การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ หรือ Counter Insurgency ประกอบไปด้วยมาตรการหลัก ๓ เสริม ๒ ได้แก่ การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร, การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือประชาชน , การปราบกองโจร ,การปฏิบัติการจิตวิทยา และการปฏิบัติงานข่าวกรอง โดยการปิดล้อมตรวจค้นเป็นเทคนิคที่นำมาใช้โดยเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจในสภาพแวดล้อมในเมืองและเขตชนบท เพื่อดำเนินการตรวจค้นและควบคุมผู้ต้องสงสัยในหมู่บ้านหรือชุมชนขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถให้คำนิยามของการปิดล้อมตรวจค้นได้ดังนี้
๑. การปิดล้อม คือ การจำกัด การเคลื่อนย้ายของบุคคล สิ่งของ ด้วยการ ตรวจสอบ หรือกักกัน
๒. การตรวจค้น กระทำเพื่อ ค้นหา บุคคล หรือสิ่งของที่ต้องการ
โดยส่วนมาก การปิดล้อมตรวจค้น ไม่เป็นที่ พึงพอใจ ของ ประชาชนในพื้นที่เท่าใดนัก เนื่องจาก เป็นการจำกัด และ สูญเสียความเป็นส่วนตัวของ ประชาชนในพื้นที่นั้นๆ สิ่งที่จะลดความไม่พึงพอใจได้คือการใช้ การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใน และการปฏิบัติการทางจิตวิทยาเข้าเสริมในการปฏิบัติ เช่น การประชาสัมพันธ์ชี้แจงการปฏิบัติเมื่อผ่านจุดตรวจ เพื่อ ลดความเข้าใจผิด ลดการปฏิบัติที่อาจจะที่เกิดจากความตกใจของประชาชนผู้ถูกตรวจค้น ระดับความเข้มงวดของการปิดล้อมขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ จะทำให้มีรายละเอียดที่ แตกต่างกันออกไป
การจัดชุดในการปิดล้อมตรวจค้น ที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการจัดกำลังอย่างเพียงพอในการปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ต้องสงสัยและบริเวณใกล้เคียง โดยปกติจะมีการจัดกำลังออกเป็นชุดต่างๆดังนี้
ก. ชุดจุดตรวจ( Check point/Road block team) เป็นชุดที่ควบคุมการเข้าออก ชุดนี้สามารถ ใช้ชุดขนาดเล็ก ในกรณีที่ ตั้งจุดตรวจระยะเวลาสั้น ( ไม่เกิน ๘ ชม. ) แต่ถ้า ระยะเวลาในการปิดล้อมนานกำลังที่ใช้ต้องมากขึ้น เพื่อให้สามารถผลัดเปลี่ยนกำลังพลกันได้
ข. ชุดลาดตระเวน( Patrols) เป็นชุดที่ทำการ ลาดตระเวน โดยรอบพื้นที่ หรือ แบ่งส่วนตามจำนวนชุด เพื่อ ป้องกัน การเข้า หรือออกจากพื้นที่ปิดล้อมโดยไม่ผ่านจุดตรวจ โดยมุ่งเน้นไป ในพื้นที่ที่เป็น ช่องวางระหว่าง จุด ตรวจหรือจุดสกัด ควรจะเป็นชุดที่มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ เช่น มียานพาหนะที่เหมาะสมกับพื้นที่ปฏิบัติการ
ค. ชุดสกัดกั้น ( Blocking Team) เป็นชุดที่ใช้ในการปิดกั้นเส้นทางที่ไม่ให้มีการผ่านเข้าออกโดยสิ้นเชิง ด้วยการใช้เครื่องปิดกั้นและประกอบกับกำลัง
ง. ชุดเฝ้าตรวจ( Surveillance, Aerial Surveillance team) เป็นชุดที่มีหน้าที่ในการเฝ้าตรวจ เพื่อส่งข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย ในจุดที่สำคัญ เช่น จุดตรวจเส้นทางหลัก ทั้ง ก่อน การปิดล้อม และระหว่างการปิดล้อมตรวจค้น เพื่อสามารถให้ ผบ. หน่วย สามารถ ทราบถึงสถานการณ์ ปัจจุบัน เพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้ หากมีชุด เฝ้าตรวจทางอากาศ ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลตามเวลาจริง ไม่ว่าจะเป็น UAV หรือ การใช้ กล้องติดเครื่องบินปีกหมุนบังคับวิทยุ จะเป็นประโยชน์ในการประมาณสถานการณ์เป็นอย่างดี
จ. ชุดทหารช่างและ ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด เป็นชุดที่ช่วยในการสร้างเครื่องปิดกัน หรือรื้อถอนเครื่องปิดกั้น รวมทั้ง ใช้ในการเก็บกู้วัตถุระเบิด หรือตรวจสอบวัตถุต้องสงสัย
ฉ. ชุด ปฏิบัติการจิตวิทยา เป็นชุดที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุน การปิดล้อมตรวจค้น เช่น การสร้างความร่วมมือของประชาชนในการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ในภารกิจหน้าที่ของกำลังที่ปิดล้อม , ลดความไม่พึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ โดยการใช้สื่อชนิดต่างๆ ชุดนี้จำเป็นต้องมีการพิจารณาการใช้งานอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยด้านการข่าว
ช. ชุดกิจการพลเรือน มีหน้าที่ในการประสานงานและขอรับการสนับสนุน กับ พลเรือน เจ้าหน้าที่ปกครอง องค์กรเอกชน หรือ องการระหว่างประเทศ ที่อยู่ในพื้นที่ เช่น การขอรับการสนับสนุน สป.ในการปิดกั้นการจราจร , สถานที่พักจุดตรวจ , ชุดนี้จำเป็นต้องมีการพิจารณาการใช้งานอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยด้านการข่าว ทั้งนี้ขึ้นกับ ปัจจัย METT-C
ซ. ชุดป้องกันภัยทางอากาศ มีหน้าที่ในการป้องกันภัยทางอากาศ ให้กับชุดปิดล้อม ในพื้นที่ที่อาจจะมีภัยคุกคามจากทางอากาศ
แนวทางในการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นสามารถแบ่งออกเป็นได้ ๓ ขั้นคือ
๑.การเตรียมการ
ขั้นที่ ๑.๑ การรวบรวมข่าวสารจากหน่วยต่างๆ เช่น แผนกรวบรวมข่าวสาร (ผขส.พตท.) ,ศปก.ตร.สน.,ศสอ.(ศูนย์วิวัฒน์สันติ) และจากแหล่งข่าวอื่นๆ
ขั้นที่ ๑.๒.การ ลว.
๑.๒.๑ การลาดตระเวนที่หมาย การลว.. พื้นที่เป้าหมาย เพื่อที่จะหาขนาด พื้นที่ที่แน่ชัด ของพื้นที่ที่ทำการปิดล้อมซึ่งจะทำให้ทราบถึงแนวทางที่จะทำการปิดล้อม
โดยมีสิ่งที่ต้องพิจารณาดังนี้
ก. ระยะทางโดยรอบพื้นที่ปิดล้อม
ข. สิ่งกีดขวาง และที่มั่นดัดแปลง
ค. ระบบการแจ้งเตือนภายในพื้นที่ เป้าหมาย รวมทั้ง อุปกรณ์แจ้งเตือนโดยมนุษย์ เช่น
โทรทัศน์วงจรปิด ,ระฆัง ,เกาะ ,แท่งเหล็กที่ยามประจำหมูบ้านใช้
ง. ภูมิประเทศ โดยรอบ และเส้นทางทุกชนิด เช่น ทางเดิน ในภูมิประเทศ ทางเกวียน
จ. เส้นทางช่องทางลับ เช่น ท่อน้ำขนาดใหญ่ , ทางลับใต้ถุนบ้าน, อุโมงค์
หลังจากที่ ลว.แล้ว ควรต้องทิ้งส่วน เฝ้าตรวจไว้ ( ควรจะเป็นการเฝ้าตรวจทางลับหรือการใช้ภารกิจลวง )เพื่อเฝ้าตรวจและส่งผ่านข้อมูล ตามเวลาจริง ( ถ้ามีอุปกรณ์ ) หรือ ส่งข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม
๑.๓ ขออนุมัติจาก พตท. กอ.รมน.ภาค ๔ สน.(มทภ./ผบ.พตท.อนุมัติ)
๑.๔ แจ้งเตือนหน่วยต่างๆ
๑.๕ การวางแผนร่วม : หน่วยในพื้นที่ (ทหาร-ตำรวจ) ,ชุดนิติวิทยาศาสตร์,ชุด EOD,ชุด EOD ทอ.(กกล.ทอ.ฯ) ,ชุด ตร.ของ ศปก.ตร.สน.,ชุด ปจว.
๒ การปฏิบัติ
๓.การฟื้นฟูและสถาปนา
ข้อดีของการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น
เป็นการปฏิบัติในลักษณะการปฏิบัติการร่วม ซึ่งเป็นการประกอบกำลังในทุกด้าน เช่น จากจัดชุดจาก ศปก.ตร.สน. ทำงานร่วมกับทหาร ,การ ปจว.,การเก็บหลักฐานโดย จนท.นิติวิทยาศาสตร์ และชุด EOD,ชุด EOD ทอ. เป็นต้น
เป็นการปฏิบัติในแง่ของการจู่โจมและไม่คาดคิดทำให้สามารถควบคุมบุคคล สิ่งของต้องสงสัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย การปิดล้อมตรวจค้นเป็นลักษณะการวางแผนรวมการแต่ปฏิบัติแบบแยกการทำให้การประสานสั่งการไม่เป็นเอกภาพเท่าที่ควร ,การกระจายข่าวสารไปยังหน่วยในพื้นที่ยังไม่ดีพอ และการไม่มีส่วนร่วมขององค์กรอื่นๆ เพราะต้องการรักษาความลับในการปฏิบัติ
ข้อเสนอแนะ หน่วยปฏิบัติที่เป็นลักษณะการปฏิบัติการร่วม ควรมีพื้นที่เตรียมพร้อมบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อความง่ายและสะดวกในการติดต่อและประสานงาน ,เพิ่มความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ,การปฏิบัติการร่วมอากาศยาน และดำรงการฝึกอยู่เสมอ
No comments:
Post a Comment