของนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
2) ประกาศกรมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การตรวจสอบสาปนเปื้อนในเครื่องบริโภค
3) ประกาสกระทรวงมหาดไทย
เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
4) ประกาศของสำนักงานกรุงเทพมหานคร
เรื่องการซ่อมแซมบาทวิถีในกรุงเทพมหานคร
35. ข้อใดใช้เป็นคำนำได้เหมาะสมที่สุด
1) ปัจจุบันมนุษย์เข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่ยุคอุตสาหกรรม
2) อาการของไข้หวัดที่เป็นกันมากขณะนี้เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่
3) ผู้ใหญ่ต้องรีบหาทางแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนก่อนที่จะสายเกินแก้
4) นักวิจัยในปัจจุบันหาสาเหตุของโรคต่างๆโดยศึกษาจากพืชกันมากขึ้น
36. ข้อความต่อไปนี้เรียงลำดับได้เหมาะสมที่สุดตามข้อใด
ก. แต่ที่รุนแรงที่สุด คือที่จังหวัดชุมพร
ข. เมื่อสองเอนก่อนมีน้ำท่วมในหลายจังหวัด
ค. จึงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล
ง. ทั้งๆที่ยังมุถึงเวลาที่จะมีพายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน
จ. ฝนตกนักติดต่อกันหลายวัน
1) ข ก จ ง ค 2) จ ข ค ก ง 3) ข จ ค ก ง 4) จ ง ค ข ก
37. ข้อความต่อไปนี้ไม่ใช้วิธีเขียนแบบใด
บางคนเข้าใจว่าผลไม้บงชนิดเช่น ลำไย ลิ้นจี่ ถ้ากินมาก๐จะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ แต่ความจริงอาการเจ็บคอเกิดจาก
เชื้อโรค หลายชนิดที่ติดอยู่ตามเปลือก เมื่อใช้ปากกัด เชื้อโรคเหล่านั้นอาจเข้าสู่ปาก หากกินผลไม้แล้วไม่ดื่มน้ำตาม ความหวานของผลไม้ซึ่งเคลือบทีผนังคอจะทำให้เกิดเชื้อโรคเจริญมากขึ้นจนเกิดอาการเจ็บคอได้
1) โต้แย้ง 2) เสนอแนะ
3) แสดงข้อสรุป 4) แสดงความคิดเห็น
38. ข้อใดใช้วิธีการเขียนแตกต่างจากข้ออื่น
1) พอเดินทางมาถึง พวกเราก็พากันเอาของไปเก็บและลงเล่นน้ำทะเลทันที
2) อากาศเริ่มเย็นลง เมฆตั้งเค้า ต่อมาไม่นานนักฝนก็เริ่มตกลงมา
3) พายุเริ่มพัดกระหน่ำ คลื่นม้วนตัวเป็นเกลียวถาโถมเข้าฝั่งอย่างไม่หยุดยั้ง
4) ผู้หญิงกลัวเป็นหวัด เลยรีบวิ่งมาหยิบร่มทั้งๆที่ตัวก็เปียกน้ำทะเลอยู่แล้ว
39. ข้อความตอนใดใช้ภาษาไม่เหมาะสม
(1) ด้วยทบวงมหาวิทยาลัยเห็นว่า หลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการดำเนินการทางวินัยที่ใช้อยู่ในขณะนี้ / (2) ได้จัดทำขึ้นหลายรูปแบบและสิ้นเปลืองเวลา ไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน / (3) ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำหลักสูตร มาตรฐานขึ้น /
(4) เพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆใช่ในการฝึกอบรมเรื่องการดำเนินการทางวินัยให้เป็นแนวเดียวกัน
1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)
40. ข้อใดเป็นสถานการณ์ที่แสดงว่าการฟังไม่เกิดประสิทธิภาพ
1) วิชัยสรุปเนื้อหาได้หลายตอน
2) วิสุทธิ์บันทึกแนวคิดที่ได้จากการฟัง
3) วิชิตอ่านน้ำเสียงของผู้พูดและตีความได้
4) วิรัชขบคิดวิธีแก้ปัญหาของเรื่องที่กำลังฟัง
41.ข้อใดตีความคำพูดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
ผู้พูด “ ผมเคยมีแฟนเป็นคนทรงเจ้า เจ้าทรงทีไรมาตามผมไปกินเหล้าทุกที คุยกันสนุกมาก ระยะหลังมานี้ผมสมาทานศีล เลิกกินเหล้าแล้ว เจ้าก็ชักอายๆและห่างเหินไป ”
1) ผู้พูดสนิทสนมกับคนทรงเจ้า
2) ผู้พูดกับคนทรงเจ้าไม่ได้พบปะกันบ่อยๆอีกแล้ว
3) ผู้พูดเชื่อว่าการทรงเจ้าเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง
4) ผู้พูดกับคนทรงเจ้าเคยมีแนวประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน
42. นายแพทย์สุรชัยได้พูดสรุปการบรรยายเรื่องมะเร็งปอดว่า “ สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้นจึงควรเลิกสูบบุหรี่เพราะจะมีผลในการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังไม่เป็นอันตรายต่อคนใกล้เคียงและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจทั้งส่วนตัวและส่วนรวมอีกด้วย”
จุดมุ่งหมายของผู้พูดตรงกับข้อใด
1) พูดให้กำลังใจ 2) ชี้แจงเข้าใจ
3) อธิบายให้เห็นจริง 4) ชักชวนให้ทำตาม
43. ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดเมื่อเกิดความขัดแย้งกันในที่ประชุม
1) ท่านประธานครับ กระผมคิดว่าเราเสียวเวลามากพอแล้วสำหรับการอภิปรายเรื่องนี้
2) ผมขอให้ยุติเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจึงพิจารณาอีกครั้ง
3) เรื่องสำคัญอย่างนี้ควรโต้เถียงกันด้วยเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง
4) ขอให้ทุกท่านใจเย็นๆเรายังมีเวลาสนทนาเรื่องนี้ได้อีกก่อนที่จะลงมติร่วมกัน
44. ข้อใดเป็นคำพูดที่เหมาะสมที่สุดในการให้ข้อคิดแก่คนที่สิ้นหวัง
1) ทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง คิดเสียว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
2) ความพลาดหวังเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบ เวลาเท่านั้นจะช่วยรักษาใจได้
3) ผู้ประสบความสำเร็จหลายคนได้แปรความล้มเหลวให้เป็นพลังในการต่อสู้ต่อไป
4) ความทุกข์ความสุขเป็นของคู่กัน ขณะที่เรามีทุกข์ ความสุขก็กำลังรอเราอยู่ข้างหน้า
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 45- 47
“ ความคิดที่ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ละเอียดอ่อนกว่าผู้ชาย รักสวยรักงาม ไม่ค่อยใช้เหตุผล แต่มีญาณหยั่งรู้อะไรบางอย่าง
ดีกว่า ผู้ชาย ฯลฯ ล้วนเป็นความคิดที่ได้มาจากบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงในสมัยก่อนเสียเป็นส่วนใหญ่
ฉะนั้น “ ธาตุแท้ ” ของผู้หญิงตามความเข้าใจของคนทั่วไปนั้นเอาเข้าจริงแล้วก็เป็นวัฒนธรรม นั่นก็คือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง
ขึ้นมาเอง จะมีในธรรมชาติความเป็นผู้หญิงจริงๆหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ ”
45. ข้อใดอนุมานได้ว่าเป็นความคิดของผู้เขียน
1) ผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชายเพราะมีหน้าที่และบทบาทต่างกัน
2) โดยแท้จริงแล้วผู้หญิงก็เป็นวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นนั่นเอง
3) หญิงชายมีความรู้สึกและพฤติกรรมต่างกันเนื่องจากสภาพแวดล้อม
4) หญิงชายเกิดมาเหมือนกัน แต่แตกต่างกันเพราะมีเพศเป็นตัวกำหนด
46. ข้อความข้างต้นเสนอประเด็นถกเถียงในเรื่องใด
1) ความคิดของผู้หญิง 2) บทบาทของผู้หญิง
3) ธรรมชาติของผู้หญิง 4) วัฒนธรรมของผู้หญิง
47. ข้อความข้างต้นใช้ภาษาระดับใด
1) ระดับกันเอง 2) ระดับไม่เป็นทางการ
3) ระดับกึ่งทางการ 4) ระดับทางการ
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 48- 49
“ ระบบการศึกษาต้องการความหลากหลาย และต้องการพลังที่จะเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนกับป่าไม้ ที่มีต้นไม้นานา
ขึ้นตามธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น แต่ทีนี้เราอาจไปจำกัดให้มันเหมือนกันหมด ขณะนี้ปัญหาคือการเปลี่ยนแปลงโลก
ทั้ง โลกให้มี อารยธรรมเดียวกัน ”
48. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น
1) การศึกษาปัจจุบันเหมือนป่าไม้ซึ่งมีการเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ
2) การศึกษาปัจจุบันถูกจำกัดมาก ควรมีการปรับปรุงระบบการศึกษาใหม่
3) การศึกษาปัจจุบันเป็นระบบเดียวเหมือนกันหมด ทำให้ไม่มีโอกาสพัฒนาได้ดี
4) ระบบการศึกษามีความแตกต่างกันไปตามอารยธรรมที่หลากหลาย
49. ข้อใดเป็นกลวิธีทีผู้เขียนใช้แสดงความคิด
1) บรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจน
2) พรรณนาให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตาม
3) ใช้ความเปรียบเพื่อให้เข้าใจชัดเจน
4) ใช้อุปมาเพื่อให้สมจริง
50. จากข้อความต่อไปนี้ ข้อใดอนุมานได้ว่าเป็นจุดประสงค์ของผู้เขียน
“ คนเราจงใจใช้เวลามากมายเหลือเกินเพียงเพื่อจะหลอกตัวเองด้วยการสร้างข้อแก้ตัวขึ้นมาอำพรางความอ่อนแอของตัวเอง ถ้าเอาเวลาดังกล่าวไปใช้ในทางอื่น เวลานั้นจะมากพอที่จะขจัดความอ่อนแอโดยไม่จำเป็นต้องสร้างข้อแก้ตัวเลย”
1) เตือนว่าอย่าแก้ตัวว่าไม่มีเวลา
2) ชี้ให้เห็นผลเสียของการแก้ตัว
3) เน้นว่าเรามีเวลามากพอที่จะทำอะไรได้มากมาย
4) แนะให้ใช้เวลาในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตนเอง
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 51 – 52
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 51 – 52
“ ในอดีตพระสงฆ์เป็นแบบอย่างการดำรงชีวิตอันประเสริฐและเป็นผู้นำสติปัญญาของชุมชน ปัจจุบันพระสงฆ์จำนวนมาก
ไม่มีบทบาทอื่นใดนอกเหนือจากเรื่องพิธีกรรม สร้างวัดวาอารามใหญ่โต มุ่งโภคทรัพย์มากกว่าเจริญไตรสิกขาฆราวาส
เองก็ไม่เกื้อหนุนค้ำจุนให้พระสงฆ์ประพฤติพรหมจรรย์ กลับไปส่งเสริมในทางวัตถุเพื่อยั่วยุกิเลส ”
51. ข้อความข้างต้นกล่าวเป็นสำนวนได้ตามข้อใด
1) สมน้ำสมเนื้อ 2) เป็นปี่เป็นขลุ่ย
3) ขนมพอสมน้ำยา 4) น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
52. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น
1) ทุกวันนี้สังคมกำลังเสื่อมลงเพราะพระสงฆ์และฆราวาส
2) ปัจจุบันนี้พระสงฆ์ไม่เป็นที่พึ่งทางใจและไม่ให้ความรู้แก่สังคม
3) พระสงฆ์หันไปสร้างวัดใหญ่โตกันมากกว่าการเจริญไตรสิกขา
4) ชุมชนเสื่อมลงเพราะพระสงฆ์ไม่เป็นแบบอย่างการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
53. ข้อความต่อไปนี้ไม่ใช้กลวิธีในการเขียนตามข้อใด
“ คนไทยทุกคนควรภูมิใจที่พอเกิดมาก็ได้เป็นเจ้าของทรัพย์อันมหัศจรรย์ ก็ทรัพย์อะไรเล่าจะล้ำค่าน่าหวงแหนไปกว่าความสวยสดตระการตาของธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งภูเขาขจี น้ำตกใส สายธารใหญ่น้อยและทะเลสีมรกต รวมทั้ง
ศิลปวัฒนธรรมที่ ประณีต ละเอียดอ่อน..... ขอเชิญชวนคนไทยเที่ยวเมืองไทย ”
1) การพรรณนา 2) การยกตัวอย่าง
3) การใช้ความเปรียบ 4) การอธิบายตามลำดับ
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 54 – 55
“ ผู้มีตำแหน่งสูงต้องมีแผลให้น้อยที่สุด ไม่มีเลยยิ่งดี และต้องมีศัตรูให้น้อยที่สุดแต่ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะกว่าจะขึ้นมาถึงที่สุดอาจสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว ศัตรูที่น่ากลัวมากคือคนใกล้ชิด ดังมีคำกล่าว่า คนที่ไว้ใจไม่ได้มากที่สุดคือคนที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด มหาบุรุษที่แท้จริงนอกจากจะรู้จักใช้คนแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกไว้ใจคนอีกด้วย ”
54. ข้อเตือนใจในข้อความข้างต้นใกล้เคียงกับข้อใดมากที่สุด
1) ยิ่งสูง ยิ่งหนาว
2) ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง
3) อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง
4) ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก สี่สิ่งนี้ไม่ควรไว้ใจ
55. จากข้อความข้างต้นอนุมานได้ว่าผู้เขียนเป็นคนอย่างไร
1) รอบคอบ 2) วิตกกังวล 3) หวาดระแวง 4) รู้เท่าทันชีวิต
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 56 – 57
(1) รัฐบาลได้พยายามจนสุดความสามารถที่จะตรึงราคาไฟฟ้าและน้ำประปาไว้จนไม่อาจฝืนต่อภาวะกดดันและจำเป็นต่อไปได้อีก / (2) จึงจำเป็นต้องขึ้นราคาไฟฟ้าและน้ำประปา / (3) เพราะรัฐบาลไม่มีเงินทุนที่จะนำมาจ่ายชดเชย อีกทั้งยังไม่เป็นธรรมต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ/ (4) นอกจากนี้ยังทำให้การพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ชาวชนบทต้องหยุดชะงักไปด้วย ซึ่งขัดกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล
56. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น
1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)
57. ข้อใดเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล
1) พัฒนาชนบทให้มีความเจริญ
2) ให้ประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาราคาถูก
3) ผลักดันให้มีการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4) ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
58. ข้อใดใช้ภาษากะทัดรัด
1) เราควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกเรานี้
2) การอ่านมากและฟังมากนำไปสู่ความเป็นพหูสูต
3) ชั้นบรรยากาศถูกทำลายเสียหายเพราะมลพิษจากโลกนี้เอง
4) เพื่อให้ได้ทุกสิ่งสมปองดังปรารถนา ต้องยึดคำขวัญว่าอุปสรรคคือบทเรียนของชีวิต
59. ข้อใดใช้คำไม่ถูกความหมาย
1) ผู้อ่านหาซื้อหนังสือใหม่ๆที่นักอ่านเสนอแนะไว้
2) นักร้องกำลังให้คะแนนผู้ร้องที่เข้าประกวดแต่ละคน
3) นักพูดไม่ประหม่าเวทีเพราะผู้พูดกลุ่มนี้มีประสบการณ์สูง
4) ผู้เขียนเรื่องสั้นให้สัมภาษณ์ว่าการเป็นนักเขียนต้องอ่านมาก
60. ข้อใดใช้ภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ
1) รัฐบาลแถลงว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
2) คุณภาพชีวิตที่ดีย่อมเกิดขึ้นได้หากประชาชนร่วมใจกันพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3) ราคาผลผลิตตกต่ำและน้ำมันขึ้นราคาเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยภายนก
4) เราเรียนรู้จากอดีตว่าการกินดีอยู่ดีของประชาชนขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของรัฐบาล
61. ข้อความต่อไปนี้สามารถประเมินได้ตรงตามข้อใด
“ ข้าพเจ้าเคยเตือนคนรุ่นหนุ่มสาวเสมอว่าอย่าทอดทิ้งของเก่าๆ ของไทยเราเสียอย่างไม่อาลัยไยดี เพราะของเก่าเป็นเครื่องชี้อายุของชาติ เป็นเครื่องแสดงวัฒนธรรมของชาติ ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ข้าพเจ้าไม่นิยมของใหม่เลย ”
1) สมเหตุสมผล 2) มีลักษณะสร้างสรรค์
3) เหมาะแก่กาละและบุคคล 4) ใช้ภาษากระชับและเข้าใจง่าย
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 62 -63
“ รัฐบาลได้พยายามประคับประคองภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพให้ทรงตัวอยู่ได้ดีพอควร แม้ว่าจะมีภาวะฝนแล้งตลอดปี
และเกิดอุทกภัยที่สร้างความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสแก่ประชาชนเกือบทั้งประเทศ รัฐบาลก็ได้นำมาตรการต่างๆมา
ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ รัฐบาลจึงรู้สึกโล่งใจเป็นอันมากที่สามารถ ลด
ภาวะอันหนักอึ้งนี้ลงไปๆได้”
62. ข้อใดคือเจตนาสำคัญของผู้พูด
1) ชี้ให้เห็นความสามารถของรัฐบาล
2) ชี้ให้เห็นภาวะอันหนักของรัฐบาล
3) ชี้ให้เห็นวิกฤตการณ์ที่ไทยได้เผชิญ
4) ชี้ให้เห็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของประชาชน
63. ผู้พูดใช้ภาษาลักษณะใด
1) ใช้คำที่เร้าอารมณ์ 2) กล่าวในเชิงเยินยอ
3) กล่าวในเชิงรำพึงรำพัน 4) ใช้คำง่ายตรงไปตรงมา
64. ข้อใดใช้ภาษาโน้มน้าวใจได้ดีที่สุด
1) การทำงานให้เกิดผลดีได้นั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
2) ประเทศไทยก้าวหน้าเป็นผลจากการส่งสินค้าออกขายต่างประเทศ
3) การประหยัดน้ำมันกันคนละเล็กละน้อยจะช่วยกู้เศรษฐกิจของชาติได้
4) การอุดหนุนหัตกรรมพื้นบ้านเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
65. ข้อใดใช้โครงสร้างของการแสดงเหตุผลต่างจากข้ออื่น
1) ต้นไม่บริเวณนี้เขียวขจีเพราะดินอุดมสมบูรณ์
2) อากาศร้อนอบอ้าวมากแสดงว่าฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้
3) อุบัติเหตุย่อมลดลงหากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะไม่ขับเร็ว
4) พวกเราชอบไปเที่ยวสุโขทัยและอยุธยาเนื่องจากมีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง
ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 66-67
1. โฉมงามทรามสุดสวาทพี่ ดาลฤดีจ่อจิตพิศวง
ขอแต่เยงได้พิงอิงองค์ แนบอนงค์ขวัญฟ้ายาใจ
2. หอมหวนชวนสูดอย่าพูดล่อ ฉันจะพอใจเชื่อนั้นหาไม่
เป็นความจริงหลอกหญิงง่ายกระไร พี่มิได้หลอกเจ้าเยาวมาลย์
3. อันชายพูดคล่องคล่องเหมือนล่องน้ำ ถ้อยคำว่าวอนล้วนอ่อนหวาน
พอเบื่อหน่ายวายหลงนงคราญ ก็ทิ้งไปได้ปานผกาโรย
4. แม้รักจริงหวานยิ่งบุหงาสวรรค์ ยิ่งกว่าแก่นจันทร์อันหอมโหย
รักร่วมชีวาไม่ราโรย จะช่วยโชยกลิ่นสวาทไม่ขาดเอย
66. ข้อใดใช้คำไวพจน์มากที่สุด
1) ข้อ 1 2) ข้อ 2 3) ข้อ 3 4) ข้อ 4
67. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์
1) ข้อ 1 2) ข้อ 2 3) ข้อ 3 4) ข้อ 4
68. ลักษณะการประพันธ์ที่เด่นที่สุดของข้อความต่อไปนี้คือข้อใด
“ จากความวุ่นวู่วามสู่ความว่าง จากความมืดมาสว่างอย่างเฉิดฉัน
จากความร้อนระอุเป็นเย็นนิรันดร์ ไม่รู้พลันพลิกเห็นเป็นความรู้ ”
1) การเล่นเสียงสัมผัส 2) การซ้ำคำเพิ่มความหมาย
3) การเล่นคำหลากความหมาย 4) การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน
69. ข้อใดเป็นข้อกำหนดคุณค่าทางวรรณศิลป์ของบทประพันธ์
1) การใช้หลักเกณฑ์การแต่งอย่างถูกต้อง
2) การเลือกใช้รูปแบบคำประพันธ์ที่หลากหลาย
3) การสื่ออารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ประสานกัน
4) การปรับใช้หรือการสร้างสรรค์ขนบการประพันธ์ใหม่ๆ
ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 70 -71
ก. สองเนตรคือดา ระกะในนภาศรี
ข. งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา
ค. สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา
ง. งามเนตรดั่งเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์
70. คำประพันธ์ข้างต้นนี้มีความเปรียบรวมกี่แห่ง
1) 4 แห่ง 2) 5 แห่ง 3) 6 แห่ง 4) 7 แห่ง
71. คำประพันธ์ข้างต้นข้อใดมีเนื้อหาของการเปรียบเทียบตรงกับคำประพันธ์ที่ขีดเส้นใต้
“ มธุรสโอษฐ์ชะอ้อนประอรเอียง ดาลเผดียงดาเรศเนตรอนงค์ ”
1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.
72. ข้อความต่อไปนี้ถ้าเขียนแยกวรรคให้ถูกต้องจะเป็นประพันธ์ตรงตามข้อใด
“ พิเศษสารเสกสร้างรังสรรค์สารประจงจารฉันทภาคพริ้งพรายฉายเฉกเพชรพรรณเพราเฉิดเลิศแลลายระยับสายสะอิ้ง
ส่องสร้อยกรองทรวง”
1) โคลงสี่สุภาพและกลอนสุภาพ
2) กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ
3) กาพย์ฉบัง 16 และกลอนสุภาพ
4) กาพย์ยานี 11 และกาพย์ฉบัง 16
73.คำประพันธ์ต่อนี้ข้อใดมีวิธีการพรรณนาต่างจากข้ออื่น
1) พื้นผนังหลังบัวที่ฐานปัทม์ เป็นครุฑอันยืนเหยียบภุชงค์ขยำ
2) หยิกขยุ้มกุมวาสุกรีกรำ กินนรรำร่ายเทพประนมกร
3) ใบระกาหน้าบันบนชั้นมุข สุวรรณสุกเลื่อมแก้วประภัสสร
4) ดูยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคุนธร กระจังซ้อนแซมใบระกาบัง
74. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์ตามข้อใด
“ ฉันมองคลื่นรื่นเร่เข้าเห่ฝั่ง พร่ำฝากฝังภักดีไม่มีสอง
มองดาวเฟี้ยมเยี่ยมพักตร์ลักษณ์ลำยอง จากคันฉ่องชลาลัยใสสะอาง”
1) บุคคลวัตและอุปลักษณ์ 2) สัญลักษณ์และอติพจน์
3) บุคคลวัตและสัญลักษณ์ 4) อุปลักษณ์และอติพจน์
75. พรรณนาเสียงในข้อใดให้อารมณ์ต่างจากข้ออื่น
1) เสียงสกุณาร้องก้องกึกให้หวั่นหวาด
2) เสียงชะนีร้องอยู่โหวยโวยโว่ยวิเวกวะหวามอก
3) ทั้งพญาคชสารชาติฉัททันต์ทะลึ่งถลันร้องวะแหวๆ
4) ทั้งพญาพาฬมฤคราชเสือโคร่งคะครางครึ้มกระหึมเสียง
ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม 76-77
ก.แรงรักแรงราคร้อน รนสมร
ยยิ่งเปลวไฟฟอน หมื่นไหม้
ข.พี่หวังพบบมิพบและพบทุกขคือไฟ
ตัวตายดีกว่าไกล อนุช
ค.เจ้ามาหรือมิ่งวิมลสมร อย่าซ่อนองค์อยู่เลยยอดสงสาร
ฟังไปใช่เสียงเยาวมาลย์ อุราร้อนปิ้มปานเพลิงกัลป์
ง. รูปนวยเชิญช่วยชีวิตไว้ จงดับไฟร้อนรุมสุมขอน
ซึ่งไหม้จิตต์เป็นนิจนิรันดร ให้พี่คลายร้อนรำคาญ
76. ความเปรียบในข้อใดแสดงอารมณ์รุนแรงน้อยที่สุด
1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.
77. ข้อใดใช้ภาพพจน์ตรงกับคำประพันธ์ต่อไปนี้
“ น้องท้าวสดับสารภูธร เพียงพิศม์ไฟฟอน
มารุมระงมกลางใจ ”
1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.
78. ข้อความในวรรณนากาลามสูตรที่ว่า “ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แท้ ” นั้นไม่ก่อให้เกิดผลตามข้อใด
1) ได้รับการสรรเสริญจากวิญญูชน
2) สกัดกั้นผลชั่วที่สร้างทุกข์ทางใจ
3) ลดผลของกรรมที่ทำมาในอดีต
4) ได้รับประโยชน์และความสุขความเจริญ
79. ข้อใดเป็นปฏิบัติตามหลักกาลามสูตร
1) แดงงดการเดินทางในวันที่เกิดจันทรคราส
2) แดงไม่เลือกผู้สมัครที่มีใบปลิวโจมตีว่าทุจริต
3) แดงเปลี่ยนศาสนาตามคำชักชวนของเพื่อนสนิท
4) แดงศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการทำรายงาน
ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 80 - 81
ก. ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประธานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว
ข. พฤกษาสวนล้วนได้ฤดูดอก ตระหง่านงอกริมกระแสแลสล้าง
กล้วยระกำอัมภาพฤกษาปราง ต้องน้ำค้างช่อชุ่มเป็นพุ่มพวง
ค. ที่ท้ายบ้านศาลเจ้าของชาวบ้าน บวงสรวงศาลเจ้าผีบายศรีตั้ง
เห็นคนทรงปลงจิตนิจจัง ให้คนทั้งปวงหลงลงอบาย
ง. ถึงบ้านงิ้วเห็นแต่งิ้วละลิ่วสูง ไม่มีฝูงสัตว์สิงกิ่งพฤกษา
ด้วยหนามดกรกดาษระดะตา นึกก็หน้ากลัวหนามขามขามใจ
80. คำประพันธ์ในข้อใดไม่เป็น “ กระจกส่องภาพทางวรรณธรรม”
1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.
81. ข้อใดไม่แสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์
1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.
82. สาระสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้ใกล้เคียงกับข้อใดมากที่สุด
“ ขณะผู้มีบุญท่านขุ่นเคือง ไปหาเรื่องเท่ากับว่าไปหาหวาย”
1) กล้านักมักบิ่น 2) เอามือไปซุกหีบ
3) จระเข้ขวางคลอง 4) น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
83. ข้อใดไม่ใช่สารจากเรื่องอัวรานางสิงห์
1) คุณค่าของชีวิตแม้แต่ชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน
2) ความน่าเกรงขามของเคราะห์กรรมหรือโชคชะตา
3) ความเห็นแก่ตัวและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์
4) ความน่าสลดใจของการกระทำที่สวนทางกับธรรมชาติ
84. ข้อใดเป็นสาระสำคัญที่สุดของข้อความต่อไปนี้
“ ฝูงมนุษย์ไม่เข้าใจการเรียกร้องของอัวรา พวกเขาพากันหัวเราะและบางคราวทำหน้าล้อเย้ยหยันอย่างน่าบัดสี ฝูงมนุษย์ย่อมจะขลาด ดังนั้นจึงชมเชยรัฐบาลของตัวในข้อที่จัดสิ่งที่ตัวกลัวแต่อยากเห็นไว้ให้ตัวดูได้โดยปลอดภัย”
1) มนุษย์ทำให้อัวราสูญเสียสัญชาตญาณสัตว์ป่าอย่างสิ้นเชิง
2) ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นต้นเหตุให้สัตว์เกิดความทุกข์ทรมาน
3) ความกลัวและความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ทำให้เกิดสวนสัตว์ขึ้น
4) มนุษย์หัวเราะเยาะความเดียวดายอันน่าเวทนาของอัวราแทนที่จะเห็นใจ
85. ข้อใดสะท้อนแนวคิดหลักของพุทธศาสนาชัดเจนที่สุด
1) อันว่าความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่
2) นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
3) ยามบวชบ่มบุญไป น้ำตาไหลเพราะอิ่มบุญ
4) ไม่มีพรเทพพรมนุษย์ เปรียบประดุจความดีที่ทำเอง
86. “ ภูมิปัญญา” ในข้อความต่อไปนี้ตรงกับข้อใด
“ ในวรรณคดีนักเขียนและกวีย่อมแสดงภูมิปัญญาของตนออกมา เราจึงสามารถมองเห็นชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยมและจริยธรรมของคนในสังคมที่ผู้ประพันธ์จำลองไว้ให้ประจักษ์”
1) ลักษณะของสังคมที่เสนออย่างตรงไปตรงมา
2) การแดสงภาพของชีวิตที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม
3) ภาพจำลองของชีวิตและการส่งเสริมจริยธรรมของสังคม
4) ความรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
87. ข้อใดมีเนื้อความต่างจากกลุ่ม
1) จึ่งว่าเจ้าเหล่านี้นี่บ่าวใคร ฤาว่าไพร่หลวงเลกสักข้อมือ
2) ถึงกริ้วกราดด่าว่าก็จะรับ อย่าให้ยับต้องประสงค์ต้องลงหวาย
3) นายจะถอดให้เป็นยายนายประตู กินปลาทูกับข้าวแดงอดแกงเอย
4) ส่งกระดาษให้พระราชวรินทร์ชำระ ใครเกะกะเฆี่ยนให้หนักแล้วสักหน้า
88. คำประพันธ์ต่อไปนี้แสดงแนวคิดในด้านใด
“ ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแฉก เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก
โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น
กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น”
1) การก่อสร้างพุทธสถาน 2) คำสอนทางพระพุทธศาสนา
3) การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย 4) สถานภาพของคนในสังคม
89. ข้อใดไม่ปรากฏอยู่ในคำประพันธ์ต่อไปนี้
“ ขาวสุดพุดจีบจีน เจ้ามีสินพี่มีศักดิ์
ทั้งวังเขาชังนัก แต่พี่รักเจ้าคนเดียว”
1) ค่านิยมของสังคม 2) อานุภาพของความรัก
3) สถานภาพของสตรี 4) ความสำคัญของชาติตระกูล
90. ข้อใดเป็นเหตุผลที่ทำให้เพราะเจ้ากรุงสญชัยพระราชทานค่าสินไถ่โดยไม่เอาผิดชูชกและยังเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
1) เชื่ออำนาจของกฎแห่งกรรม
2) เคารพในการบำเพ็ญทานของพระโอรส
3) ให้เกียรติพราหมณ์เพราะเป็นผู้อยู่ในวรรณะสูง
4) รู้ธรรมชาติของชูชกว่าเป็นคนโลภที่ไม่รู้จักขอบเขต
91. การที่ขุนแผนพาวันทองเข้าขอลุแก่โทษแสดงธรรมชาติของมนุษย์ที่น่านิยมตามข้อใด
1) แม้ในภาวะคับขันก็ยังยึดมั่นในความจงรักภักดี
2) การร่วมทุกข์ร่วมสุขสร้างความเข้มแข็งไม่ขลาดกลัว
3) ความรักลูกทำให้กล้าเผชิญปัญหาแม้ร้ายแรงถึงชีวิต
4) ความอนุเคราะห์ของมิตรแท้ย่อมเป็นหลักประกันความปลอดภัย
92. ข้อใดไม่มีนัยความหมายบ่งบอกเวลา
1) จักยาตราทัพขันธ์ กันเอารุ่งไว้หน้า
2) เจียนจวบรวิรรณ รางเรื่อ แลฤา
3) นับดฤษถีนี้โน้น แน่นั้นวันเมือ
4) ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช
93. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้
“ เห็นแจ้ง ณ สี่องค์ พระอริยสัจอัน
อาจนำมนุษย์ผัน ติระข้ามทะเลวน ”
1) การสร้างสมบุญบารมีด้วยการศึกษาอริยสัจสี่
2) อานิสงส์ที่ส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้น
3) ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏด้วยปัญญา
4) กุศลจากการเคารพบูชาพระอริยสาวก
94.ข้อใดเป็นสาระสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้
“ เวรามาทันแล้ว จึงจำแคล้วแก้วโกมล
ให้แค้นแสนสุดทน ทุกข์ถึงเจ้าเศร้าเสียดาย ”
1) ความอาลัยรักที่ระงับได้ด้วยกฎแห่งกรรมและอุเบกขา
2) ความขัดแย้งกับโชคชะตาที่ทำให้ทุกข์ทรมานใจอย่างสาหัส
3) ความขัดแย้งที่ต้องยอมรับความจริงกับความอัดอั้นและทุกข์ใจ
4) ความเด็ดเดี่ยวเพราะอาศัยหลักศาสนาช่วยหักห้ามใจให้คลายทุกข์
95. คำว่า “ เพ็ญ ” ในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
1) อ้าจอมจักรพรรดิผู้ เพ็ญยศ
2) กำหนดพรุกเพ็ญแท้ พันธนาไว้แล
2) พูนเพิ่มพระสมการ เพ็ญภพ พระนา
4) สรรเป็นรูปอุรเคนทร์ เพ็ญพะพานแผ่เศียร
96. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของกวีตามคำประพันธ์ต่อไปนี้
“ เธอคือกวี เธอต้องมีความงามความประสาน
ความประสมกลมกลืนความชื่นบาน มีวิญญาณหยั่งรู้มธุรทัศน์
เธอต้องเขียนชีวิตจากชีวิต นฤมิตถ้อยคำด้วยสัมผัส
สัมผัสใจสู่ใจให้แจ่มชัด ไม่จำกัดกวีไว้แต่ในคำ”
1) กวีต้องชี้นำแนวทางการดำเนิน
2) กวีต้องสามารถสร้างงานอย่างสมจริง
3) กวีต้องไม่ติดอยู่กับกรอบแห่งฉันทลักษณ์
4) กวีต้องประจักษ์ในความงามอันประณีตลึกซึ้ง
97. ข้อใดให้ภาพเด่นชัดที่สุด
1) ค้อนเคืองชำเลืองหางตา บ่นบ้าเบื่อใจไม่ไกลกัน
2) ยังต้องจิตติดใจที่ไว้วาง ไม่จืดจางคิดเรื้อเบื่อกระบวน
3) กลอนกังวานหวานฉ่ำสิ้นสำเนียง จะเหลือเพียงภาพฝันของวันนี้
4) ให้ไร้ทุกข์ไร้โศกไร้โรคภัย ร้ายข้างนอกร้อนข้างในให้หน่ายหนี
98. ข้อใดพรรณนาเนื้อความต่างจากกลุ่ม
1) เห็นละหานธารน้ำไหลหลั่ง ร่มไทรใบบังสุริย์ศรี
2) พิศไท้ไท้ว่าไท้ ทินกร พิศอ่อนคือศศิธร แจ่มฟ้า
3) วายุวิเวกพัดมาเฉื่อยฉิว ใบพฤกษาปลิวร่วงระรุบเย็นทุกเส้นหญ้า
4) กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง พระยาลอคลอเคียง แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
99. สำนวนในข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับคำประพันธ์ต่อไปนี้มากที่สุด
“ พักตร์จิตผิดประมาณ ยากรู้ ”
1) ปาปราศรัย ใจเชือดคอ
2) ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก
3) คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
4) ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพลง
100. ข้อใดไม่ใช่การพรรณนาฉาก
1) หล่อนจะต้องอยู่ที่นี่และตายบนธรณีผืนนี้
2) ร่างทะมึนบึกบึนของเขาตัดเด่นกับขอบฟ้าอันเวิ้งว้าง
3) เสียงหวีดของรถไฟก้องกรีดขึ้นในความสงัดของราตรี
4) ที่นี่คือนรก เต็มด้วยความร้อนแห้งผากและฝุ่นบ้าๆ
เฉลยข้อสอบ ชุดที่ 1
1. ตอบ 3 ภาษาไทยรับคำจากภาษาอื่นในรูปศัพท์เดิมเป็นส่วนใหญ่
- ข้อ 1 ถูกต้อง เพราะประเทศไทยใช้ภาษไทยมาตรฐานเป็นภาษาราชการ
- ข้อ 2 จริงที่การออกเสียงภาษาไทยใช้เสียงหนักเบา
- ข้อ 4 จริงที่คนไทยบางคนออกเสียงพยัญชนะบางเสียงตามเสียงอังกฤษ เช่น chocolate คนไทยทั่วไปออก
เสียงว่า ช็อกกาแลต บางคนอาจจะออกตามฝรั่งว่า ช็อคโคแลต ( เสียง c บางคนออกเสียง “ค” ตามฝรั่ง)
- ข้อ 3 ไม่จริง เพราะเวลารับคำจากภาษาอื่น ภาษาไทยจะมีการแปลงรูปศัพท์มาด้วย
เช่น - ทิฏฐิ เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า ทิฐิ
- วุฑฒิ เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า วุฒิ
- อัฑฒ เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า อัฒ
- สํคม เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า สังคม
2. ตอบ 1 บรั่นดี
- เพราะเสียงควบกล้ำของไทยมี 11 เสียง คือ /กร / /กล / / กว / /คร / / คล / /คว / /ปร / /ปล/ / พร / /พล / /ตร/
- ข้อ 2 ควบกล้ำที่ /คล/
- ข้อ 3 ควบกล้ำที่ /คว/
- ข้อ 4 ควบกล้ำที่ /กว/
- ข้อ 1 เสียง / บร/ ไม่มีในเสียงควบกล้ำของไทย ข้อ 1 จึงตรงกับคำตอบ
3. ตอบ 3 9 พยางค์
- มีพยางค์ที่มีพยัญชนะท้ายทั้งหมด 9 พยางค์ คือ
พูด มี “ด” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย
จะ มี “อ” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย} ทั้งนี้เพราะพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมสระสั้นเน้นเสียง “อ”เป็นตัวสะกด
จะ มี “อ” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย} ทั้งนี้เพราะพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมสระสั้นเน้นเสียง “อ”เป็นตัวสะกด
นั่น มี “น” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย
เอง มี “ง” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย
ทำ มี “ม” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย
ไม มี “ย” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย
ไม่ มี “ย” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย
ลง มี “ง” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย
- พยางค์ “มัว” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “ว” เป็นรูปสระ
“มือ” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “อ” เป็นรูปสระ
“เสีย” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “ย” เป็นรูปสระ
4. ตอบ 3 หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย
- ข้อ 1 ขาดเสียงวรรณยุกต์จัตวา
- ข้อ 2 ขาดเสียงวรรณยุกต์ตรี
- ข้อ 4 ขาดเสียงวรรณยุกต์จัตวา
5. ตอบ 3 ประธานในพิธีกล่าวคาถาอัญเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อเป็นมงคล
- ข้อ 1 มีคำสมาส คือ “มาตุภูมิ”
- ข้อ 2 มีคำสมาส คือ “ประชาชน” “ไปรษณียบัตร”
- ข้อ 4 มีคำสมาส คือ “วิทยาศาสตร์”
© คำว่า “ ชีวเคมี ” ในข้อ 4 ไม่ใช่ คำสมาส เพราะ เคมี เป็นภาษาอังกฤษ นำมาสมาสคำไม่ได้
6. ตอบ 2 ออกแออัดผู้คนอยู่ล้นหลาม
- ข้อ 1 มีคำซ้อน 1 คำ คือ ยากแค้น
- ข้อ 3 มีคำซ้อน 2 คำ คือ แหล่งหล้า,เสมอเหมือน
- ข้อ 4 มีคำซ้อน 2 คำ คือ ทรัพย์สิน,ขัดสน
- ข้อ 2 มีคำซ้อน 3 คำ คือ แออัด,ผู้คน, ล้นหลาม
ตัวเลือกข้อ 2 เป็นข้อที่มีคำซ้อนมากที่สุด
7. ตอบ 4 สิงขร เวหาสน์ วนาดร
- คำพ้องความหมาย คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือ ที่เราเรียกกันว่า คำไวพจน์
ข้อ 1 มี “ไอยรา” กับ “กุญชร” ที่แปลเหมือนกัน คือ “ช้าง”
ข้อ 2 มี “ลำธาร” กับ “ชลาสินธุ์”ที่แปลเหมือนกัน คือ “แม่น้ำ” (ถึง “มัจฉา”จะแปลว่า “ปลา”)
ข้อ 3 มี “เทเวศร์” กับ “สุรารักษ์” ที่แปลเหมือนกัน คือ “เทวดา” (ถึง “อัจฉรา”จะแปลว่า “นางฟ้า”)
ข้อ 4 สิงขร แปลว่า ภูเขา เวหาสน์ แปลว่า ท้องฟ้า วนาดร แปลว่า ป่าสูง
8. ตอบ 2 หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโลงผี
- ข้อ 2 มีคำประสม 2 คำ คือ “หลังคา” กับ “โลงผี” (โลงศพ)
- ข้อ 1 “มีดพร้า” กับ “ระราน” เป็นคำซ้อน
- ข้อ 3 “เหย้าเรือน” เป็นคำซ้อน
- ข้อ 4 “เหน็บแนม” เป็นคำซ้อน
9. ตอบ 2 แยกๆกันไปกินอาหารจะได้ออกรถเร็วขึ้น
- ข้อ 1,3,4 เป็นคำซ้ำปะเภทขยายความ
- ข้อ 1 “กลมๆ” ขยาย “ลูก”
- ข้อ 3 “ใกล้ๆ” ขยาย “อยู่”
- ข้อ 4 “สดๆ” ขยาย “สี”
- ข้อ 2 เป็นคำซ้ำที่มีความหมายในเชิง “แบ่ง” หรือ “แยก” ในที่นี้ “แยกๆกันกิน” คือ
“แยกกันไปกิน” ข้อ 2 จึงต่างกับข้ออื่น
10. ตอบ 4 รัฐบาลแต่ละประเทศควรสนใจปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัจจุบันโรคเอดส์เป็นมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจ
และสังคม
- ข้อ 1 มีสำนวนต่างประเทศตรงที่ “เผชิญโศกนาฏกรรมเงียบจาก” ควรแก้เป็น “เผชิญ โศกนาฏกรรมเงียบของ...”
- ข้อ 2 เป็นสำนวนต่างประเทศ ตรงที่ “ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าว”
- ข้อ 3 เป็นสำนวนต่างประเทศ ตรงที่ “สภากาชาดสากลพร้อมด้วยผู้นำ......”
ควรแก้เป็น “สภากาชาดสากลร่วมกับผู้นำ”
11. ตอบ 3 ก่อนเข้าแบงก์ผู้ขับขี่รถจักยายยนต์ต้องถอดหมวกกันน็อกและแว่นตาดำออก
- ข้อ 1 คำภาษาต่างประเทศ คือ “ฟิวส์” “ปลั๊ก” (เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)
- ข้อ 2 คำภาษาต่างประเทศ คือ “ ไอศกรีม” “ช็อกโกแลต” (เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)
- ข้อ 4 คำภาษาต่างประเทศ คือ “ กอล์ฟ” “วงสวิง”(เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)
- ข้อ 3 คำภาษาต่างประเทศ คือ “แบงก์” สามารถเปลี่ยนเป็นคำไทยว่า “ธนาคาร” ได้ ข้อ 3 จึงถูกต้อง
12. ตอบ 2 คุณปู่ทำกนกแล้วลายไทยงามไพจิตร
- ข้อ 1 มีคำเขมร คือ “โปรด”
- ข้อ 3 มีคำเขมร คือ “สำราญ”
- ข้อ 4 มีคำเขมร คือ “ดำเนิน” “ไพเราะ”
13. ตอบ 3 ไทยเตรียมโยกย้ายทหารออกไปจากติมอร์ตะวันออกภายในเดือน มีนาคม
- ทั้งนี้เพราะ “โยกย้าย” ใช้กับ “ตำแหน่งงาน” แต่ในที่นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการย้ายกองทหาร
ควรเปลี่ยนเป็น “เคลื่อนย้าย” ( เพราะ เคลื่อนย้าย ใช้กับ กำลังพล )
14. ตอบ 4 ปลากรอบ หวานเย็น เด็กดอง
- ข้อ 1 ยกเครื่อง มีความหมายอุปมาว่า ปรับปรุง
- ข้อ 2 ลอบกัด มีความหมายอุปมาว่า ทำลับหลัง
ตาบอด มีความหมายอุปมาว่า หลง
- ข้อ 3 ไข่ดาว มีความหมายอุปมาว่า อกเล็ก
ลายแทง มีความหมายอุปมาว่า ลายมือหวัดๆ
- ข้อ 4 ปลากรอบ หวานเย็น เด็กดอง มีความหมายตรงทุกคำ
15. ตอบ 1 พรุ่งนี้หัวหน้าจะเรียกประชุมตอนบ่ายๆ
- ข้อ 1 เวลา คือ “ตอนบ่ายๆ” ไม่เจาะจง
- ข้อ 2 มีการขยายให้ชัดเจนว่า ละครโทรทัศน์ หลังข่าวภาคค่ำ
- ข้อ 3 มีการขยายให้ชัดเจนว่า ตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน
- ข้อ 4 มีการขยายให้ชัดเจนว่า เมื่อวานนี้ตอนกินข้าวเย็น
16. ตอบ 2 ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมากที่กลางกรุง
- ทั้งนี้เราะ “จำนวนมาก” ในข้อ2 อาจจะขยาย “ผู้ค้า” หรือ “ยาเสพติด” ทำให้ได้ 2 ความหมาย
คือ - ตำรวจจับคนขายเฮโรอีน ได้คนขายจำนวนมาก
- ตำรวจจับคนขายที่ขายเฮโรอีนจำนวนมาก
17. ตอบ 3 เธอบอกว่าไม่ชอบสมศักดิ์ แต่พอเขาชวนไปเที่ยวก็ไป เข้าตำราปากว่าตาขยิบ
- ข้อ 1 ผิด เพราะฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด หมายถึง โกรธเกลียดเท่าไหร่ก็ตัดไม่ขาด
ในที่นี้ไม่ได้แสดงมาว่าพ่อแม่โกรธหรือดเกลียดลูก
- ข้อ 2 ผิด เพราะ ตีนถีบปากกัด หมายถึง มานะพยายามทำงานเพื่อปากท้อง โดยไม่คำนึงถึง
ความเหน็ดเหนื่อย ไม่ได้หมายความว่า ลำบากตอนหนุ่มๆ
- ข้อ 4 ผิด เพราะ ข้าวเหลือเกลืออิ่ม ใช้กับสภาพบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร
ไม่ได้ใช้กับคนที่มีฐานะดี (คนที่มีฐานะดีมาก เรียกว่า ผู้มีอันจะกิน)
- ข้อ 3 ถูกแล้ว เพราะปากว่าตาขยิบ คือ พูดไปอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง (ปากกับการกระทำไม่ตรงกัน )
ในที่นี้ปากว่าไม่ชอบ แต่ก็ไปเที่ยวกับเขา จึงถูกต้อง
18. ตอบ 2 ก่อนไปสอบเป็นผู้ประกาศข่าว ข้าพเจ้าฝึกอ่านข่าวกับคุณศันสนีย์จนคล่อง
- ข้อ 1 ผิด เพราะ “ชื่นชมกับพระอาทิตย์” ไม่ต้องมี “กับ” ก็ได้ ถือว่าใช้คำฟุ่มเฟือย
- ข้อ 3 ผิด เพราะ “ยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่” ต้องแก้เป็น “ยื่นคำร้องต่อ.....”
- ข้อ 4 ผิด เพราะ “อยากทำงานกับกระทรวงฯ” ควรแก้เป็น “อยากทำงานในกระทรวง”
หรือ “อยากทำงานที่กระทรวง”
19. ตอบ 2 โยนหินถามทาง
- ทั้งนี้เพราะการกระทำเพื่อลองดูปฏิกิริยา เขาใช้สำนวนว่า “โยนหินถามทาง”
- ข้อ 1 กวนน้ำให้ขุ่น หมายถึง ทำเรื่องสงบให้วุ่นวาย
- ข้อ 3 หว่านพืชหวังผล หมายถึง ทำเพื่อหวังผลตอบแทน
- ข้อ 4 ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง เรื่องจะยาว เพราะคนพูดต่อไปเรื่อยๆ
20. ตอบ 3 ในสังคมไทยอาจารย์จำนวนมากเป็นผู้บริโภควิชาการมากกว่าสร้างสรรค์
- ข้อ 1 ควรแก้ “มีตั้งแต่ระดับประดิดประดอย......จนถึงระดับอุตสาหกรรมศิลป์” เป็น
“มีตั้งแต่ขั้นประดิดประดอย.....จนถึงขั้นอุตสาหกรรมศิลป์”
- ข้อ 2 ควรแก้ “......ที่ใช้เหตุผลและตรรกะ” ใช้คำฟุ่มเฟือย ควรแก้เป็น “ที่ใช้เหตุผล”
- ข้อ 4 “ไปพัฒนาการสังคม” ใช้คำผิด ควรแก้เป็น “ไปพัฒนาสังคม”
21. ตอบ 3 แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ
- ควรแก้ “เพราะ” เป็น “จึง”
22. ตอบ 4 การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโถชนาการของเด็กเป็นประจำ
- ข้อ 1 ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์ เพราะ ยังขาดกริยาหลัก
- ข้อ 2 ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์ เพราะ ต้องมีข้อความมาต่ออีก จึงจะสมบูรณ์
- ข้อ 3 ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์ เพราะ ยังขาดกริยาหลัก
- ข้อ 4 เป็นประโยคสมบูรณ์ เพราะมี
ประธาน = การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไป
กริยา = จำเป็นต้องรณรงค์
23. ตอบ 3 เจ้าด่างครางหงิงๆวิ่งไปมาตามถนน
- โครงสร้างของประโยคที่ให้มา คือ
ดอกบัวตอง + บาน + สะพรั่ง + ชู + ไสว + ทั่วท้องทุ่ง
ß ß ß ß ß ß
ประธาน กริยาตัวที่ ขยายกริยา กริยา ขยายกริยา ขยายบอก
1 ตัวที่ 1 2 ตัวที่ 2 สถานที่
- ข้อ 1 มีโครงสร้างประโยค คือ
พวกเด็กๆ + วิ่งเล่น + กันเต็ม + สนามกีฬา
ß ß ß ß
ประธาน กริยา ขยายกริยา ขยายบอกสถานที่
ตัวที่ 1 + ตัวที่ 2
- ข้อ 2 มีโครงสร้างประโยค คือ
ฟ้าคะนอง + ผ่า + เปรี้ยงลง + ที่ตึก + หลังสูง
ß ß ß ß ß
ประธาน กริยา ขยายกริยา ขยายบอกสถานที่ ขยายสถานที่
- ข้อ 4 มีโครงสร้างประโยค คือ
แม่ครัว + นอน + เหยียดยาว + กลางห้องครัว
ß ß ß ß
ประธาน กริยา ขยายกริยา ขยายบอกสถานที่
- ข้อ 3 มีโครงสร้างประโยค คือ
เจ้าด่าง + คราง + หงิงๆ + วิ่ง + ไปมา + ตามถนน
ß ß ß ß ß ß
ประธาน กริยา ขยายกริยา กริยา ขยายกริยา ขยายบอก
ตัวที่ 1 ตัวที่ 1 ตัวที่ 2 ตัวที่ 2 สถานที่
- ข้อ 3 มีโครงสร้างประโยคเหมือนประโยคที่ให้มาที่สุดแล้ว
24. ตอบ 1 เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน
- ข้อ 1 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยา 2 ตัว คือ “ไม่สบาย” และ “ร้อง”
- ข้อ 2 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยาตัวเดียว คือ “เดินไป”
- ข้อ 3 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยาตัวเดียว คือ “รู้จัก”
- ข้อ 4 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยาตัวเดียว คือ “ดู”
25. ตอบ 3 มะม่วงต้นที่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ
- ข้อ 1 เป็นประโยคความเดียว เพราะมีกริยาตัวเดียว คือ “พบ”
- ข้อ 4 เป็นประโยคความเดียว เพราะมีกริยาตัวเดียว คือ “ออก”
- ข้อ 2 เป็นประโยคความรวม เพราะมีกริยา 2 ตัวติดกัน คือ “ไป” “ซื้อ”
- ข้อ 3 เป็นประโยคความซ้อน เพราะมีกริยา 2 ตัว คือ “อยู่” + “มี” และ
มีคำเชื่อม “ที่” ( = that ) เข้าลักษณะของประโยคความซ้อน
26. ตอบ 4 อาคารผู้ป่วยหลังนี้สร้างเสร็จภายในห้าเดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน
ประโยคกรรม คือ ประโยคที่เอา “กรรม” ขึ้นต้นประโยค
- ข้อ 1 ขึ้นต้นด้วย “ประโยคที่เกิดจากโครงสร้างนี้” ซึ่งเป็นประธาน เรียกว่า ประโยคประธาน
- ข้อ 2 ขึ้นต้นด้วย “เพราะแม่สูบบุหรี่จัด” ซึ่งเป็นประโยคเหตุผล
- ข้อ 3 ขึ้นต้นด้วย “คนที่เป็นเบาหวาน” ซึ่งเป็นประธาน เรียกว่า ประโยคประธาน
- ข้อ 4 ขึ้นต้นด้วย “อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้” ซึ่งเป็นกรรม ( ของกริยา “สร้าง” ) จึงเป็นประโยคกรรม
27. ตอบ 1 มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
- จรรโลงใจ หมายถึง การยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ดีขึ้น หรือทำให้เกิดความสบายใจ
- ข้อ 2,3,4 ฟังแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีและสบายใจ
- แต่ข้อ 1 “มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทาง.....” ไม่รู้ว่าต้องใช้วิธีการอะไรดีหรือเลวจึงเป็นข้อที่ไม่จรรโลงใจ
ที่สุดใน 4 ข้อ
28. ตอบ 3 ระดับกึ่งทางการ
- ที่เขายกมานี้มีบางตอนเป็นภาษาพูด (ไม่เป็นทางการ) เช่น “เราเสียดายที่คุณเกษมจะไม่ได้ร่วมงาน
กับเราอีก” แต่บางตอนก็เป็นภาษาเขียน (ภาษาทางการ)
เช่น “จะสร้างความเจริญแก่หน่วยงานแห่งใหม่” เมื่อมีลักษณะ 2 อย่างรวมกัน
ถือว่าใช้ภาษาระดับ “กึ่งทางการ”
29. ตอบ 3 ตอนที่ (3)
- ข้อ 3 ผิด เพราะผู้พระราชทาน คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จึงควรแก้
“พระบรมราชวโรกาส” เป็น “พระราชวโรกาส” เพราะ พระบรมราชวโรกาส
ต้องเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น
30. ตอบ 3 อคติส่วนตนอันเกิดจากความเป็นชายเป็นหญิง
- ทั้งนี้เพราะจริงอยู่ “สามวันจากนารีเป็นอื่น” เว้นวรรคแล้วทำให้กำกวม เพราะแปลได้ 2 อย่าง คือ
“สามวันจากนารี ..... เป็นอื่น” (ผู้ชายเป็นอื่น) หรือ “สามวันจาก.....นารีเป็นอื่น” (ผู้หญิงเป็นอื่น)
แต่ในโจทย์เขาถาม “จากข้อความที่ยกมา” ซึ่ง ฝ่ายหญิงก็ตีความ “ว่าฝ่ายชาย”
ส่วนฝ่ายชายก็ตีความ “ว่าฝ่ายหญิง” จึงน่าจะเป็นข้อ 3 มากกว่าข้อ 1
31. ตอบ 4 J การบรรยายของนักเขียนที่มีชื่อเสียง
Jการแข่งขันตอบปัญหาภาษาไทย
- ข้อนี้นับเป็นข้อสอบภาษาไทยแนวใหม่สำหรับปีนี้ทีเดียว วิธีการเขียนแบบสอบถาม โดยเรียบเรียงภาษาไทย
ให้ดูเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน เช่น ถ้าขึ้นด้วยนามก็ขึ้นด้วยนามทั้งหมด ถ้าขึ้นด้วยกริยา
ก็ขึ้นด้วยกริยาทั้งหมด
- ข้อ 1 มีที่ผิด 2 ตอน คือ
1. นิทรรศการทางภาษาและวรรณคดีไทย ฟุ่มเฟือย น่าจะแก้เป็น นิทรรสการทางภาษาไทย
2. บรรทัดแรก ¬นิทรรศการ...... ขึ้นด้วย นาม (ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากัน)
บรรทัดที่สอง ¬ ฝึกอ่าน.......... ขึ้นด้วย กริยา (ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากัน)
- ข้อ 2 บรรทัดแรกขึ้นว่า ประกวดแต่ง
บรรทัดที่ 2 ก็ควรขึ้นว่า ประกวดร้องเพลง
- ข้อ 3 บรรทัดแรกขึ้นว่า “การนำนักเรียน.......”
บรรทัดที่ 2 ควรขึ้นว่า “การให้นักเรียน........”
ข้อ 4 ทั้ง 2 บรรทัดขึ้นด้วย “การ” ซึ่งดูเป็นระเบียบและสละสลวยมากที่สุดแล้ว
32. ตอบ 1 ชายทะเลทอดเป็นแนวยาวสุดลูกหูลูกตา ทรายสีขาวตัดกับน้ำทะเลสีเขียว
- การเขียนพรรณนา คือ การเขียนเพื่อให้เกิดภาพ จึงมีการพูดถึงรายละเอียดค่อนข้างมาก
- ข้อ 2 เป็นการเขียน “อธิบาย” คือ ให้ความรู้ - ความเข้าใจ
- ข้อ 3 เป็นการเขียน “บรรยาย” คือ เล่าเรื่อง
- ข้อ 4 เป็นการเขียน “บรรยาย” ถึงแม้นช่วงหลังจะมีการให้รายละเอียดแต่ยังน้อยไม่มากเท่าข้อ 1
- ข้อ 1 เป็นการเขียนพรรณนา “ชายทะเล” จนเกิดภาพชัดเจน
33. ตอบ 3 ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย
- ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจการบรรยายก่อนว่า คือ การเล่าเรื่องหรือพูดไปเรื่อยๆ
- ตัวเลือกที่ให้มาเป็นกลอนต่อเนื่องกันมาทั้ง 4 วรรคว่า
ฝนฟ้ากระหน่ำพายุซ้ำกรรโชก แสนวิปโยคอนิจจาน้ำตาเอ๋ย
ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย ตัวเราเอยแสนอาภัพอับปัญญา
J จะเห็นว่าเป็นการพร่ำพรรณนาถึงความเศร้าของตนเอง แต่เมื่อโจทย์ถามว่าวรรคไหนบรรยาย ก็น่าจะ เป็นวรรค 3
(ข้อ3) เพราะไม่ได้พูดซ้ำถึงความเศร้าของตน แต่พูดว่า “ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป” ซึ่งจัดเป็นการบรรยาย
34. ตอบ 2 ประกาศกรมวิชาการ การทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การตรวจสอบสารปนเปื้อนในเครื่องบริโภค
- หัวข้อประกาศทางการ คือ ประกาศ + ชื่อหน่วยงาน (ไม่ต้องมีคำว่า “ของ”) + เรื่อง...
- ข้อ 1 ผิด เพราะต้องเอาชื่อหน่วยงานขึ้นก่อน
- ข้อ 4 ผิด เพราะประกาศสำนักกรุงเทพมหานคร ไม่ต้องมีคำว่า “ของ”
- ข้อ 3 ที่ถูกต้องเปลี่ยนคำว่า “เกี่ยวกับ” เป็น “เรื่อง”
35. ตอบ 1 ปัจจุบันมนุษย์เข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่ยุคอุตสาหกรรม
Jโจทย์ถามส่วนที่เป็นคำนำ ข้อ 1 จึงน่าจะดีที่สุด ข้อ 2,3,4 ดูเหมือนเป็นต้องที่พูดๆมาแล้วมากกว่า
ไม่น่าจะเป็นคำนำจ๊ะ
36. ตอบ 1 ข ก จ ง ค
- เริ่มจากบอกว่าเกิดอะไรขึ้น ( ข - ก) ตามด้วย
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นยังไง ( จ- ง- ค )
37. ตอบ 2 เสนอแนะ
- ประโยคที่ว่า “แต่ความจริงการเจ็บคอเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิดที่ติดอยู่ตามเปลือก” แสดงถึง
- ข้อ 1 การโต้แย้ง “แต่ความจริง”
- ข้อ 3 แสดงข้อสรุป “การเจ็บคอเกิดจาก........”
- ข้อ 4 แสดงความคิดเห็น (แบบโต้แย้ง) “แต่ความจริง.......”
- ข้อความนี้ไม่มีการเสนอแนะ
38. ตอบ 3 พายุเริ่มพัดกระหน่ำ คลื่นม้วนตัวเป็นเกลียวถาโถมเข้าฝั่งอย่างไม่หยุดยั้ง
- ทั้ง 4 ข้อ เมื่อเอามาเรียงๆกันจะเป็นการเล่าเรื่องไปเที่ยวทะเลกัน
- ทั้ง 1,2,4 เป็นการเล่าเรื่องธรรมดา ถือว่าเป็นการบรรยาย
- ข้อ 3 เป็นการพูดให้เกิดภาพ จัดว่าเป็นการพรรณนา
ข้อ 3 จึงต่างกับข้ออื่นๆ
39. ตอบ 2 ตอนที่ (2)
- เพราะคำเชื่อม “และ” ควรวางเชื่อมไว้ที่ข้อความที่เชื่อมอันสุดท้าย ไม่ใช่ไปวางข้อความตรงกลาง
ข้อ 2 จึงไม่เหมาะสม ควรแก้ไขเป็น “ได้จัดขึ้นหลายรูปแบบ สิ้นเปลืองเวลา และไม่ได้มาตรฐาน”
(ควรเอา “และ”มาวางหลังข้อความ “สิ้นเปลืองสิ้นเวลา”)
40. ตอบ 4 วิรัชขบคิดวิธีแก้ปัญหาของเรื่องที่กำลังฟัง
- ข้อ 1,2,3 จัดเป็นการฟังที่เกิดประสิทธิภาพ
- ข้อ 1 ฟังแล้วสรุปเนื้อหาไม่ได้
- ข้อ 2 บันทึกแนวคิดที่ได้จากการฟัง (แสดงว่า จับประเด็นและประเมินค่าได้)
- ข้อ 3 ตีความได้
Jส่วนข้อ 4 เรามองจุดบกพร่องในการฟังได้หลายข้อ เช่น
- ถ้าเราคิดตาม (ในเรื่องที่ในที่นี้ก็ไม่รู้ว่าเขาจะให้เราช่วยคิดหรือให้เราฟังเฉยๆ)
เราก็อาจไม่ได้ฟังเรื่องที่เขาจะพูดต่อ
- เรื่องที่เราคิดไม่รู้ว่าเขาต้องการพูดให้เราฟังเฉยๆหรือให้เราไปช่วยเขาคิดด้วย
ข้อ 4 จึงเป็นการฟังที่บกพร่อง ไม่เกิดประสิทธิภาพ
41. ตอบ 3 ผู้พูดเชื่อว่าการทรงเจ้าเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง
- ข้อ 1 จริง เห็นได้จาก “ผมมีแฟนเป็นคนทรงเจ้า”
- ข้อ 2 จริง เห็นได้จาก “ระยะหลังมานี้.....เหินห่างกัน”
- ข้อ 4 จริง เห็นได้จาก “ตามผมไปกินเหล้าทุกที คุยกันสนุกมาก”
- ข้อ 3 ไม่มีกล่าวในเรื่องที่ยกมา
42. ตอบ 4 ชักชวนให้ทำตาม
- หมอสุรชัยพูดเพื่อให้คนฟังนำไปปฏิบัติตามไม่ใช่แค่ “ให้เข้าใจ” หรือ “ให้เห็นจริง” ข้อ4 จึงถูกต้อง
43. ตอบ 2 ผมขอให้ยุติเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว จึงพิจารณาอีกครั้ง
- ข้อ 1 ดูไม่สุภาพใช้อารมณ์แรง “เราเสียเวลามากพอแล้วสำหรับการอภิปรายเรื่องนี้”
- ข้อ 3 ดูเป็นการตำหนิคนอื่นในที่ประชุม (ที่มีคนเยอะ) “ควรโต้เถียงด้วยเหตุผลมากกว่า
ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง”
- ข้อ 4 ดูเหมือนเป็นมุข แต่คนละอารมณ์กับคนที่กำลังโต้เถียงกันอยู่ คือเขากำลังมีอารมณ์กันอยู่
เรากลับพูดว่า “ใจเย็นๆเรายังมีเวลาสนทนาเรื่องนี้” ข้อนี้เลยดูแปลกๆ
- ข้อ 2 ดูเป็นการพูดยุติการขัดแย้งในช่วงนั้นได้ดีที่สุดแล้ว
44. ตอบ 3 ผู้ประสบความสำเร็จหลายคนได้แปรความล้มเหลวให้เป็นพลังในการต่อสู้ต่อไป
- โจทย์ถามคำพูดที่เป็น “ข้อคิด”แก่คนที่สิ้นหวัง
- ข้อ 3 ฟังแล้วรู้สึกดีว่าแล้วเกิดกำลังใจต่อสู้ต่อไป
- ข้อ 1 ดูเหมือนเป็น “มุข ”มากว่าข้อคิด
- ข้อ 2 พูดให้อดทน แต่ยังไม่ได้ให้ “ข้อคิด”
- ข้อ 4 ยังไม่มี “ข้อคิด” อะไรเช่นกัน
45. ตอบ 1 ผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชายเพราะมีหน้าที่และบทบาทต่างกัน
- สังเกตจากบรรทัดที่ 2 “- - ล้วนเป็นความคิดที่ได้มาจากบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิง
ในสมัยก่อน”
- ข้อ 2 ผิด เพราะ เค้าบอกว่า “ธาตุแท้” (นิสัย) ของผู้หญิง คือ วัฒนธรรม ไม่ได้บอกว่า “ผู้หญิงคือ วัฒนธรรม”
- ข้อ 3 กับข้อ 4 ก็ผิด เพราะเค้าบอกว่าตัวกำหนด คือ “วัฒนธรรม” ไม่ใช่สภาพแวดล้อมหรือเพศเป็น
ตัวกำหนด
46. ตอบ 3 ธรรมชาติของผู้หญิง
- ดูได้จากวรรคสุดท้าย ที่เค้าพูดว่า “จะมีในธรรมชาติความเป็นผู้หญิงจริงๆหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้”
Jทั้งหมดนี้เค้ากำลังพูดบอกเราว่า ธรรมชาติของผู้หญิงเกิดจากสังคมกำหนดไม่ได้เป็นธรรมชาติจริงๆ
47. ตอบ 3 ระดับกึ่งทางการ
- ข้อความส่วนใหญ่จะใช้ภาษาเขียน (ทางการ) แต่ก็มีบางตอนใช้ภาษาพูด (ไม่เป็นทางการ) เช่น
“เอาเข้าจริงแล้ว” จึงเป็นภาษากึ่งทางการ
48. ตอบ 3 การศึกษาปัจจุบันเป็นระบบเดียวเหมือนกันหมด ทำให้มีโอกาสพัฒนาได้ดี
- เพราะเค้าย้ำมาตั้งแต่ประโยคแรกแล้วว่า “ระบบการศึกษาต้องการความหลากหลาย” แล้วมาเปรียบว่า
“เหมือนกับป่าไม้ที่มีต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น” แล้วยังมาย้ำตอนท้ายอีกว่า
“ปัญหาคือการเปลี่ยนโลกทั้งโลกให้มีอารยธรรมเดียวกัน” เพราะฉะนั้นสาระสำคัญคือ
“การศึกษาปัจจุบันเป็นระบบเดียวกันหมด” ซึ่งไม่ดีนั่นเอง ข้อ 3 จึงถูกต้องที่สุด
49. ตอบ 3 ใช้ความเปรียบเพื่อให้เข้าใจชัดเจน
- คนเขียนเปรียบระบบการศึกษาเหมือนป่าไม้ทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ข้อ 3 จึงถูกต้อง
- ข้อ 4 เกือบๆ ถูกที่ใช้ “อุปมา” แต่ผิดที่ “ให้สมจริง” จริงๆน่าจะแก้เป็น “ให้เข้าใจมากขึ้น” มากกว่า
50. ตอบ 4 แนะให้ใช้เวลาในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตนเอง
- รวมๆข้อนี้เหมือนกับจะบอกเราว่า “อย่าเอาเวลาไปหาข้อแก้ตัวเลย สู้เอาเวลามาแก้ไขข้อบกพร่อง
ตัวเองดีกว่า” (เพื่อทำให้เราเข้มแข็งมากขึ้น)
- ข้อ 1 กับ ข้อ 3 ผิดเลย
- ข้อ 2 เขาไม่ได้บอก “ผลเสีย” ของการแก้ตัวมาเลย
- ข้อ 4 ตรงกับจุดประสงค์คนเขียนที่สุดแล้ว
51. ตอบ 3 ขนมพอสมน้ำยา
- ทั้งนี้เพราะโจทย์ต้องการจะว่าทั้ง “พระ” และ “ฆราวาส” ว่าพากันไปทางในทาง
ผิดทั้งคู่ = ขนมพอสมยา (พอๆกัน ใช้ในความหมายไม่ดี)
- ข้อ 1 สมน้ำสมเนื้อ หมายถึง เหมาะสมกับ
- ข้อ 2 เป็นปี่เป็นขลุ่ย หมายถึง เข้ากันได้ดี
- ข้อ 4 น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า หมายถึง การพึ่งพาอาศัยกัน
52. ตอบ 1 ทุกวันนี้กำลังเสื่อมลงเพราะพระสงฆ์และฆราวาส
- ตามโจทย์ผู้เขียนกำลังพูดว่าทั้ง “พระ” และ “ฆราวาส”ข้อ 1 จึงครบถ้วนที่สุด
53. ตอบ 1 การพรรณนา
- เค้าถามว่า ข้อใดไม่มีในข้อความที่ยกมา
- ข้อ 2 ตอนที่เค้าพูดถึง “ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” แล้วตามด้วยตัวอย่าง “ทั้งภูเขาขจี น้ำตกใส สายธาร
ใหญ่น้อยและทะเลสีมรกต”
- ข้อ 3 เค้าเปรียบ “ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” กับ “ศิลปวัฒนธรรม” ของคนไทยกับ
“ทรัพย์อันมหัศจรรย์” ตรงบรรทัด 1
- ข้อ 4 มีการอธิบายตามลำดับ เริ่มจากพูดถึง ทรัพย์แรก คือ ธรรมชาติ (พูดในบรรทัดที่ 1 ตอนท้าย ถึง
บรรทัดที่ 3) แล้วค่อยพูดถึง ทรัพย์ที่สองคือ ศิลปวัฒนธรรม (บรรทัดสุดท้าย) ในข้อความที่ยกมายังไม่มี
ตอนใดเป็นการพรรณนาอย่างชัดเจน
54. ตอบ 4 ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก สี่สิ่งนี้ไม่ควรไว้ใจ
J ข้อความที่เค้ายกมา เหมือนจะเตือนใจเราว่าให้รอบคอบ รู้จักเลือกคนใกล้ชิดเรามากที่สุดJ
- ข้อ 4 "ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก " เป็นสำนวนไทยที่เตือนใจว่าให้ระวังสิ่งมีภัยที่อยู่ใกล้ชิด
กับเรา จึงตรงกับข้อความที่เค้ายกมาที่สุดแล้ว
- ข้อ 1 เค้าไม่ได้บอกเราว่า "ยิ่งสูงยิ่งหนาว"
- ข้อ 2 เค้าไม่ได้บอกเราว่า "ศัตรูคือยาชูกำลัง"
- ข้อ 3 เค้าไม่ได้บอกเราว่า "อย่าวางใจคน" แต่บอกว่า "ให้รู้จักเลือกคนใกล้ชิด" มากกว่า
(หมายความว่า วางใจได้ แต่ต้องดูคน ไม่ใช่ ไม่วางใจคน)
55. ตอบ 1 รอบคอบ
- คนเขียนเป็นคนรอบคอบ สังเกตจากวรรคสุดท้ายว่า "ต้องรู้จักเลือกไว้ใจคน"
- ข้อ 2 วิตก ไม่ถูกต้อง
- ข้อ 3 คนเขียนเป็นคน "ระวัง" ไม่ใช่ "ระแวง"
- ข้อ 4 ที่ถูกควรแก้ รู้เท่าทัน "ชีวิต "เป็น รู้เท่าทัน "คน" มากกว่า
56. ตอบ 2 ตอนที่ (2)
- เพราะข้อความทั้งหมดนี้พูดขึ้นมาเพื่อจะบอกว่ารัฐบาลจะขึ้นค่าไฟฟ้าและประปา
57. ตอบ 1 พัฒนาชนบทให้มีความเจริญ
- สังเกตจากตอนที่ 4 " - - การพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ชาวชนบทต้องหยุดชะงัก
ไปด้วย ซึ่งขัดกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล" เท่ากับ นโยบายสำคัญของรัฐบาล
คือ สร้างความเจริญแก่ชนบท ข้อ 1 จึงถูกต้อง
58. ตอบ 1 เราควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกเรานี้
- ข้อ 2 ฟุ่มเฟือยตรง "นำไปสู่ความ" น่าจะแก้เป็น "ทำให้" มากกว่า
- ข้อ 3 ฟุ่มเฟือยตรง "ถูกทำลายเสียหาย" เพราะ "เสียหาย" ตัดออกได้
- ข้อ 4 ฟุ่มเฟือยตรง "สมปองดังปรารถนา" เพราะ "ดังปรารถนา" ตัดออกได้
59. ตอบ 3 นักพูดไม่ประหม่าเวทีเพราะผู้พูดกลุ่มนี้มีประสบการณ์สูง
- เพราะข้อนี้เล่นคำว่า "นัก" กับ "ผู้"
นัก แสดงว่า คนนั้นทำจนชำนาญแล้ว
ผู้ แสดงว่า คนนั้นมีกิจกรรมนั้นๆ
เพราะฉะนั้น ข้อ 3 น่าจะสลับนักพูดกับผู้พูด เป็นผู้พูดไม่ประหม่าเวทีเพราะนักพูดกลุ่มนี้มี
ประสบการณ์สูง
60. ตอบ 2 คุณภาพชีวิตที่ดีย่อมเกิดขึ้นได้หากประชาชนร่วมใจกันพัฒนาสิ่งแวดล้อม
- ทรรศนะ หมายถึง ความคิดเห็น ข้อ 2 เป็นทรรศนะ สังเกตจากคำว่า "ย่อม"
61. ตอบ 1 สมเหตุสมผล
- ข้อความนี้คนเขียนเขียนเตือนว่า ถ้าจะรับของใหม่ แต่อย่าลืมของเก่า
- ข้อ 1 ถูกต้อง เพราะเค้ามีการให้เหตุผลมาด้วย สังเกตบรรทัดที่ 2 " - - เพราะของเก่า - - "
- ข้อ 2 ผิด ที่ "สร้างสรรค์" เพราะเค้าให้เอาของเก่าไว้ (จริงๆสร้างสรรค์ต้องทำสิ่งใหม่ๆ)
- ข้อ 3 ผิด ที่เหมาะแก่บุคคล เพราะถ้าคนที่มาอ่านเป็นวัยรุ่นหรือเด็ก อ่านแล้วจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่
คือแค่รู้ว่าเค้าพูดว่าอะไร แต่อาจเฉยๆไม่เห็นด้วยก็ได้
- ข้อ 4 ผิดที่ ภาษาเข้าใจง่าย ลองอ่านวรรคสุดท้ายดูจะรู้เลยว่า ภาษาเค้าไม่ได้เข้าใจได้ง่าย
62. ตอบ 1 ชี้ให้เห็นความสามารถของรัฐบาล
- สังเกตจาก "รัฐบาลก็ประคับประคองเศรษฐกิจไปได้" และ "นำมาตรการต่างๆมาบรรเทา
ความเดือดร้อนของประชาชนให้ผ่านวิกฤต " ไปได้
63. ตอบ 1 ใช้คำที่เร้าอารมณ์
- ภาษาในเรื่องถึงจะตรงไปตรงมา แต่ลักษณะคำที่ใช้มีหลายตอนเร้าอารมณ์ให้เห็นใจในปัญหา
ของรัฐบาล เช่น ประคับประคอง - - แสนสาหัส - - บรรเทา - - ผ่านพ้นวิกฤต - ภาระอันหนักอึ้ง
ข้อ 1 เลยถูกจ๊ะ
64. ตอบ 3 การประหยัดน้ำมันกันคนละเล็กละน้อยจะช่วยกู้เศรษฐกิจของชาติได้
- ภาษาโน้มน้าวใจ ต้องเป็นภาษาชักชวนหรือจูงใจให้คนทำตาม
- ข้อ 2 กับ 4 ภาษาไม่โน้มน้าวใจ
- ข้อ 1 โน้มน้าวใจ (ชักชวน) ว่า ช่วยประหยัด "คนละเล็กละน้อย" รู้สึกถึงความอยากร่วมมือกับ
เค้าได้ดีที่สุด แล้วเค้าก็บอกมาชัดเจนว่า "ช่วยกันประหยัด" ไม่เหมือนข้อ 1 ที่ไม่ได้บอกว่า
"ให้ร่วมมือทำอะไร" ข้อ 3 จึงดีที่สุด
65. ตอบ 2 อากาศร้อนอบอ้าวมาก แสดงว่าฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้
- โครงสร้างการแสดงเหตุผล หมายถึง การวางตัว "เหตุ" กับ "ตัวผล" ข้อ 1,3,4 วางตัวผลแล้วตามด้วยเหตุ
Jข้อ 2 อากาศร้อนอบอ้าวมาก = เหตุ
ฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้ = ผล
- ข้อ 2 วางเหตุแล้วตามด้วยผล ข้อ 2 จึงวางโครงสร้างเหตุผลต่างจากข้ออื่น
66. ตอบ 1 ข้อ 1
- ไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน
- ข้อ 1 มีคำไวพจน์ของผู้หญิง 5 คำ คือ โฉมงาม,ทรามสุดสวาท, อนงค์,ขวัญฟ้า,ยาใจ
Jและมีคำไวพจน์ของใจ 2 คำ คือ ฤดี,จิต
- ข้อ 2 มีคำไวพจน์ของผู้หญิง 2 คำ คือ หญิง,เยาวมาลย์
ข้อ 3 + 4 ไม่มีคำไวพจน์ ข้อ 1 จึงมีไวพจน์มากที่สุด
67. ตอบ 2 ข้อ 2
- ภาพพจน์ คือ การเขียนแบบเปรียบเทียบ
ข้อ 1 มีภาพพจน์ คือ
1. โฉมงาม เป็น นามนัย
2. ขวัญฟ้า ยาใจ เป็น อุปลักษณ์
- ข้อ 3 มีภาพพจน์ อุปมา ตรง “เหมือน”
- ข้อ 4 มีภาพพจน์ อุปมา ตรง “ยิ่ง”
- ข้อ 2 ไม่มีการใช้ภาพพจน์
68. ตอบ 4 การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน
- จุดเด่นที่สุดของข้อความนี้ คือ การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้ง ซึ่งมีทุกวรรค สังเกตจาก
วรรคที่ 1 “วุ่นวู่วาม” กับ “ความว่าง”
วรรคที่ 2 “ความมืด” กับ “ความสว่าง”
วรรคที่ 3 “ความร้อน” กับ “เย็น”
วรรคที่ 4 “ไม่รู้” กับ “ความรู้”
69. ตอบ 3 การสื่ออารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ประสานกัน
- คุณค่าทางวรรณศิลป์ พิจารณาจากการแต่งที่ก่อให้เกิดศิลปะการแต่งที่ไพเราะเกิดอารมณ์คล้อยตาม
- ข้อ 1 การใช้หลักการแต่งที่ถูกต้อง ยังบอกไม่ได้ว่ามีวรรณศิลป์หรือไม่ เพราะวรรณศิลป์ต้องเกิดความ
ไพเราะด้วย
- ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่จำเป็นต้อง “หลากหลาย”
- ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่จำเป็นต้อง “สร้างสรรค์ขนบธรรมเนียมการประพันธ์ใหม่ๆ”
- ข้อ 3 ดีที่สุดเพราะถ้าสื่อให้ได้อารมณ์ (คล้อยตาม) บวกกับความคิดสร้างสรรค์ (idea ใหม่ๆ)
ที่เข้ากันได้ดี ถือว่ามีวรรณศิลป์มากๆ
70. ตอบ 3 6 แห่ง
- มีความเปรียบ 6 แห่ง คือ
ข้อ ก มีเปรียบตรง “คือ”
ข้อ ข มีเปรียบตรง “ปาน”
ข้อ ค มีเปรียบตรง “ กว่า” กับ “เป็น”
ข้อ ง มีเปรียบตรง “ดัง” กับ “ดัง”
71. ตอบ 1 ข้อ ก.
- ตรงที่ขีดเส้นใต้เปรียบตาผู้หญิงเหมือน “ดาเรศ” คือ ดวงดาว จึงตรงกับข้อ 1 มากที่สุด (เพราะเปรียบตากับ
“ ดวงดาว”เหมือนกัน)
- ข้อ 1 เปรียบตากับ “ดาระกา” = “ดวงดาว”
- ข้อ 2 เปรียบตากับ “สุมณี” = “มณี”
- ข้อ 3 เปรียบตากับ “มฤคิน” = “ตาของกวาง”
- ข้อ 4 เปรียบตากับ “มฤคมาศ” = “ตาของกวางทอง”
72. ตอบ 1 โคลงสี่สุภาพและกลอนสุภาพ
- เราแยกข้อความที่เค้ายกมาเป็นคำประพันธ์ได้ 2 ชนิด ดังนี้
1. โคลง 4 สุภาพ
พิเศษสารเสกสร้าง รังสรรค์
สารประจงจารฉัน- ทภาคพริ้ง
พรายฉายเฉกเพชรพรรณ เพราเฉิด เลิศแล
ลายระยับสายสะอิ้ง ส่องสร้อยกรองทรวง
2. กลอนสุภาพ (กลอนแปด)
พิเศษสารเสกสร้างรังสรรค์สาร ประจงจารฉันทภาคพริ้งพรายฉาย
แกเพชรพรรณเพราเฉิดเลิศแลลาย ระยับสายสะอิ้งส่องสร้อยกรองทรวง
73. ตอบ 4 ดูยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคุนธร กระจังซ้อมแซมใบระกาบัง
- ทั้งนี้เพราะข้อ 1,2,3 เป็นการพรรณนาแบบตรงๆไม่มีการเปรียบเทียบ
ข้อ 1 พรรณนาว่า “ฐานรูปบัวมีรูปครุฑยุดนาค”
ข้อ 2 พรรณนาว่า “มีรูปครุฑยุดนาค กินนรรำ และเทพนม”
ข้อ 3 พรรณนาว่า “ภาพใบระกาหน้าบันบนชั้นมุข”
ข้อ 4 ต่างกับข้ออื่น เพราะเขียนแบบเปรียบเทียบ(ใช้ภาพพจน์) สังเกตจากคำว่า”เทียม” (เหมือน)
74. ตอบ 1 บุคคลวัตและอุปลักษณ์
- บุคคลวัต สังเกตจาก “คลื่นรื่นเร่, เห่, พร่ำฝากฝัง” กับ “ดาวเยี่ยมพักตร์ (เยี่ยมหน้า)”
- อุปลักษณ์ เห็นจาก “คันฉ่องชลาลัย” คือ เปรียบชลาลัย (สายน้ำ) กับ “คันฉ่อง” (กระจก)
โดยละคำเปรียบไว้ ซึ่งเป็นการเปรียบแบบอุปลักษณ์
75. ตอบ 3 ทั้งพญาคชสารชาติฉัททันต์ทะลึ่งถลันร้องวะแหวๆ
- ข้อ 1,2,3 ให้อารมณ์เศร้า ๆ เหงา ๆ
- ข้อ 1 สังเกตจาก “ให้หวั่นหวาด”
- ข้อ 2 สังเกตจาก “วิเวก”
- ข้อ 4 สังเกตจาก “คราง”
J ข้อ 3 ให้อารมณ์ตกกะใจ สังเกตจาก “ร้องวะแหวๆ” จึงต่างกับข้ออื่น
76. ตอบ 2 ข้อ ข.
- ข้อ 1 เปรียบความรักว่าร้อนเหมือน “ไฟฟอน หมื่นไหม้”
- ข้อ 2 เปรียบการจากแล้วไม่พบว่า คือ “ไฟ”
- ข้อ 3 เปรียบใจว่าปาน “เพลิงกัลป์ (ไฟล้างโลก)”
- ข้อ 4 เปรียบใจว่า “โดนไฟสุม ไหม้นิจนิรันดร์”
จะเห็นว่าข้อ 1,3,4 เปรียบด้วยถ้อยคำรุนแรง ส่วนข้อ 2 ถ้อยคำดูไม่รุนแรงเท่าข้ออื่นๆ
77. ตอบ 3 ข้อ ค.
- คำประพันธ์ที่ยกมาใช้ภาพพจน์(เปรียบเทียบ) แบบ “อุปมา” สังเกตจาก “เพียง”
- ข้อ 1 เปรียบแบบอุปมา สังเกตจาก “ยิ่ง”
- ข้อ 2 เปรียบแบบอุปลักษณ์ สังเกตจาก “คือ”
] - ข้อ 3 เปรียบแบบอุปมา สังเกตจาก “ปาน”
- ข้อ 4 เปรียบแบบอติพจน์ สังเกตจาก “ไหม้จิตต์เป็นนิรันดร์”
จึงมีอยู่ 2 ข้อ ที่เข้าข่าย คือ 1 กับ 3
J แต่ข้อ 1 “ยิ่ง” เป็น การเปรียบมากกว่า ไม่เหมือนข้อ 3 ปาน ซึ่งเปรียบเท่ากันจึงตรงกับโจทย์
ที่ให้มา (เพียง = เปรียบเทียบ ) ข้อ 3 จึงดีที่สุด
78. ตอบ 3 ลดผลของกรรมที่ทำมาในอดีต
- โจทย์ถาม ข้อใด “ไม่ใช่” ผลจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ คือไม่โลภ ไม่โกรธ และไม่หลง นั่นคือ
การตัดหรือละกิเลศ
ข้อ 1 วิญญูชน (ผู้รู้) สรรเสริญ (เป็นประโยชน์จากการตัดกิเลศ)
ข้อ 2 สกัดกั้นความชั่วที่จะเกิดขึ้น (เป็นประโยชน์จากการตัดกิเลศ)
ข้อ 4 สร้างประโยชน์และความสุข (เป็นประโยชน์จากการตัดกิเลศ)
Jการตัดกิเลศ มุ่งตัดอกุศลกรรมที่จะเกิด ไม่ใช่ไปลดกรรม “ในอดีต” เพราะในศาสนาพุทธ
ถือว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ถือว่าเกิดขึ้นจะแก้ไขไม่ได้แล้ว
79. ตอบ 4 แดงศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการทำรายงาน
- หลักกาลามสูตร สอนว่าก่อนเชื่อให้ใช้วิจารณญาณก่อนพูดง่ายๆควรเชื่ออย่างมีเหตุผล
- ข้อ 1 เชื่อตามคติโบราณ (ยังไม่ได้แสดงการใช้วิจารณญาณ)
- ข้อ 2 เชื่อตามใบปลิว (ยังไม่ได้แสดงการใช้วิจารณญาณ)
- ข้อ 3 เชื่อตามคำชักชวนของเพื่อน (ยังไม่ได้แสดงการใช้วิจารณญาณ)
Jส่วนข้อ 4 การทำรายงานโดยศึกษาจากหลักฐาน ถือว่ามีการใช้เหตุผลก่อน จึงถือว่าปฏิบัติ
ตามหลักกาลาสูตรที่สุดแล้ว
80. ตอบ 2 ข้อ ข.
- วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่คนสร้างขึ้น
- ข้อ 1 มีวัฒนธรรม คือ “สามโคกเป็นเมืองตรี”
- ข้อ 3 มีวัฒนธรรม คือ “ศาลเจ้า, บายศรี”
- ข้อ 4 มีวัฒนธรรม คือ “บ้านงิ้ว”
- ข้อ 2 เป็นบรรยายถึงธรรมชาติไม่มีการกล่าวถึงวัฒนธรรม (สิ่งที่คนสร้างขึ้น)
81. ตอบ 2 ข้อ ข.
- ข้อ 1 มีการแสดงอารมณ์ สังเกตจาก “โศกถวิล”
- ข้อ 3 มีการแสดงอารมณ์ สังเกตจาก “ปลงจิต”
- ข้อ 4 มีการแสดงอารมณ์ สังเกตจาก “ขามขามใจ”
82. ตอบ 4 น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
- ตามคำประพันธ์ที่ยกมา เค้าพูดว่า “อย่าไปมีเรื่องกับคนที่มีอำนาจ” ตรงกับสำนวนว่า
“น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ” ซึ่งเป็นสำนวนที่ไว้เตือนสติว่า “อย่าไปขวางคนที่มีอำนาจ”
ข้อ 4 จึงถูกต้อง
ข้อ 1 กล้านักมักบ้าบิ่น หมายถึง กล้าเกินไปมักอันตราย
ข้อ 2 เอามือซุกหีบ หมายถึง หาความเดือดร้อนให้ตัวเอง
ข้อ 3 จระเข้ขวางคลอง หมายถึง อันธพาล
83. ตอบ 2 ความน่าเกรงขามของเคราะห์กรรมหรือโชคชะตา
- ข้อ 2 ไม่มีปรากฏในเรื่อง “อัวรานางสิงห์”
ส่วนข้อ 4 ความเศร้าใจที่เห็นการกระทำที่ฝืนธรรมชาติ (สวนกับธรรมชาติ) คือ จับสิงโตมาขังไว้
โดยไม่คิดถึงจิตใจของมันเลย ก็มีปรากฏในเรื่องอัวรานางสิงห์
No comments:
Post a Comment