ประวัติและความเป็นมาของทหารพลร่มไทย หลักสูตรส่งทางอากาศ หน่วยรบพิเศษของไทย Thai Special force Airborne School in Lopburi
Thursday, August 30, 2012
การกระโดดร่มตามวาระของหน่วย
ในปัจจุบันคงจะต้องยอมรับกันว่าสภาพแวดล้อมของภัยคุกคามในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ว่ากันว่าภัยคุกคามตามแบบที่จะมีการยกกำลังทหารเข้ารบราเข่นฆ่ากัน เพื่อแย่งยึดพื้นที่ หรือทรัพยากรสำคัญ เช่นแร่ธาต น้ำมัน เหมือนเช่นในสงครามในอดีต สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 สงครามไทยกับพม่า เป็นต้น คงจะหมดไปแล้ว หรือเกิดขึ้นได้ยากเต็มที เว้นแต่มีชาติหนึ่งในโลกนี้แหละ ไม่บอกละกันแต่เดาว่าทุกคนคงเดาถูก 555
สำหรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่จะเป็นภัยคุกคามที่เรียกว่า non-traditional threat ได้แก่การคุกคามทางการเมือง เศรษกิจ สังคม การค้า การลงทุน ยาเสพติด เช่น วัยรุ่นไทย นิยมแต่งตัว แต่งหน้าเลียนแบบดารานักร้องเกาหลีเป็นต้น
สำหรับกำลังพลของหน่วยรบพิเศษแล้ว ไม่ว่าภัยคุกคามจะมาในรูปแบบไหน ก็จำเป็นที่จะต้องพร้อมและเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการทีจะทำอย่างนั้นได้ก็จะต้องมีการทบทวนและ ฝึกซ้อมการปฏิบัติตาม รปจ.หรือแผนการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้นั้นเอง
การกระโดดร่มจากอากาศยานของ นสศ. เพื่อปฏิบัติภารกิจ การแทรกซึมเข้าสู่ที่หมายหลังแนวข้าศึก Behind the enemy line และรวมพลเพื่อเข้าปฏิบัติภารกิจ ในการค้นหา โจมตีเป้าหมายสำคัญต่างๆ ถือเป็นขีดความสามารถหนึ่งของหน่วยรบพิเศษ โดยกำลังพลของหน่วยรบพิเศษจะต้องสำเร็จหลักสูตรการกระโดดร่ม ของโรงเรียนสงครามพิเศษทุกคน และจะได้รับเงินเพิ่มพิเศษ พดร. จำนวนหนึ่ง
หลังจากที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ก็จะมีการฝึกการกระโดดร่มทบทวนตามวาระของหน่วย เพื่อทบทวนและสร้างความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามที่ได้รับมอบหมาย เรียกว่าการกระโดดร่มตามวาระ ซึ่งรับผิดชอบโดยฝา่ยยุทธการของหน่วยในการวางแผนการปฏิบัติ ประสานงานและกำกับดูแลการปฏิบัติไปจนจบขั้นตอน
ตัวผมเองก็เป็นหนึ่งในกำลังพลของหน่วยรบพิเศษ เป็นนักโดดร่มประจำกอง รับเงินค่าปีกกับเขาด้วยเช่นกัน เมื่อมีโอกาสก็จึงได้ส่งรายชื่อฝึกกระโดร่มตามวาระของหน่วยเช่นกัน
โดยสามารถเรียงลำดับการปฏิบัติได้ดังนี้
วันที่ 23 ส.ค.55 ช่วงเช้า ไปรับร่มแบบ MC-4 และรับชมวีดีโอ ความปลอดภัยจากการกระโดดร่ม ณ ห้องเรียน โรงเรียนสงครามพิเศษ เป็นวีดีโอสาธิต ข้อห้าม ข้อควรระวังเกี่ยวกับการกระโดดร่ม
ช่วงบ่าย นำร่มกลับมาพับ ต้องยอมรับว่า หาคนช่วยละครับ เพราะว่า นานๆ กระโดดสักที จำขั้นตอนการพับร่มไม่ค่อยจะได้แล้ว โชคดีที่กองของผมมีอดีตครูร่มมาบรรจุทำงานอยู่ด้วย ก็เลยให้ครูช่วยดูแล (ครูพับให้เลย บอกว่ารำคาญเสียเวลา 555)
ขอจดขั้นตอนการพับของครูไว้หน่อยหนึ่ง อาจจะไม่เป๊ะ 100 % เหมือนที่ครูจรัณ สอนในคลาส Free Fall นะ
1 วางร่ม พร้อมพับ ใส่ห่วงดึง
2 จัดสาย ร่ม ถือว่าสำคัญสุด อย่าให้พันกัน
3 จัดผืนผ้าร่ม
4 พับเป็นรูปร่างที่เข้าแพคได้
5 ยัดเข้าแพค
6 เก็บสาย ใช้ยางรัดช่วยเก็บ
7 นำแพคร่มเข้าตัวรับร่ม
8 การอัดร่มนำ Pilot
9 ต่อปลายสายของห่วงดึงเข้ากับจุดกั้นของร่มนำ
10 เรียบร้อยแล้ว
เพิ่มเติม
1 ควรดูเอกสารการพับร่มช่วยว่าพับครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ และใครเป็นคนพับ ถ้าไม่แน่ใจ หรือพับนานเกิน 6 เดือน ควรจะนำออกมาตรวตสอบ พับใหม่ หรืออัดใหม่เป็นต้น (เขาบอกว่าร่มช่วยพับยากมาก เลยไม่ค่อยมีคนอยากพับ)
2 การประกอบเครื่องช่วยเปิดร่มอัตโนมัติ FF-2 นำไปตั้งค่าแรงดันตามที่ผู้ควบคุมการกระโดดร่ม (ครูร่มของ รร.สพส.ศสพ.) แจ้งในวันโดด และประกอบเข้ากับร่ม
3 การทบทวนท่าทางการกระโดดร่มออกจากอากาศยาน การทรงตัว ความสัมพันธ์แขน ขา อื่นๆ การดูเครื่องวัดความสูง การมองรอบตัว การให้สัญญาณก่อนการเปิดร่ม การเปิดร่ม การตรวจสอบการกางของร่ม การแก้ไขเหตุติดขัดของร่ม การสละร่มหลัก การดึงร่มช่วย การตรวจสอบร่ม การบังคับร่ม การลงสู่พื้น
4 การบังคับร่ม สอบถามจากครูหรือรักโดดที่ชำนาญ เพื่อลงพื้นในจุดที่เราต้องการ ไม่หลุดสนาม หรือเดินไกล เป็นต้น ผมถามครูว่า กรณี เปิดร่มที่ความสูง 4000 ฟุต ร่มกางเต็มที่ ปลดล็อกสายดึงแล้ว เหลือความสูงประมาณ 3500 ฟุต ก็มองรอบตัว ลมพัดเข้าเขาจีนแล (สนามโดดบ้านท่าเดื่อ) ควรจะบังคับร่มให้อยู่เหนือจุดลงประมาณ 1200 ฟุตโดยประมาณ จากนั้น กลับร่ม เดินร่มตามลม ไปจนความสูงลดลงเหลือประมาณ 500 ฟุต ให้เรากลับร่ม หันหน้าทวนลม ใช้เทคนิคการดึงสายบังคับลงครึ่งหนึ่ง ช่วยในการให้ร่มตกลงในแนวดิ่ง จนระยะถึงพื้นอย่างปลอดภัย
5 การเก็บร่ม และการ Roll ร่ม เพื่อนำส่ง กอง พธ.สกอ.นสศ. การ Roll ร่ม ก็คล้ายๆ กับการพับร่มเตรียมโดด แต่จะไม่ละเอียดเท่ากันและปราณีตเท่่ากัน
6 นำร่มส่งถุงร่ม และนำส่งคืนหน่วยแจกจ่ายต่อไป
7 จบภารกิจ
เช้าวันศุกร์ที่ 24 ส.ค.55 ช่วง 0900 ขับรถนำร่มไปลงไว้ข้างสนามบรรทุก รร.สพส.ศสพ. (จอดรถกระบะทิ้งไว้)
ขั้นตอนตามนี้ครับ
1 ผู้รับผิดชอบการฝึก กยก.นสศ. ตรวจสอบยอด นักโดดแบบสายดึงประจำที และกระตุกเอง
2 วางร่มพร้อมแต่ง
3 ฮล.47 ดี ซีนุกซ์ จอดรอบรรทุกห่างออกไปประมาณ 70 เมตร
4 ผู้ควบคุมการกระโดดประสานการปฏิบัติกับนักบิน จำนวนเที่ยวบิน ความสูง ทิศทาง และอื่นๆ
5 การชี้แจงการปฏิบัติของนักโดด เช่นการแต่งร่ม ตรวจร่ม การบรรทุก เที่ยวบิน ความสูง การโดด และอื่นๆ
6 นักโดดแบบสายดึงประจำทีแต่งร่ม และขึ้นบรรทุกอากาศยานไปโดดลงที่สนามท่าเดื่อ ความสูง 1200 ฟุต จบเรียบร้อย
7 นักโดดแบบกระตุกเอง แต่งร่มและตรวจการแต่งร่ม บรรทุกอากาศยาน ตั้งค่าอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ FF-2 ตั้งค่า 936
8 บินสูง 6000 ฟุต ผู้ควบคุม ให้นักโดดเปิดจุกการทำงานของ FF-2
9 ความสูง 8500 ฟุต ปล่อยนักโดดแบบ Tandem ครูอัมพร โดดกับเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ออมทรัพย์ นสศ.
ตามด้วยนักโดดแบบกระตุกเอง ผมเองก็ออกมาด้วยท่าทางการพุงหน้าออกคล้ายๆการฝึกกระโดดน้ำ ก็ติดมาตั้งแต่ท้ายเครื่องเลยนะครับ ไม่มีพลิกคว่ำ เหมื่อตอนเป็นนักเรียนครับ ดีใจจัง การทรงตัวในอากาศ ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไหร่ ต้องกดมือด้านขวาช่วยไม่ให้มีการหมุนไปด้านซ้าย เริ่มจะนิ่งมากขึ้น ความสูงก็ลดลง ชำเลืองมองดูความสูง ลดลงมาที่ 6000 ฟุต เริ่มมีอาการจะหมุนไปทางซ้ายอีก ก็ต้องกดมือขวาลงช่วย แต่รู้สึกว่าจะกดมากไปมันจะหมุมไปทางขวาเลยนะเนี่ย ดูความสูงอีกครั้ง ที่ประมาณ 4500 ฟุต เริ่มให้สัญญาณมือเป็น WAVE 3 ครั้ง ก้มหน้ามองห่วงดึง ลดมือขวามาจับห่วงดึงและเปิดร่มออกไป ท่าทางการทรงตัวไม่ดี แรงกระชากทำเอาขาลอยชี้ขึ้นฟ้า (ถามครูทีหลังครูบอกว่า เปิดร่มแล้ว ต้องรีบกลับสู่ท่าเดิมให้เร็ว)
ตรวจร่ม พบร่มกางปกติ ปลดสายบังคับ ตรวจดูสนามลง (อย่าลืมดูสายห่วงดึงด้วย ยัดลงแขนให้ดี ถ้าหายจ่าย 1500 เขาว่างั้น) ความสูงเหลือ 3500 ฟุต ก็เล่นร่มอยู่เหนือสนามโดดจนลดเหลือประมาณ 1200 ฟุต ก็กลับร่มวิ่งเข้าสนามไป กลัยร่มอีกครั้งประมาณ 500 จากนั้นก็แซกบ้าง ปล่อยเดินหน้าบ้าง ลงพื้นปลอดภัย เก็บร่ม เดินไม่ไกลมากประมาณ 70 เมตร ไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที จากนั้นก็ Roll ร่ม มีคนมาช่วย Roll นำร่มขึ้นรถหน่วย ไปส่งที่ กอง พธ.สกอ. จบภารกิจ
บทสรุป
ผมเองก็งง ๆ นะไม่รู่ว่ามีสาระหรือเปล่า ? แต่จริงแล้ว ถ้าจะมีสาระอยู่บ้าง ก็สำหรับคนที่เตรียมตัวโดดร่มตามวาระของหน่วย ว่าเราจะต้องเตรียมการอะไรบ้าง ต้องปฏิบัติอะไรบ้าง เพราะในมุมมองของผม ส่วนใหญ่แล้วนักโดดก็มักจะร้างเวที และห่างไปนาน การกลับมากระโดดอีกครั้ง จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายและอันตรายอาจจะได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตจากการฝึกได้ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการเตรียมร่่างกาย จิตใจ และอุปกรณ์ ถือเป็นความรับผิดชอบส่วนตัวของนักโดดทุกคนที่ยังคงได้ชื่อว่าเป็นนักรบพิเศษ หมวกแดงและรับเงินเพิ่มพิเศษการกระโดดร่มของกองทัพอยู่นั้นเอง
ขอบคุณกองทัพ และครูร่มทุกคนที่ช่วยสอนขั้นตอนและวิธีการกระโดดร่มให้ ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ นักโดดทุกคนให้ปลอดภัยและมีแรงใจในการทำงานเพื่อหน่วยและประเทศชาติสืบไปครับ
ป้ายกำกับ:
บทความ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment