ประวัติและความเป็นมาของทหารพลร่มไทย หลักสูตรส่งทางอากาศ หน่วยรบพิเศษของไทย Thai Special force Airborne School in Lopburi
Saturday, April 25, 2009
ใครสามารถเรียนหลักสูตรส่งทางอากาศได้บ้าง
3.1 เป็นผู้สมัครใจ
3.2 เป็นนายทหารสัญญาบัตร, นายทหารประทวน, พลทหารประจำการ และกำลังพลต่างเหล่าทัพไม่จำกัดชั้นยศ หรือเป็นผู้ที่ผู้บังคับบัญชาอนุมัติให้เข้ารับการศึกษาได้
3.3 ไม่จำกัดอายุ
3.4 ไม่อยู่ในระหว่างการศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ ซึ่งมีเวลาคาบเกี่ยวกับหลักสูตรนี้
3.5 มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ โดยต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และตรวจโรคตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. มาตรฐานหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาต้องผ่านการทดสอบ และฝึกดังนี้
4.1 การทดสอบความรู้ภาควิชาการ ต้องได้คะแนนในการทดสอบไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
4.2 การทดสอบสมรรถภาพร่างกายประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามระเบียบหลักสูตร โดยใช้ เกณฑ์การทดสอบตามระเบียบของ รร.สพศ.ศสพ.
4.3 การทดสอบกระโดดร่มภาคพื้นดิน 3 สถานี ประกอบด้วย
4.3.1 การกระโดดหอสูง 34 ฟุต
4.3.2 การลงพื้นจากรอกวิ่ง
4.3.3 การลงพื้นจากแท่น 2 ฟุต และการประเมินผลเสริมใน 3 สถานี คือ
สถานีที่ 1 ประเมินผลการปฏิบัติตามท่าสัญญาณ และท่าทางการโดดจาก บ. และ ฮ.
สถานีที่ 2 ประเมินผลการบังคับร่มตามคำสั่ง และกฎนิรภัย 5 ข้อ
สถานีที่ 3 ประเมินผลการแต่งร่มประกอบอาวุธและเครื่องสนามในเวลาที่กำหนด
4.4 การกระโดดร่มจากอากาศยาน คนละ 5 ครั้ง
4.4.1 ครั้งที่ 1 - 3 ทำการกระโดดร่ม แบบตัวเปล่า
4.4.2 ครั้งที่ 4 ทำการกระโดดร่มประกอบเครื่องสนามและอาวุธ
4.4.3 ครั้งที่ 5 ทำการกระโดดร่ม แบบตัวเปล่า
สำหรับผู้ที่ทำการกระโดดร่มจากอากาศยาน ครั้งที่ 4 แล้ว ให้ถือว่าสำเร็จการศึกษาในกรณีต่อไปนี้
1) ได้รับบาดเจ็บจากการกระโดดร่ม และแพทย์ลงความเห็นว่า หากกระโดดร่มต่อไปจะเกิดอันตราย
2) อากาศยานไม่สามารถให้การสนับสนุนได้ครบตามแผนการฝึก เนื่องจากขัดข้องหรือสภาพอากาศไม่อำนวย
5. ผู้เข้ารับการศึกษา ประกอบด้วย
5.1 นักเรียนนายร้อยและนักเรียนแพทย์ทหาร
5.2 นายทหารสัญญาบัตร (ช.,ญ.)หน่วยใช้ร่ม
5.3 นายทหารประทวน (ช.,ญ.)หน่วยใช้ร่ม
5.4 นายทหารสัญญาบัตรนอกหน่วยใช้ร่ม
5.5 นายทหารประทวนนอกหน่วยใช้ร่ม
5.6 พลอาสาสมัครของพันจู่โจม
5.7 พลทหารกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
5.8 พลร่มหญิง กองพลาธิการส่งกำลังทางอากาศ
ป้ายกำกับ:
บทความ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment