Tuesday, August 9, 2016

บทเรียนของการปฏิบัติภารกิจ UN ในดาร์ฟูร์ ตอนที่ 1

ซีรีย์บอกเล่าความรู้และประสบการณ์ การปฏิบัติงาน สันติภาพ UNAMID เป็นระยะเวลา 1 ปี กล่าวคือ ตั้งแต่ 5 June 2013 - 5 June 2014  ในรูปแบบของการเขียนเล่าเรื่องเหตุกาณณ์ตามลำดับ แบ่งออกเป็น 4 ตอนด้วยกันคือ
ตอนที่ 1 ตั้งแต่กระบวนการสมัครสอบแข่งขัน การคัดเลือก การฝึกอบรม การเตรียมตัวเตรียมเอกสาร และการอนุมัติการเดินทาง ไปทำงาน
ตอนที่ 2 ตั้งแต่เริ่มลงเครื่องบินที่ประเทศซูดาน ไปจนถึงการเดินทางไปที่ บก.UN ที่เมือง El Fasher
ตอนที่ 3 การรับคำสั่ง Deployment ไปทำงานที่ บก.เซกเตอร์เวสต์เมื่อง Elginena
ตอนที่ 4 การจบภารกิจและเดินทางกลับมารายงานตัวที่ศูนย์สันติภาพ และกลับมาปฏิบัติงานที่หน่วยต้นสังกัด
ตอนที่ 5 เกร็ดความรู้และคำแนะนำสำหรับผู้สนใจทำงานกับ UN

ตอนที่ 1 การสอบคัดเลือกไปทำงานสันติภาพ Peace Mission ของสหประชาชาติ UN


Admin Blog มีโอกาสดีที่สุดในชีวิต ที่ได้มีโอกาสเป็นอีก 1 ตัวแทนของนายทหารจากกองทัพไทย เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจของ UN หรือ สหประชาชาติ ภารกิจ UNAMID คำเต็มๆ คือ UNITED NATION AFRICAN MISSION IN DARFUR ขอแปลชื่อเป็นไทยให้คนอ่านที่อาจจะไม่ทราบและไม่เข้าใจตัวย่อทางทหารของระบบ UN เพื่อเป็นเกร็ดความรู้เล็กน้อย "ภารกิจของสหประชาชาติร่วมกับกลุ่มประเทศแอฟริกา ปฏิบัติภารกิจในดินแดนดาร์ฟูร์"


ถ้าใครไม่รู้จัก UN ก็ลองใช้ลุงกูเกิล Search ดูในเน็ตฯ เพื่อศึกษานิยามก่อนนิดหนึ่งจะดี แปลตรงตัวดีกว่า United แปลว่ารวมเป็นหนึ่งเดียว
Nations ชาติหรือประเทศ

หมายถึงชาติเดียวหรือประเทศเดียวกัน แต่จริงๆ คือการทำงานร่วมกันของทุกประเทศ หรือหลายๆ ประเทศ โดยมีประเทศขาใหญ่ ขาประจำที่เป็นสมาชิกถาวร ตลอดกาล 5 ชาติ คือ ใครบ้าง พี่เบิ้มใหญ่ สหรัฐอเมริกา  รัสเซีย  จีน อังกฤษ และ ฝรั่งเศษ ครับ
แก่นหรือ Core Assembly ของ UN คือ มนตรีความมั่นคง หรือ Security Council
ผู้บริหารสูงสุดของ UN คือ เลขาธิการ UN มาจากการเลือกตั้งของตัวแทนชาติสมาชิก  ดำรงตำแหน่งวาระ 6 ปี ปัจจุบันคือ นาย บันคีมูน ชาวเกาหลีใต้

ส่วนประเทศไทยของเรา ก็เป็น Member สิครับ สมาชิกลำดับที่เท่าไหร่? เข้าเป็นปีไหน ใครจำได้ ??? ข้อสอบชอบออกกันจัง
UN เข้าไป แจมปัญหาในดาร์ฟูร์ตอนไหน ??
เอาจริงๆ ผมก็จำปีที่แน่นอนไม่ถูก ทราบแต่ว่า UN เข้าไปแจมกับกลุ่มประเทศแอฟริกันภายหลัง หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการผนึกกำลังกันร่วมกับ African Unions ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาในดาร์ฟูร์ ซูดาน

ปัญหาของดาร์ฟูร์คืออะไร?

ปัญหาสงครามกลางเมืองครับ การล้มล้างรัฐบาล การต่อสู้กันของกลุ่มอำนาจต่างๆ และกลุ่มผู้สนับสนุน ส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารประเทศ ที่ไม่มีเสถียรภาพอย่างหนัก มีปัญหาภายในเรื่องของกลุ่มชน เผ่าพันธ์ และความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ การนับถือศาสนาต่างนิกายกัน และอีกร้อยแปดพันปัญหา ที่จารไนไม่หมด

ดาร์ฟูร์อยู่ที่ไหน?? 


ดาร์ฟูร์คือพื้นที่ราบทะเลทรายอันแห้งแล้งและทุรกันดารและห่างไกลความเจริญจากสังคมศิวิไลซ์ เช่นประเทศไทยหรือประเทศพัฒนาอื่นๆ สักประมาณเกือบๆ 30 ปีจะได้ ถ้าใครนึกไม่ออกตอนที่บ้านเมืองของไทยเราตามชนบทและตามท้องร่องส่วนนา ตอนที่ผมเป็นเด็ก 5-6 ขวบ มีการจุดขึ้ใต้ ใช้ตะเกียดแก็ส เติมน้ำมันการ์ด  การสัญจรกันไปมาด้วยการเดินเท้า หรือขี่ช้างม้าวัวควายไปตามเส้นทางธรรมชาติหรือดินแดงหรือดินลูกรัง นานๆ ทีจะมีรถยนต์โผล่วิ่งมาคัน หรือ สองคัน ฝุ่นฝุ้งตลบอบอ้วน หัวแดงเถิกกันเป็นแถว นั้นแหละครับ ดาร์ฟูร์หรือ Land of Dafur ในปัจจุบัน
ถ้าผมเวอร์ไป พี่ๆน้องๆ หรือเพื่อนๆ คนไหนที่มีโอกาสไปมาแล้ว จะทักท้วงกันมาก็ยินดีนะครับ เดี่ยวหาภาพประกอบให้ดูครับ

Darfur,Sudan ดินแดนในทวีปแอฟริกา ครั้งหนึ่งที่ผมเคยไปทำงาน??
จะเอาพิกัดภูมิศาสตร์กันสักหน่อยดีใหม่ ?
ตั้งอยู่ในทวีปแฟริกา ตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศซูดาน ครับ มีพรมแดนประเทศ ใกล้ๆ กับประเทศ อียิปต์ ซาอุ และ ชาด ครับ ลองดูใน Google Map ได้

จะไปทำงานสันติภาพของ UN ในประเทศซูดานได้อย่างไร?? 

ในส่วนของกำลังพลสังกัด กองทัพบก กรมยุทธการทหารบก จะได้รับเอกสารโดยตรงจากศูนย์สันติภาพ กองทัพไทย แจ้งอัตราและความต้องการกำลังพลเพื่อบรรจุทดแทนคนเดิมที่จบภารกิจ 1 ปี ครับ ซึ่งปัจจุบันปี 2559 ก็จะมี กำลังพลในส่วนของกองทัพไทย ปฏิบัติภารกิจอยู่ในประเทศซูดาน ประมาณนะครับ 10-15 นาย โดยประมาณ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มที่ทำงานฝ่ายอำนวยการ(SO) ตาม บก.ต่างๆ และกลุ่มที่ทำงานในฐานะของผู้สังเกตการณ์ทางทหาร (MO) Military Observer 
ยก.ทบ.นำเรียนเอกสาร และสำเนาแจกจ่าย นขต.ทบ. ให้ส่งรายชื่อกำลังพลที่มีความประสงค์จะสมัครสอบไปปฏิบัติภารกิจสันติภาพ โดยแจ้งรายชื่อและส่งแบบฟอร์มรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวตามแบบฟอร์มของ UN ที่แนบ 
ดูลิงค์ 
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ
นายทหารสัญญาบัตร สังกัด ทบ.
ชั้นยศไม่เกิน พ.ท. อายุ ไม่เกิน 50 ปี 
เท่านี้นะครับหลักๆ ทีี่ผมจำได้ 

การทดสอบภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน โดยศูนย์ภาษา กรมยุทธศึกษาทหารบก
ก็หาเทป หรือตำราแนวข้อสอบภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เดิมเคยมีทำมาขายแถวๆ ร้านหนังสือของ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ปัจจุบัน ไม่แน่ใจว่ำมีหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็หา Connection เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่พอจะรู้จักกับ อาจารย์สอนหลักสูตรภาษาของ กรมยุทธศึกษาทหารบก ดูนะครับ เลียบๆ เคียงๆ ไถ่ถามกันดูได้ น่าจะได้อะไรมาบ้างครับ
คะแนนผ่านคือ 80 คะแนน ส่วน 100 ครับ
จากนั้นก็จะเป็นการสอบภาค พื้นฐานความรู้การทำงานของฝ่ายอำนวยการ รวมทั้งความรู้ของสันติภาพ ทั่วไป โดยมอบให้ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็นผู้รับผิดชอบการสอบให้

ทบ.ประกาศผลสอบผู้ที่สอบผ่าน และแจ้งรายชื่อให้ศูนย์สันติภาพ กองทัพไทยทราบ

ขั้นตอนของศูนย์สันติภาพ จะติดต่อทางโทรศัพท์ และทางอีเมลส่วนตัว ของผู้สมัครสอบแต่ละคน เพื่อแจ้งข่าวสารการปฏิบัติในรอบนี้
ในขั้นนี้ จะบอกว่าเป็นรอบ 2 ก็คงไม่ผิด
การทดสอบภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ECL อีก 1 ครั้ง คะแนนผ่านคือ 80 คะแนนเท่าเดิม ใครไม่ผ่านก็คือตก ครับ กลับบ้าน สิครับ
สอบพื้นฐานความรู้งานรักษาสันติภาพของ UN เป็นภาษาอังกฤษ ประมาณ 100 ข้อ ครับ โดยทางศูนย์ภาษาจะสนับสนุนไฟล์ข้อมูล หลักนิยมการปฏิบัติงานสนัติภาพ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอ่าน และศึกษา ก่อนสอบครับ ต้องยอมรับว่า อ่านแล้วก็ งงๆ เง็งๆ ครับ เดาซะเป็นส่วนใหญ่ พอจะเข้าใจมากขึ้นบ้าง ก็ตอนไปทำงานในภารกิจ UN จริงๆ โน้นเลยครับ
ลิงค์ไฟล์สำหรับคนสนใจ
มีสอบสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ โดยคณะกรรมการของ ศูนย์สันติภาพ ก็จะเป็นการแนะนำตนเอง ประวัติส่วนตัว ความรู้ และประสบการณ์การทำงาน และคำถามสมมุตติ ในเหตุการณ์ อีก 1 คำถาม จำลองว่า ถ้าเราเจอเหตุการณ์ นี้ นั้น โน้น ในพื้นที่ทำงานจริง เราจะทำอย่างไร บ้างๆ ก็เป็นการตอบโดยเดาบ้าง อนุมานเองบ้าง หรืออ่านมาจากตำราบ้าง ก็เอาตัวรอดไปให้ได้ละกัน
การทดสอบร่างกาย : ก็จะมีท่าปกติที่ ทบ.ทดสอบกำลังพลอยู่แล้ว คือท่า ดันพื้น ลุกนั่ง และวิ่ง ครับ ท่านี้ ไม่ค่อยห่วงครับ เพราะปกติที่หน่วยก็มีการฝึกฝนและทดสอบเป็นประจำเดือนอยู่แล้ว
การประกาศผลสอบรอบสุดท้าย ตัวจริง ตัวอะไหล่ และ รอเรียกตัวเพื่อดำเนินกรรมวิธีต่อไป

หลักสูตรการฝึกอบรมฝ่ายอำนวยการสหประชาชาชาติ และหลักสูตรผู้สังเกตุการณ์ทางทหาร
ตามปกติ คนที่สอบผ่านทุกนาย ทุกเหล่า บก เรือ อากาศ ก็จะถูกเรียกตัวเข้ารับการฝึกอบรม โดยศูนย์สันติภาพ อาคาร บก.กองทัพไทย ก่อน เป็นหลักสูตรประมาณ 2 สัปดาห์ โดย ศูนย์สันติภาพ จัดอาหาร และที่พักให้ผู้เข้ารับการอบรม โดยที่พักจะเป็นโรงแรม ในพื้นที่ใกล้กับ บก.ทท. และมีรถตู้ของ โรงแรม รับส่งให้ ทุกวัน เช้า - บ่าย
วิทยากร : ส่วนใหญ่จะเป็น วิทยากรชาวต่างชาติของสหประชาชาติ ที่ได้รับเชิญมาบรรยาย ในหัวข้อและประเด็นต่างๆ รวมทั้ง วิทยากรของไทย ที่เคยผ่านภารกิจ UN มาก่อน
เรียนรวมกันบางวิชา แต่แยกปฏิบัติในช่วงท้ายๆ ของตารางการอบรม ระหว่าง ฝ่ายอำนวยการ กับผู้สังเกตุการณ์ทางทหาร
โดยฝ่ายอำนวยการก็จะเน้นการฝึกแบบ CPX แก้ปัญหาทางฝ่ายอำนวยการ การวางแผน การประสานงาน และการกำกับดูแล
ส่วนกลุ่มผู้สังเกตุการณ์ทางทหาร จะออกนอกพื้นที่ ไปฝึกที่ ศูนย์การทหารราบ จะเน้นการฝึก ลาดตระเวน การขับรถในภูมิประเทศ การเขียนรายงานผลการ ลว.ในแต่ละวัน เป็นต้น
จบหลักสูตรการฝึกอบรมแล้ว
ขั้นตอนนี้ ก็จะรอการดำเนินการด้านวีซ่าเข้าประเทศ และการยืนยันการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ ซึ่งในส่วนนี้ จนท.ของ ศูนย์สันติภาพ จะเป็นหน่วยรับผิดชอบ ดำเนินการในภาพรวม
รอเรียกตามลำดับ และความเหมาะสม บางทีก็อาจจะไม่เป็นไปตามลำดับ หรือคะแนนสอบ บางทีก็เป็นจังหวะและเวลาของชีวิต
แล้ววันหนึ่ง เวลาผ่านไปเกือบๆ 6 เดือน ผมก็ได้รับโทรศัพท์ติดต่อจาก ศูนย์สันติภาพแจ้งว่า มีตำแหน่งว่าง 1 ที เป็นฝ่ายยุทธการ น้องสนใจไหม ทำได้ไหม พร้อมเดินทางไหม คำตอบคือ ไม่ต้องคิดครับ ผมก็ตอบสั้นๆ ไปว่า ครับ ได้ครับ ไปครับ พร้อมครับ

ยังไม่ได้ไปนะนั้น เอกสารแจ้งให้ยืนยันตัวบุคคลจาก ศูนย์สันติภาพมาที่หน่วย ซึ่งทางหน่วยผมก็ตอบไม่ขัดข้องและยินดีสนับสนุนให้ไปทำงาน
สำเนาหนังสืออนุมัติกำลังพลไปปฏิบัติภารกิจสันติภาพ ลงนามโดย รมว.กห. เรียบร้อย
และทาง ศูนย์สันติภาพ ได้แจ้งว่า ได้ส่งเอกสาร Passport ของผมไปให้ผู้ประสานงานด้าน Visa เข้าประเทศซูดาน เพื่อออกวีซ่าเข้าประเทศซูดานให้แล้ว ให้น้องอดทนรอใจเย็นๆ อีกนิดเดียวก็น่าจะอนุมัติและพร้อมเดินทาง โดยงบประมาณค่าตั่วเครื่องบินก็อนุมัติและพร้อมจ่ายแล้ว
อะไรที่ว่าจะแน่นอน ก็อาจจะไม่แน่นอน ในชุดเดียวกันกับรายชื่อของผม มีน้องทหารอากาศ และน้องจาก ทภ.4 อีกคน ที่ได้รับอนุมัติตัวบุคคล และยื่นเอกสารขอวีซ่าเข้าประเทศซูดานพร้อมกัน 3 คน
Bingo ประมาณ 5 เดือนก็ได้รับแจ้งจากทาง Un ว่าขอระงับหรือยกเลิกคำร้องขอวีซ่าของบุคคลเข้าประเทศจำนวน 2 คน คือน้องทหารอากาศและน้องจาก ทภ.4 ส่วนอีกคนยังไม่แจ้งยกเลิก แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าด้านเอกสาร และไม่สามารถเร่งรัด หรือผลักดันอะไรได้
ความห่วงใยของผู้บังคับบัญชา
หลังผ่านไปนานผิดสังเกตุ เกือบๆ ปี หลังจากอนุมัติตัวบุคคล ผมก็ยังทำงานที่เดิม ผบช.ชักสงสัย ว่ามีนอกมีในอะไรหรือเปล่า ทำไม่ถึงไม่ได้ไปซักที เดือนดร้อนท่านจะต่อสายตรงคุยกับ ผบช.ของ ทท.โดยตรงให้ แต่ผมก็เรียนปัญหาให้ทานทราบโดยตรง ว่าปัญหาตอนนี้มันไม่ได้อยู่ที่ ทท. หรืออำนาจของประเทศไทยแล้ว แต่เป็นปัญหาของประเทศซูดาน ที่เขายังไม่ยอมอนุมัติวีซ่าให้ผมสักที
จากนั้นผมก็คอยๆ  คอยจนเลิกหวังและคิดว่า OK ละ วาสนาเราคงมาเท่านี้ ใกล้ที่สุดแล้วที่จะได้โกอินเตอร์กับเขาสักทีั ก็คงรับประทานแห้วกันตามเคย ปลงๆๆๆๆๆ
ท้ายที่สุด ผมได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์ จากศูนย์สันติภาพอีกครั้ง ว่า วิซ่าของผมผ่าน ให้เก็บกระเป๋าและส่งของ มารับตั่วเครื่องบิน ไปฉีดวัคซีนและเตรียมเดินทางได้เลย เย้ๆๆๆ ในที่สุด ผมก็ได้ไปแล้ว


ฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ที่ไหน ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ใครออก เบิกได้หรือไม่??
ติดต่อฉีดวัคซีนโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือไข้เหลือง ที่สถาบันบำราศนราดูร จว.นนทบุรี
เว็บไซต์สถาบัน : http://bamras.ddc.moph.go.th/th/
จำได้ว่าต้องนำหลักฐานเอกสารอนุมัติตัวบุุคลไปยื่นด้วย พร้อมหนังสือเดินทาง ค่าใช้จ่าย เบิกคืนไม่ได้ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 พันบาทจำราคาไม่ได้จริงๆ จะได้รับสมุดหลักฐานเล่มสีเหลืองเล็กๆ มาด้วย 1 เล่ม ให้นำติดตัวไปด้วย ขณะทำงานหรือเดินทางในภารกิจ

ส่วนวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรีย จนท.ชี้แจงว่า อาจจะไม่ได้ผล 100 % เพราะต่างชนิดของยุง และสายพันธ์กัน แนะนำให้ใช้ยากันยุง และนอนกางมุ้งทุกครั้ง เพราะที่ซูดานยุงชุมมาก และมีโรคมาลาเรีย ระบาดเป็นประจำ
แต่ถ้าใครต้องการจะฉีด รวมทั้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก็แล้วแต่ความสมัครใจของแต่ละคน

การส่งของ 200 กิโล จะเป็นข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว และรายการเสบียงอาหาร ที่เราสามารถตระเตรีบยมการ และส่งไปโดย UN เป็นหน่วยงานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ ก็ไปติดต่อกับบริษัทที่รับสัมปทานการขนส่งกับ UN ได้เลยคือ DHL ซึ่งทาง ศสภ.ทท. จะเป็นคนช่วยประสาน และแจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อให้เราด้วย ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล สามารถแจ้งให้รถของบริษัท ไปรับของเอง โดยไม่ต้องยกมาที่สำนักงานของ DHL ให้เสียเวลา
ถ้าต่างจังหวัด ก็คงต้องลองต่อรอง หรือประสานกันดูเป็นกรณีไป ส่วนตัวผมต่อรองไม่เก่ง บอกว่ามีรถวิ่งมารับที่ลพบุรีไหม คำตอบคือ No ผมก็เลยต้องลำบากขนขึ้นรถกระบะไปส่งที่ สำนักงาน DHL ในเขตสนามบิน ดอนเมือง
ซึ่งทาง จนท.ของ DHL ต้องรื้อกล่องออกและตรวจสิ่งของภายในอย่างละเอียด ก็มีบางรายการที่เขาห้ามไม่ให้นำไป เช่น เครื่องปรุงรสที่มีส่วนผสมของสุกร เพราะซูดานเป็นศาสนามุสลิม ผิดหลักศาสนา เป็นต้น
สิ่งของอย่างอื่นที่หีบห่อไม่ได้มาตรฐาน ทาง DHL เข้าก็ไม่อนุญาติก็มี แต่จำไม่ได้ว่าอะไรบ้าง

คำแนะนำการส่งของ
บางท่านชอบสบายๆ ไม่ส่งอะไรมากในการเตรียมหาของ แบบว่าไปหาเอาข้างหน้า ในระบบ PX ของ UN หรือร้านค้าท้องถิ่น ซึ่งก็สามารถหาได้ตามสมควรในบางพื้นที่ เช่น กระทะไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องครัวต่างๆ
คิดอะรไไม่ออก ก็รักษายอดโควต้า 200 กิโลไว้ก่อน ก็ข้าวสารถุงละ 5 กิโลสัก 10 ถุง บวกมาม่าปลากระป๋องไปอีก 50 โล
อีก 100 โล ก็เป็นพวกเสบียงอาหารแห้ง และของใช้ส่วนตัว นิดหน่อย ก็ว่ากันไป
ที่อยู่สำหรับการจัดส่งของ ก็จะส่งไปที่ บก.UN ในพื้นที่ของดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ทาง ศสภ.ทท. จะแจ้งให้เราทราบ


สำนักงาน UN ที่กรุงเทพ ฯ ใกล้ๆ บก.ทบ. จะดำเนินการจัดหาตั่วเครื่องบินและจองตั๋วสายการบินให้ ทาง ศูนย์สันติภาพ รับมาให้ และไปผบกับ ผอ.กองปฏิบัติการ ศูนย์สันติภาพ เพื่อรายงานตัว และรับคำแนะนำการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ รู้สึกตื่นเต้น ดีใจ และกังวลใจอย่างบอกไม่ถูกอีกครั้ง
โชคดีที่ได้เพื่อนร่วมเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ พร้อมกัน อีก 1 คน ขออ้างอิงคือ พ.ท.สราวุธ แสงอิ่ม ซึ่งท่านเคยมีประสบการณ์การไปทำงานที่ซูดานมาก่อนแล้ว ในช่วงที่ท่านเป็นนายทหารยศ ร้อยเอก ในแผ่นดินซูดานใต้มาก่อน ทำให้ผมโล่งใจและเบาใจ เป็นอย่างมาก ไม่อย่างนั้น คงต้องเดินทางคนเดียวและกังวลกับสิ่งแวดล้อมและสถานที่ใหม่ๆ ที่ผมกำลังจะเดินทางไปถึงแน่นอน

ถึงวันเดินทาง นัดเจอกันกับ พ.ท.สราวุธฯ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ตอนตี 3 ของวันที่    รบกวนให้เพื่อนขับรถไปส่งจากลพบุรี มีครอบครัว แฟนและลูกทั้งสามคนมาส่ง

ถ่ายภาพการเดินทางที่บริเวณ ภายในอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ  เพื่อส่งข้อมูลทาง email ให้ศูนย์สันติภาพ เพื่อยืนยันการเดินทาง และเป็นข้อมูลของ ศูนย์สันติภาพ ในการสรุป ชี้แจง การปฏิบัติงานของศูนย์ ด้วย นะ ในขั้นตอนนี้



No comments:

Post a Comment