Saturday, October 10, 2009

วิชาศาสนาและศีลธรรม

องค์ประกอบแห่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา กับความมั่นคงของชาติ
๑ เศรษฐกิจ
๒ สังคม
๓ การเมืองการปกครอง
๔ การทหาร
 
การสร้างความความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมืองนั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่คนในชาตินั้นๆ ว่าจะมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ประเทศใดประชาชนของชาติมีประสิทธิภาพ การสร้างความเจริญมั่นคงก็ย่อมเป็นไปได้โดยง่าย ตรงกันข้ามถ้าคนในชาติขาดคุณธรรม การพัฒนาให้เกิดความมั่นคงก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้เลย
ศาสนาเป็นเรื่องของคุณธรรม ของอุดมการณ์เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดย่อมกล่อมเกลาหล่อหลอมให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนดีมีคุณภาพ
หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกื้อกูลต่อการสร้างความมั่นคงของชาติมีหลายประการ จะนำมากล่าวเฉพาะที่จำเป็นบางประการ ดังต่อไปนี้
๑ ธรรมมะเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ก.หลักความสุขของผู้ครองเรือน
๑ สุขเกิดแต่การมีทรัพย์
๒ สุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์
๓ สุขเกิดแต่การไม่เป็นหนี้
๔ สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ
ข. หลักกาแสวงหาทรัพย์
๑ ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
๒ ถึงพร้อมด้วยการรักษา
๓ คบมิตรดี
๔ เป็นอยู่พอดี
ค.หลักการใช้จ่ายทรัพย์
๑ เลี้ยงตัว บิดา มารดา บุตร ภรรยาและคนอาศัยให้เป็นสุข
๒ เลี้ยงเพื่อนฝูงให้มีสุข
๓ บำบัดอันตรายที่เกิดขึ้นแต่เหตุต่างๆ
๔ ทำพลีกรรม (การเสียสละ) ๕ อย่าง คือ
ก.ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
ข. อติถิพลี ต้อนรับแขก
ค.ปุพพเปตพลี บุญอุทิศให้ผู้ตาย
ง. ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร
จ.เทวตาพลี ถวายเทวดา คือสักการะ บำรุง หรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชาตามความเชื่อถือ
๕ อุปถัมภ์บำรุงสมณะพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ง.หลักการรักษาสมบัติ
ก.เว้นอบายมุข ๖
1. ติดสุราและของมึนเมา
2. ชอบเที่ยวกลางคืน
3. ชอบเที่ยวดูการละเล่น
4. ติดการพนัน
5. คบคนชั่ว
6. เกียจคร้านการทำงาน
ข. หลักธรรมของตระกูลที่ตั้งมั่น
1. ของหายของหมด รู้จักหามาไว้
2. ของเก่าของชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม
3. รู้จักประมาณในการกินการใช้
4. ตั้งผู้มีศีลธรรมให้รับผิดชอบในครอบครัว
๒.ธรรมะเพื่อความมั่นคงทางสังคม
ก.พรหมวิหาร ๔
1. เมตตา ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา ความสงสารเมื่อผู้อื่นตกทุกข์
3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง เมื่อเหลือที่จะช่วย เมื่อหมดห่วง หรือพิจารณาความดีความชอบ การตัดสินความผิดของผู้น้อย

ข. เบญจศีล
1. เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์
3. เจตนางดเว้นจากการผิดประเวณี
4. เจตนางดเว้นจากการกล่าวเท็จ
5. เจตนางดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
ค.เบญจธรรม
1. เมตตา กรุณา
2. สัมมาอาชีพ
3. กามสังวร
4. สัจจะ วาจา
5. สติ
 
๓.ธรรมะเพื่อความมั่นคงทางการเมือง
ก.พรหมวิหาร ๔
1. เมตตา
2. กรุณา
3. มุทิตา
4. อุเบกขา
ข. เว้นอคติ ๔
1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
2. โทสาคติ ความลำเอียงเพราะชัง
3. โมหาคติ ความลำเอียงเพราะหลง หรือเขลา
4. ภยาคติ ความลำเอียงเพราะขลาดกลัว
ค.ทศพิศราชธรรม
1. ทาน ให้ปันช่วยประชา
2. ศีล รักษาความสุจริต
3. ปริจจาคะ บำเพ็ญกิจด้วยสละ
4. อาชชวะ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง
5. มัททวะ อ่อนโยนเข้าถึงคน
6. ตปะ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส
7. อักโกธะ ถือเหตุผลไม่โกรธา
8. อวิหิงสา มีอหิงสานำร่มเย็น
9. ขันติ ชนะเข็นด้วยขันติ
10. อวิโรธนะ มีปฏิบัติคลาดจากธรรม
ง.จักรวรรติวัตร ๕
1. ธรรมมาธิปไตย คือธรรมเป็นใหญ่
2. ธรรมิลารักขา ให้ความครองโดยธรรม
3. มาอธรรมการ ห้ามกั้นการอาธรรม์
4. ธรานุประทาน ปันทรัพย์เฉลี่ยแก่ผู้ไร้ทรัพย์
5. สมณะพราหมณ์ปริปุจฉา สอบถามปรึกษา กับพระสงฆ์และนักปราชญ์
๔.ธรรมะเพื่อความมั่นคงทางทหาร
ก.พรหมวิหาร ๔
5. เมตตา ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
6. กรุณา ความสงสารเมื่อผู้อื่นตกทุกข์
7. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
8. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง เมื่อเหลือที่จะช่วย เมื่อหมดห่วง หรือพิจารณาความดีความชอบ การตัดสินความผิดของผู้น้อย
 ข. สังคหวัตถุ ๔
1. ทาน การให้ปันของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน
2. ปิยวาจา เจรจาด้วยคำที่น่ารัก
3. อัตถจริยา บำเพ็ญเป็นประโยชน์
4. สมานัตตา วางตัวเหมาะสม
ค.สารณียธรรม ๕
1. เมตตากายกรรม ตั้งกายกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา
2. เมตตาวจีกรรม ตั้งวจีกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา
3. เมตตามโนกรรม ตั้งมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา
4. สาธารณโภคี แบ่งปันลาภผลที่หาได้มาโดยชอบธรรมให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
5. สีตสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตดีงามเสมอกัน
 ง.อธิฐานธรรม ๔
1. ปัญญา ไม่ละเลยการใช้ปัญญา
2. สัจจะ อนุรักษ์สัจจะ
3. จาคะ คอยเพิ่มพูนจาคะ
4. อุปสมะ ฝึกอบรมตนให้ถึงสันติได้
 จ.บริจาค ๓
1. เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
2. เสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
3. เสียสละทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม
ฉ. อภิณหปัจจเวกขณะ (พิจารณาเนื่องๆ) ๕
1. ชราธัมมตา เรามีความแก่เป็นธรรมดา
2. พยาธิธัมมตา เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
3. มาณธัมมตา เรามีความตายเป็นธรรมดา
4. ปิยมนาปวินาภาวตา เราจะต้องประสบความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
5. กัมมัสสกตา เรามีกรรมเป็นของตน

No comments:

Post a Comment