ประกาศหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
เรื่อง รับสมัครทหารกองหนุนและบุคคลพลเรือนชายเข้ารับราชการ
-------------------------------------
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ มีความประสงค์รับสมัครทหารกองหนุน และบุคคล พลเรือนชาย เพื่อสอบคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวน (อัตรา ส.อ.) จำนวน ๖๓ อัตรา มีรายละเอียด ดังนี้.-
๑. ตำแหน่งที่รับสมัครสอบคัดเลือก
๑.๑ พนักงานวิทยุ จำนวน ๑๙ ตำแหน่ง
๑.๒ พลขับรถ จำนวน ๑๕ ตำแหน่ง
๑.๓ ช่างซ่อมวิทยุ จำนวน ๗ ตำแหน่ง
๑.๔ พนักงานวิทยุโทรเลข จำนวน ๕ ตำแหน่ง
๑.๕ เสมียน จำนวน ๔ ตำแหน่ง
๑.๖ ช่างซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน ๓ ตำแหน่ง
๑.๗ ช่างยานยนต์ล้อ จำนวน ๒ ตำแหน่ง
๑.๘ นายสิบศูนย์ข่าว จำนวน ๒ ตำแหน่ง
๑.๙ พลสลับสาย จำนวน ๒ ตำแหน่ง
๑.๑๐ พลทางสาย จำนวน ๑ ตำแหน่ง
๑.๑๑ พลนำสารยานยนต์ จำนวน ๑ ตำแหน่ง
๑.๑๒ เสมียนส่งกำลัง จำนวน ๑ ตำแหน่ง
๑.๑๓ พลวิทยุ จำนวน ๑ ตำแหน่ง
๒. คุณสมบัติทั่วไป
๒.๑ สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) สายสามัญ สายอาชีพ หรือเทียบเท่า ขึ้นไป ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ที่กำลังรอผลการศึกษา
๒.๒ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ คือผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ ถึงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ (งดรับผู้สมัครที่เกิดปี พ.ศ.๒๕๓๒ ซึ่งจะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗)
๒.๓ ผู้สมัคร และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยกำเนิดก็ได้
- ๒ -
๒.๔ มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ
๒.๕ ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
๒.๖ ไม่อยู่ในสมณะเพศ
๒.๗ ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างต้องคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
๒.๘ ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในทุกหน่วยมาก่อน
๒.๙ ต้องได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าบรรจุรับราชการทหาร
๒.๑๐ ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติดหรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
๓. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๓.๑ พนักงานวิทยุ, พลสลับสาย, พลทางสาย, พนักงานวิทยุโทรเลข, พลวิทยุ
๓.๑.๑ เป็นทหารกองหนุน หรือบุคคลพลเรือนชายอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์
๓.๑.๒ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือเทียบเท่าขึ้นไป(สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ จะใช้คุณวุฒิต่าง ๆ ที่สูงกว่านั้น มาเรียกร้องสิทธิใด ๆ ภายหลังมิได้)
๓.๑.๓ มีความรู้ความสามารถทางด้านพิมพ์ดีด และการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
๓.๑.๔ การใช้วิทยุ และการปรนนิบัติบำรุงเครื่องมือสื่อสารเบื้องต้น
๓.๒ พลขับรถ
๓.๒.๑ เป็นทหารกองหนุน อายุไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์
๓.๒.๒ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือเทียบเท่าขึ้นไป (สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ จะใช้คุณวุฒิต่าง ๆ ที่สูงกว่านั้น มาเรียกร้องสิทธิใด ๆ ภายหลังมิได้)
๓.๒.๓ มีความรู้ทางด้านเครื่องยนต์ สามารถขับรถยนต์ได้ และมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
๓.๓ เสมียนส่งกำลัง, เสมียน, พลนำสารยานยนต์
๓.๓.๑ เป็นทหารกองหนุน หรือบุคคลพลเรือนชายอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์
๓.๓.๒ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือเทียบเท่าขึ้นไป (สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ จะใช้คุณวุฒิต่าง ๆ ที่สูงกว่านั้น มาเรียกร้องสิทธิใด ๆ ภายหลังมิได้)
๓.๓.๓ มีความรู้ความสามารถทางด้านพิมพ์ดีด และการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
- ๓ -
๓.๔ ช่างซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, ช่างซ่อมวิทยุ
๓.๔.๑ เป็นทหารกองหนุน หรือบุคคลพลเรือนชายอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์
๓.๔.๒ สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างไฟฟ้า หรือช่างอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทียบเท่าขึ้นไป (สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ จะใช้คุณวุฒิต่าง ๆ ที่สูงกว่านั้น มาเรียกร้องสิทธิใด ๆ ภายหลังมิได้)
๓.๔.๓ มีความรู้ทางด้านการซ่อมเครื่องไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
๓.๕ ช่างยานยนต์ล้อ
๓.๕.๑ เป็นทหารกองหนุน หรือบุคคลพลเรือนชายอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์
๓.๕.๒ สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างยนต์ หรือเทียบเท่าขึ้นไป (สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ จะใช้คุณวุฒิต่าง ๆ ที่สูงกว่านั้น มาเรียกร้องสิทธิใด ๆ ภายหลังมิได้)
๓.๕.๓ มีความรู้ความสามารถทางด้านการซ่อมบำรุง รักษาเครื่องยนต์
๓.๖ นายสิบศูนย์ข่าว
๓.๖.๑ เป็นทหารกองหนุน หรือบุคคลพลเรือนชายอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์
๓.๖.๒ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือเทียบเท่าขึ้นไป (สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ จะใช้คุณวุฒิต่าง ๆ ที่สูงกว่านั้น มาเรียกร้องสิทธิใด ๆ ภายหลังมิได้)
๓.๖.๓ มีความรู้ความสามารถทางด้านพิมพ์ดีด
๔. หลักฐานประกอบการรับสมัคร
๔.๑ เอกสารแสดงคุณวุฒิ เช่น ประกาศนียบัตร ใบสุทธิ หรือระเบียนแสดงผลการเรียน ฉบับจริงและสำเนา
๔.๒ บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
๔.๓ ทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และบิดา มารดา ของผู้สมัคร ฉบับจริงและสำเนา
๔.๔ ใบมรณบัตรของ บิดา มารดา (กรณีถึงแก่กรรม) ฉบับจริง และสำเนา
๔.๕ เอกสารสำคัญทางทหาร
๔.๕.๑ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารจาก กรมการรักษาดินแดน ต้องมีใบสำคัญทหารกองหนุน (แบบ สด.๘) และหนังสือสำคัญประจำตัวแสดงวิทยฐานะการฝึกวิชาทหาร
๔.๕.๒ ผู้ที่ผ่านการตรวจเลือกทหารแล้ว ต้องมีใบสำคัญผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓)
- ๔ -
๔.๕.๓ ผู้เป็นทหารกองหนุน ซึ่งเคยรับราชการเป็นทหารกองประจำการมาก่อน ต้องมีใบสำคัญทหารกองหนุน (แบบ สด.๘) และหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดสุดท้ายที่รับราชการ
๔.๕.๔ ผู้ที่ยังไม่ถึงเกณฑ์เข้ารับการตรวจเลือก ฯ ใช้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนทหาร (แบบ สด.๙)
๔.๖ รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและแว่นตา (ถ่ายไม่เกิน ๓ เดือน) ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๔ รูป
๔.๗ หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล
๕. หลักฐานเพิ่มเติมเพื่อขอรับสิทธิพิเศษหรือสิทธิคะแนนเพิ่ม ผู้สมัครซึ่งมีความประสงค์ขอรับสิทธิพิเศษ หรือคะแนนเพิ่มจะต้องยื่นหลักฐาน ดังนี้
๕.๑ บิดาเสียชีวิตเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศ และได้รับการปูนบำเหน็จพิเศษ จำนวน ๒๐ คะแนน ใน ๑๐๐ คะแนน (เฉพาะสอบภาควิชาการ)
๕.๒ บิดาพิการทุพพลภาพจนกระทั่งถูกปลดออกจากราชการจากการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศ จำนวน ๑๐ คะแนน ใน ๑๐๐ คะแนน (เฉพาะสอบภาควิชาการ)
๕.๓ บิดา, มารดา ที่รับราชการใน ทบ. หรือเคยรับราชการใน ทบ.มาก่อน เว้นผู้ที่ ถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากมีความผิดบกพร่องต่อหน้าที่ จำนวน ๒ คะแนน ใน ๑๐๐ คะแนน (เฉพาะสอบภาควิชาการ)
ผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ได้รับการเพิ่มคะแนนจากหลักเกณฑ์ข้างต้นหลายข้อ ให้เพิ่มคะแนนให้ตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ได้รับคะแนนเพิ่มสูงสุดเพียงข้อเดียว
๖. การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) ทำการทดสอบดังนี้
๖.๑ ภาษาไทย (๒๕ คะแนน)
๖.๒ คณิตศาสตร์ (๒๕ คะแนน)
๖.๓ วิทยาศาสตร์ (๒๕ คะแนน)
๖.๔ ภาษาอังกฤษ (๒๕ คะแนน)
๗. การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
๗.๑ ดันพื้น (๒๐ คะแนน)
๗.๒ ลุก – นั่ง (๒๐ คะแนน)
๗.๓ ดึงข้อ (๒๐ คะแนน)
๗.๔ วิ่ง ๒ กม. (๒๐ คะแนน)
๗.๕ ว่ายน้ำ ๕๐ ม. (๒๐ คะแนน)
- ๕ -
๘. การทดสอบภาคปฏิบัติ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
๙. การสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
๑๐. กำหนดจำหน่ายระเบียบการรับสมัคร และวันรับสมัคร
๑๐.๑ จำหน่ายระเบียบการรับสมัครใน ๑๙ ตุลาคม – ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่เวลา ๐๘๓๐ – ๑๖๐๐ เว้นวันหยุดราชการ
๑๐.๒ รับสมัคร ใน ๒ – ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ แหล่งชุมนุมทหารรบพิเศษ (๑) ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่เวลา ๐๘๓๐ – ๑๖๐๐ เว้นวันหยุดราชการ
๑๐.๓ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองกำลังพลหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โทรศัพท์ (๐๓๖) ๔๑๓๔๑๒ ในวัน และเวลาราชการ
๑๑. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก และรับฟังคำชี้แจง ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๙๐๐ ณ แหล่งชุมนุมทหารรบพิเศษ (๑)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
(ลงชื่อ) พลโท โปฎก บุนนาค
( โปฎก บุนนาค )
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ที่มา http://www.rta.mi.th/26000u/index11.htm
เปิดรับสมัครปี 2553 เมื่อไรครับ
ReplyDeleteอันนี่ก็ไม่บู๊ ไม่เอา ไม่ชอบเอาแบบที่มีลงยะลามัยครับ ขอแบบนั้นอะครับ จัดให้ทั ข้อมูลอะครับ
ReplyDelete