Saturday, August 13, 2016

พรบ.ว่าด้วยการรับราชการทหาร 2497

พรบ.ว่าด้วยการรับราชการทหาร
ลิงค์ดาวโหลด http://www.sussadee.com/sassadee/2497.doc
ความยาว 156 หน้า
ประโยชน์ใช้ สำหรับศึกษา ความรู้และข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับทหารกองหนุน หรือบุคคลพลเรือนที่ต้องการจะสอบบรรจุทำงานในหน้าที่ สัสดี ที่ทำงานตามอำเภอ หรือศาลากลางจังหวัด ทั้งในส่วนของ นายทหาร และนายสิบ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง

ประวัติกฎหมายรับราชการทหาร

ความหมายของคำศัพท์

บทที่ ๒ 


พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ 


หมวด ๑ บททั่วไป

หมวด ๒ การยกเว้น

หมวด ๓ การลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ

หมวด ๔ การเรียกคนเข้ากองประจำการ

หมวด ๕ การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ

หมวด ๖ การปลด

หมวด ๗ บทกำหนดโทษ

หมวด ๘ บทเฉพาะกาล

หมวด ๙ การรักษาพระราชบัญญัติ     

ตามลักษณะวิธีการเกณฑ์ทหาร ในสมัยโบราณไม่ปรากฏว่ามีหลักฐาน เพิ่งจะมีหลักฐานเป็นเอกสารที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๒ เรื่องตำนานการเกณฑ์ทหาร โดยแบ่งเป็น ๔ ยุคใหญ่ คือ 
  • ยุคก่อนกรุงสุโขทัย 
  • ยุคกรุงสุโขทัย 
  • ยุคกรุงศรีอยุธยา และ
  •  ยุคกรุงรัตนโกสินทร์
เครดิตภาพ : http://www.army3.mi.th/army3_internet/mod/book/view.php?id=47&chapterid=397


(๒) “ทหารกองเกิน” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖ หรือผู้ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๘ แล้ว

(อธิบาย ทหารกองเกินจะต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญ ๒ ประการ คือ

๑. เป็นผู้ที่มีอายุอยู่ในระหว่างตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ถ้าอายุต่ำกว่านี้หรือเกินกว่ากำหนดนี้จะเป็นกองเกินไม่ได้

๒. ต้องเป็นผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๘ มาตราหนึ่งมาตราใดแล้ว จึงจะเป็นทหารกองเกินได้

ทหารกองเกินจะต้องมีลักษณะครบทั้ง ๒ ประการดังกล่าวแล้วจึงจะเป็นทหารกองเกิน ถ้าขาด ข้อหนึ่งข้อใดก็ไม่เป็นทหารกองเกิน เช่น อายุ ๑๙ ปีบริบูรณ์ หรือ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๘ ก็ยังไม่เป็นทหารกองเกิน หรือลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์หรืออายุเกินกว่า ๓๐ ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ไม่เป็นทหารกองเกิน ส่วนจะเป็นบุคคลประเภทใดหรือทหารประเภทใดจะได้กล่าวถึงต่อไป)



(๓) “ทหารกองประจำการ” หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด

(อธิบาย ทหารกองประจำการก็ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ คือ

๑. เป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้ว ส่วนการขึ้นทะเบียนกองประจำการหมายความว่าอะไร และจะขึ้นเมื่อไหร่นั้นจะได้กล่าวถึงต่อไปเมื่อถึงเรื่องนั้น ๆ

๒. ยังเป็นผู้ที่รับราชการในกองประจำการอยู่ยังไม่ได้ปลดถ้าปลดแล้วไม่เป็นทหารกองประจำการ

ทหารกองประจำการจะต้องมีลักษณะครบหลักเกณฑ์ ๒ ประการดังกล่าวแล้ว ถ้าขาดข้อหนึ่งข้อใดก็ไม่เป็นทหารกองประจำการ เช่น เข้าไปเป็นทหารแล้ว อาจจะเป็นพลทหาร หรือนายสิบ หรือจ่า ก็ได้ ถ้ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการก็ยังไม่ถือว่าเป็นทหารกองประจำการตามความหมายของพระราชบัญญัติรับราชการทหาร หรือเป็นทหารกองประจำการจนครบกำหนดปลดแล้ว แต่ทางราชการยังไม่ได้ดำเนินการปลดให้ หรือวันปลดถูกยืดเวลาออกไปก็ยังคงถือว่าเป็นทหารกองประจำการอยู่

การรับราชการในกองประจำการยังมีบางคนเข้าใจว่าจะต้องประจำอยู่ในกรมกองหรือในหน่วยทหารเสมอ ซึ่งความจริงไม่จำเป็น ทหารกองประจำการอาจไปปฏิบัติหน้าที่พิเศษนอกกรมกองทหาร หรือแม้แต่ในขณะที่ได้ลาพักไปชั่วคราวหรือให้ลาพักรอการปลด ระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันให้นี้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยังอยู่ในกองประจำการ ต้องถือว่าเป็นทหารกองประจำการอยู่)

(๔) “ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑” หมายความว่า ทหารที่ปลดจากกองประจำการ โดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดหรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัตินี้

(อธิบาย ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ มีที่มาได้ ๒ ทาง คือ

๑. ปลดออกจากกองประจำการเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑

๒. เดิมเป็นทหารกองเกินไม่เคยเป็นทหารกองประจำการเลย แต่ได้เข้ารับการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร ซึ่งโดยปกติได้แก่นักเรียนและนิสิตนักศึกษาในวิทยาลัย โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งกรมการรักษาดินแดนเป็นเจ้าหน้าที่ทำการฝึกวิชาทหารให้ เมื่อผู้ใดสำเร็จการฝึกวิชาทหารถึงชั้นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ แล้ว ทางกรมการรักษาดินแดนจะนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการให้ แล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ ทันทีโดยผู้นั้นไม่ต้องเข้ารับราชการในกองประจำการเลย)



(๕) “ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒” หมายความว่า ทหารที่ปลดจากกองเกินตาม มาตรา ๓๙ หรือปลดจากกองประจำการตามมาตรา ๔๐

(อธิบาย ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ มีที่มาได้ ๒ ทาง คือ

๑. ปลดจากกองเกินตามมาตรา ๓๙ คือเดิมเป็นทหารกองเกินอยู่ไม่เคยเข้าเป็นทหารกองประจำการเลย เมื่ออายุครบ ๓๐ ปีบริบูรณ์แล้ว จะปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ตามมาตรา ๓๙ โดยอัตโนมัติ คือ ไม่ต้องทำพิธีการปลด จะถูกปลดไปตามกาลเวลา เมื่อถึงกำหนดอายุครบ ๓๐ ปีบริบูรณ์ ก็เรียกว่าเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ได้เลย

๒. เดิมเป็นทหารกองประจำการซึ่งโดยปกติจะต้องถูกปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ แต่เนื่องจากในขณะที่ยังรับราชการในกองประจำการประพฤติตนไม่ดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๐ ก็อาจถูกปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ได้)
อ้างอิงมาจาก : http://www.sussadee.com/sassadee/index_techSD.html

No comments:

Post a Comment