Monday, August 15, 2016

หลักสูตรการศึกษาของหน่วยรบพิเศษ

หน่วยรบพิเศษ มีการจัดหน่วย คนอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นพิเศษ เพื่อรองรับการปฏิบัติภารกิจพิเศษ ที่จำเป็นต้องใช้คน เครื่องมือ และอุปกรณ์พิเศษ ที่ได้รับการฝึกฝนและใช้งานเป็นการเฉพาะ มาเท่านั้น 
มาลองดูกันว่าในหน่วยรบพิเศษ เขามีการฝึกศึกษาหลักสูตรอะไรกับบ้าง แตกต่างจากหลักสูตรของหน่วยทั่วๆ ไปอย่างไร 

หลักสูตรที่น้องๆ และกำลังพลรบพิเศษของกองทัพบก ได้รับงบประมาณประจำปีจากกองทัพบก เปิดให้การศึกษา ในแต่ละปีมีหลักสูตรอะไรบ้าง ตามปกติสามารถเปิดดูได้จากเว็บไซต์ของ รร.สพศ.ศสพ. ครับ ซึ่ง Admin Blog ก็เป็นศิษย์เก่าของ รร.สพศ.ศสพ. หลายหลักสูตร เหมือนกัน
หลักสูตรของ โรงเรียนสงครามพิเศษ หลักๆ เลยที่ทำการฝึกก็คือ

1 Airborne หรือ ส่งทางอากาศ 


เพราะว่าเป็นหลักสูตรบังคับ ที่กำลังพลทุกนาย ของหน่วยรบพิเศษ หรือว่า พลร่ม จะต้องจบหรือสำเร็จการศึกษา และได้รับเงินเพิ่มพิเศษ พดร. (เงินเพิ่มกระโดดร่ม) นายสิบ 5100 บาท นายทหาร 7000 บาท ต่อเดือนครับ
การเรียนจะเรียนวิชาการและเน้นการฝึกปฏิบัติตามสถานีการฝึก เช่น การลงพื้นจากแท่น 2 ฟุต 4 ฟุต , การลงพื้นจากรอกวิ่ง , การบังคับร่ม ,การแก้ปัญหาติดขัด ,การบรรทุกและการปฏิบัติบนเครื่องบิน ,การทดสอบกระโดดหอ 34 ฟุต และสัปดหา์สุดท้าย จะเป็นการกระโดดจ่มจาก บ.จริง ที่ความสูงประมาณ 1200 ฟุต
สนามโดด บ้านท่าเดื่อ เขาจีนแล อ.เมือง จ.ลพบุรี
ระยะเวลาศึกษา 6 สัปดาห์
เรียนจบจะได้รับประกาศ และประดับเครื่องหมายปีกทหารพลร่ม ดิ้นทอง และประดับสายแดง

2 หลักสูตรการรบแบบจู่โจม หรือ Ranger 


จริงๆ แล้ว ปัจจุบันเป็นการขออนุมัติ จาก ทบ.เพื่อเปิดการศึกษาเป็นกรณีพิเศษ รองรับกำลังพลของ หน่วยรบพิเศษ ที่เปิดรับสมัครโดยตรงเข้ามาจำนวนหนึ่ง รวมทั้งกำลังพลเดิมที่ยังไม่สำเร็จหลักสูตรจู่โจม ด้วยเช่นกัน เนื่องมาจากการไปสมัครทดสอบแข่งขันในภาพรวมของ ทบ.ที่ ศูนย์การทหารราบแล้ว ไม่ผ่านการทดสอบ หรือการพิจารณาให้เข้ารับการศึกษา เป็นต้น 

3 หลักสูตรรบพิเศษ 

สำหรับชุดปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นแก่นและหัวใจของหน่วยรบพิเศษที่แท้จริง โดยจะกำหนดยอดกำลังพลของหน่วยรบพิเศษ เข้ารับการศึกษา โดยจัดเป็นชุดรบพิเศษ ของหน่วยรบ และหน่วยขึ้นตรง รบพิเศษ 

4 หลักสูตรผู้ชำนาญการทางทหารของ ชป.รบพิเศษ 

ได้แก่ นายสิบพยาบาล นายสิบการช่างและทำลาย นายสิบอาวุธหลัก นายสิบยุทธการและการข่าว พนักงานวิทยุ ชป.รบพิเศษ เป็นต้น 

5 หลักสูตรการแทรกซึมเบื้องสูงทางยุทธวิธี 


เพื่อต่อยอดและขยายขีดความสามารถของนักกระโดดร่ม สังกัดรบพิเศษ ให้สามารถกระโดดร่มแบบกระตุกเอง หรือ Military Free Fall ได้ และใช้เป็นอีกหนึ่งวิธีในการแทรกซึมเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย หรือหลังแนวของข้าศึก ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน 

6 หลักสูตรลาดตระเวนระยะไกล 

ฝึกชุดรบพิเศษ ให้สามารถเฝ้าตรวจสนามรบและรวบรวมข้อมูลข้าศึก ภูมิประเทศ ส่งกลับมายัง บก.หน่วยรบพิเศษ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

7 หลักสูตร การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ 

เพื่อฝึกกำลังพลรบพิเศษ ให้มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างการจัดของกองกำลังก่อความไม่สงบ สาเหตุ และแนวทางในการป้องกันแก้ไข และการปฏิบัติงาน เพื่อเอาชนะกลุ่มก่อความไม่สงบ 

No comments:

Post a Comment