Sunday, August 7, 2016

ครั้งหนึ่งของชีวิตในรั่วโรงเรียนเสนาธิการทหารบก CGSC87177

ในรั่วโรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 87 ปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันปี 2559 ผ่านมา 7 ปี แล้ว พึ่งจะมีโอกาสได้เขียนบทความเรื่องนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์ : เพื่อบอกเล่าถึงความภูมิใจของชิวิตที่มีโอกาสได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันทางทหารแห่งนี้ฯ
กลุ่มเป้าหมาย : น้องๆ NCO และผู้สนใจทั่วไป
วลีฮิต : ส่งงานให้ครบ เคารพอาจารย์ ออกนอกอาคารให้สวมหมวก จบแน่นอน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมี นทน.ไม่จบเพราะสอบตก แต่มีตกเพราะความประพฤติไม่ดีมากกว่า



เกี่ยวกับโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
Website โรงเรียนเสธฯ http://cgsc.ac.th/

สถาบันทางทหาร : สำหรับฝึกอบรมความรู้ทางทหาร ในระดับกลาง ให้พร้อมออกไปปฏิบัติหน้าที่ในระดับ ผบ.หน่วย และฝ่ายเสนาธิการของหน่วย ในกองทัพบกไทย
ที่ตั้ง : ภายในกรมยุทธศึกษาทหารบก ถ.เทอดดำริ แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต  กทม.ฯ
คุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษา : แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารโรงเรียนนายร้อย โดยตรง กลุ่มนี้ เดิมจะมีการสอบแข่งขันเข้ารับการศึกษา แต่ปัจจุบัน ยกเลิกระบบการสอบ เนื่องจากเหตุผลบางประการ จำไม่ได้แล้ว เอาเป็นว่าปัจจุบัน ไม่มีการสอบ คือรับเข้ารับการศึกษาทั้งหมดตามสิทธิ และตามรุ่น
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้จบจากสถาบันหลักฯ โดยตรง เช่นเลื่อนฐานะ และสอบบรรจุจากพลเรือน เป็นต้น ซึ่งกองทัพบกเปิดโอกาสให้สอบเข้ารับการศึกษา ประมาณ 20-25% ของหลักสูตร กลุ่มนี้ต้องสอบคัดเลือกเข้ารับการศึกษา
ซึ่งตัวผู้เขียนเอง ก็เป็นอีก NCO คนหนึ่งที่ต้องสอบและผ่านเข้ารับการศึกษาในหลักสูตร เช่นกันในชุดที่ 87 โดยจำได้ว่าได้รับรหัสการศึกษา เป็น CGSC 87177 ซึ่งหมายถึง ชุดที่ 87 ปี เลขที่ 177
คุณสมบัติเพิ่มเติม คือชั้นยศ พ.ต.-พ.ท. อายุไม่เกิน 40 ปี ในปีที่เข้ารับการศึกษา
หมายเหตุ ยศร้อยเอก ก็สามารถสมัครเข้ารับการศึกษาได้ แต่ต้อง ครองยศ ร้อยเอกมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี

การปรับตัว 

สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ชินคือการปรับตัวในฐานะนักเรียนใหม่ สถานที่แห่งใหม่ ห้องเรียนใหม่ๆ และเพื่อนๆ ร่วมห้องเรียนใหม่ๆ ซึ่งมีมาจากทุกหน่วยทั่วประเทศ
โรงเรียนเสธ ฯ สอนอะไร ด้านวิชาการนะครับ เรื่องการทำหน้าที่นายทหารฝ่ายอำนวยการ หรือฝ่ายเสนาธิการของกองทัพบก ซึ่งอธิบายด้วย ดาว 5 แฉก ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ หรือแก่นของฝ่ายเสธฯ

  • การหาและให้ข้อมูลข่าวสาร 
  • ทำประมาณการ หรือวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร 
  • ทำข้อเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
  • การจัดทำทำแผนและคำสั่ง
  • การกำกับดูแล
ซึ่งจะมีการเรียนวิชาฝ่ายอำนวนการคือการทำหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ของทหารในกองทัพบก จะแบ่งออกเป็น ฝ่ายกำลังพล ฝ่ายการข่าว ฝ่ายยุทธการ ฝ่ายส่งกำลังบำรุง ฝ่ายกิจการพลเรือน ฝ่ายปลัดบัญชี เรื่องการเงินและการงบประมาณ

ที่พักนักเรียนในโรงเรียนเสธฯ

อาคารที่พักนักเรียนภายในกรมยุทธศึกษาทหารบก จำนวน 4 ชั้นด้วยกัน ใน 1 ห้องจะแยกสัดส่วนออกเป็น 2 ห้อง และ 1 ห้องโถง ใช้เป็นที่ทานข้าว และฝึกฝนตนเองในการทบทวนเนื้อหา 
การพักจะจับกลุ่มกันพัก จำนวน 4 คน/ห้อง มีเตียงและที่นอนให้ สิ่งที่ต้องหาไปเองคือ ผ้าปู ผ้าห่ม หมอน มุ้ง และของใช้ส่วนตัว 
ในห้อง มีพัดลม ไม่มีแอร์ และนโนบายของ รร.เสธฯ คือ ไม่อนุญาติให้ใช้แอร์ในห้องพัก เพื่อฝึกความอดทนกับธรรมชาติ 
การกิน 
ระหว่างการศึกษา มื้อเที่ยงทางโรงเรียนมีงบประมาณ และจัดเลี้ยงฟรี ทานร่วมกันที่ โรงเลี้ยง นั่งเป็นโต๊้ะตามสะดวกประมาณ 8-10 คน สามารถยกมือขอรับอาหารและข้าวเพิ่มได้ไม่จำกัด 
ส่วนมื้อเช้าและมื้อเย็น เป็นหน้าที่ของ นายทหารนักเรียนจะบริการตนเอง 
รปจ.การเรียน 
  • 0800 รวมแถวเคารพธงชาติ ชี้แจงข้อมูลข่าวสาร 
  • 0830 เริ่มต้นการเรียนวิชาการ 
  • 1200 พักทานกลางวัน
  • 1300 เรียนภาคบ่าย 
  • 1700 จบการเรียน เวลาส่วนตัว กลับที่พัก ออกกำลังกาย ฝึกฝนตนเอง ฯลฯ
  • เสาร์อาทิตย์ หยุด กลับบ้าน ตจว.หรือจับกลุ่มติวที่ห้องถ้ามีสอบ 

หลังเวลาผ่านไปสัก 3 เดือน ก็เริ่มปรับตัวได้ และคุ้นเคยกัน รู้จักกัน รู้นิสัยส่วนตัวของแต่ละคนมากขึ้น ใครเก่งอะไร ใครถนัดอะไร ใคร ego ใคร Friendly ใครบลาๆๆๆๆ 
บรรยากาศการเรียนของโรงเรียนเสธฯ 

เป็นการเรียนที่เข้มข้น สนุกและทุกข์ในเวลาเดียวกัน หลายวิชาที่ผมไม่มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ มันช่างขมขื่นและผ่านไปอย่างทรมานหรือเกิน เช่น การจัดหน่วยทำการรบ การเขียนประมาณการข่าวกรอง การประมาณการยุทธ การเขียนแผนที่สถานการณ์ ฯลฯ  

แต่ถ้าเป็นวิชาการแนวที่ผมถนัด เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ มันช่างเป็นอะไรที่กล้ายๆ จริงๆ 555 แบบว่าเรียนไปขำไป ยิ่มไป 
การสอบแข่งขัน มีผลต่อการจัดอันดับตอนจบการศึกษา และการเลือกตำแหน่งที่ลงรับราชการด้วย ส่วนใหญ่จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการแข่งขัน และดูจริงจังในตัวของผู้เรียนที่ต้องการอันดับดีๆ เพื่อโอกาสได้เลือกตำแหน่ง ในหน่วย หรือจังหวัดที่ตัวเองต้องการจะอยู่ เรียกว่าตัดสินอนาตคกันทีเดียว กลุ่มนี้ จะไม่เคยหลับในห้อง และจะใช้เวลาหลังเรียนทบทวนและติวเนื้อหากันตลอดเวลาที่เรียนในโรงเรียนเสธ 
อีกกลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นพวก Slow Life แบบว่าอะไรก็ได้ ที่ไหนในประเทศไทย ขอให้ได้รับราชการและมีเงินเดือนก้ OK แล้ว กลุ่มนี้ ปรัชญาการเรียนก็จะออกแนว สบายๆ ขำๆ เรียนให้ครบ เรียนให้จบ จบไปแล้วค่อยว่ากันอีกที 

จิตอาสา 

นายทหารนักเรียนในชุดของผม 87 ก็จะมีหลายท่านที่ผมไม่อยากจะเอยนาม แต่ยังคงระลึกถึงและขอบคุณเสมอๆ ในเรื่องของวิชาการ ที่จัดทำสรุปวิชาการ ในรูปแบบของแผนผังความคิด หรือ Mind Map สำหรับส่วนรวมในการท่องและทบทวนก่อนการสอบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นกลุ่มนักเรียนนายร้อยหัวกะทิที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ พ่วงปริญญาตรีโทเอกจากยุโรป ออสเตรเลีย เยอรมันหรืออเมริกา เป็นต้น 


การทัศนศึกษาและการดูงาน 

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ดูงานของกองทัพภาคต่างๆ ในประเทศ เหนือ ใต้ ออก ตก อีสาน กลาง ปริมณฑล และแถมประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป. ลาว 

เป็นช่วงเวลาที่สนุก และได้รับความรู้และประสบการณ์ทีดีหลายๆ อย่างๆ 

การดูงานต่างประเทศ 

เพื่อเปิดโลกทัศน์ ความรู้และประสบการณ์ของ นทน.เสธฯ เพราะว่าบางคนอาจจะไม่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศเลยสักครั้งในชีวิตว่างั้น ทางโรงเรียนก็เลยถือเอาโอกาสนี้ซะเลย ฯบรรจุเข้าในแผนศึกษาประจำปีด้วยเลย 
ในส่วนที่ผมมีโอกาสไปคือไปที่ประเทศ ออสเตรเลียครับ ประมาณ 7 วัน ก็จะเป็นการดูงาน ที่ โรงเรียนเสฯาธิการออสเตรเลีย เป็นการรับฟังการบรรยายสรุป หลักสูตรโรงเรียนเสธ ออสเตรเลีย เทียบกับ โรงเรียนเสธไทย ด้วยความเคารพ ตอนนี้ ผมจำไม่ได้จริงๆ ว่ามันต่างกันตรงไหนแล้ว 

การบันทึกข้อมูลและการฝึกฝนการขีดเขียน เป็น Good Habit ที่ นทน.เสธฯ จะต้องฝึกฝนและทำเป็นกิจวัตร ทางสถาบันฯ จึงกำหนดให้ มีการสรุปข้อมูล และภาพประกอบ ของแต่ละแห่ง หรือแต่ละกิจกรรมที่พวกเราไปทัศนศึกษาดูงาน ส่งทุกครั้งและคิดเป็นคะแนน รวมตอนจบการศึกษาด้วย 
เวลาผ่านไป ไวๆๆ
จบการศึกษาดีกว่า

จบการศึกษาด้วยคะแนนดีมาก เป็นลำดับที่ 57 ของชุด เลือกรับราชการในตำแหน่ง ประจำแผนกกองข่าว หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ อ.เมือง จ.ลพบุรี ในปี 2553 
เริ่มต้นชีวิต ฝสธ.ใหม่ ฝ่ายข่าว ฯ
งานใหม่ ประสบการณ์ใหม่ๆ แต่อยู่ในรั่วรบพิเศษ หมวกแดง เหมือนเดิม ก็ไม่ต้องปรับตัวอะไรมากนัก 


มีอะไรไที่น่าจดจำ ครั้งหนึ่งในชีวิตของ NCO คนหนึ่งที่ได้รับโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รู้สึกระลึกถึงและขอบคุณ ไมตรีจิตจาก นทน.นักเรียนในชุด ความรู้และประสบการณ์อันมีค่าในการทำงาน การใช้ชีวิต จากสถาบันฯ แห่งนี้ 


สุดท้ายถ้ามีคนอ่านจบ หวังว่าบทความแนว Inspiration บทนี้จะเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ สำหรับน้องๆ NCO ที่สนใจในการสอบเข้าเรียน โรงเสียนเสธ ทบ. หรือผู้สนใจทั่วไป ได้รับความรู้และแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง ต่อไป
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามอะไร ก็ยินดี สามารถ Post ความเห็นหรือคำถามไว้ใต้บทความครับ
Thank you ครับ!!!!

5 comments:

  1. สวัสดีดีครับ ผมเป็นหนึ่งในนายสิบที่สอบเลื่อนฐานะขึ้นมา และมีความหวังที่จะสอบเข้า รร.เสธ.ทบ. ครับ ผมอยากทราบว่าในการสอบเข้านั้น ข้อสอบจะเป้นข้อสอบแนวไหนหรือเราต้องอ่านหนังสือยังไง สำหรับพี่แล้วใช้เวลาอ่านหนังสือนานไหมครับ ขอบคุณครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ลองค้นดูคำว่า ตำราสอบโรงเรียนเสธ 10 เล่มพราง หรือ ดาวโหลดตำราสอบโรงเรียนเสธ ครับ ส่วนการอ่านเวลาที่ใช้ไม่ควรจะน้อยกว่า 8 เดือนครับ ขอให้โชคดีครับ

      Delete
  2. เข้าเรียนเสธ. ต้องใช้เส้นสายหรือป่าวครับ ผมมาจากปริญญา เกรงว่าจะใช้เส้นสายเยอะ รบกวนตอบใน gagnutt@gmail.com ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ตอบ ตรงนี้เลยละกันครับ น่าจะไม่มีนะครับ ถ้าจะมีก็คงน้อยมากๆ สัก 1-2 % เท่านั้น ครับ แบบว่า High so จริงๆ ม้าง คือแบบนี้แล้ว เขาคงไม่ฝากกันนะครับ ถ้าตอบในมุมมองส่วนตัวของพี่ เอาเป็นว่า ถ้าเรามุ่งมั่นจริง และเตรียมตัวอ่านหนังสือมาดีพอจริง ลืมเรื่องระบบเส้นสายไปได้เลยครับ

      Delete
  3. ผมกำเนิดจากพลเรือน สอบของยศบรรจุเข้ารับราชการและอยากสอบเข้าเรียนเสนาธิการ แต่ไม่ได้ฝึกหลักสูตรรบพิเศษเลยจะสามารถสอบเข้าได้ไหมครับ เพราะเห็นในใบสมัครมีให้กรอกรุ่นของหลักสูตรรบพิเศษด้วยครับ

    ReplyDelete