Wednesday, March 6, 2013

แนวทางการเตรียมสอบเข้าเป็นนายสิบหน่วยรบพิเศษสำหรับบุคคลพลเรือนและทหารกองหนุน.

แนวทางการเตรียมตัวสอบเข้าเป็นข้าราชการทหารสังกัดหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ อ.เมือง จ.ลพบุรี สำหรับหนุ่มๆ หลายคนที่มีความต้องการหรือความไฝ่ฝันที่จะทำงานรับใช้ประเทศชาติ ด้วยการเป็นทหารสังกัดหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกไทย หากท่านไม่สามารถสอบเข้าเป็น นักเรียนนายสิบ นายร้อย หรือโรงเรียนทหารต่างๆ ได้ หรือได้แต่ต้องการสมัครเป็นทหารหน่วยรบพิเศษ หน่วยเดียวเท่านั้น ก็ถือว่ามีโอกาสและช่องทางสำหรับท่านที่สนใจดังนี้ครับ
ห้วงการรับสมัคร ทุกๆ ปีประมาณ เดือน พ.ย. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษหรือตัวย่อคือ นสศ. จะเปิดรับสมัครบุคคลพลเรือน และทหารกองหนุน เพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นนายสิบ ประมาณ 20-30 อัตรา (จำนวนไม่แน่นอน)
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการครับ บางปีอาจจะมากกว่า ที่ว่านี้ก็ได้  สามารถติดตามข่าวสารอัพเดทได้จากบล็อกนี้ครับ

ลองมาดูคุณสมบัติพื้นฐานกันสักนิด


คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เป็นทหารกองหนุนหรือ จบ รด.ปี 3 มีวุฒิ ม.6 หรือ เทียบเท่า 
  • อายุระหว่าง 18 - 28 ปี 
  • มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เหมาะแก่การเป็นทหาร 
  • ว่ายน้ำเป็น
  • มีใจรักในอาชีพทหาร อดทน เสียสละ (มีอุดมการณ์)
  • สายตาปกติ ไม่บอดสี สั้น ยาว เอียง 

การติดต่อสอบถามใน วันและเวลาราชการ
กองกำลังพล นสศ. โทร 036 413412
ขั้นตอนการสมัครสอบ

  • จำหน่ายใบสมัคร 
  • รับสมัครสอบ ตรวจหลักฐานผู้สมัคร พวกรูปถ่าย วุฒิการศึกษา สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ
  • ทดสอบร่างกาย (พละศึกษา)
  • ตรวจโรค 
  • ทดสอบวิชาการ (ข้อเขียน) สำหรับพวกที่ผ่านพละศึกษาเท่านั้น 
  • ประกาศผลสอบ 
  • เรียกรายงานตัวเข้ารับราชการตัวจริง 
  • เรียกตัวสำรองหรืออะไหล่ (ถ้ามี)

เครดิจภาพจาก:https://www.facebook.com/โรงเรียนสงครามพิเศษ

คำแนะนำในการทดสอบร่างกาย สำหรับน้องๆ ที่สนใจ

มีการทดสอบอะไรบ้าง
ต้องซ้อมหรือเตรียมร่างกายอย่างไรบ้าง
ถือเป็นด่านแรก ในการวัดว่าใครจะอดทน อึด และแข็งแรง ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานการเป็นทหาร และการเป็นนักรบพิเศษครับ เพราะว่าเข้ามาแล้ว จะต้องมีการฝึกหนัก และโหด กว่าการทดสอบในด่านแรกนี้มากกว่า
1 ท่าวิ่ง ง่ายที่สุด ต้องการอุปกรณ์แค่ รองเท้า 1 คู่ก็วิ่งได้แล้ว ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนโดยประมาณ เริ่มจากวิ่งช้าๆ สลับเดิน ให้ได้ ระยะทางจาก กิโลเดียว และค่อยๆ เพิ่มเป็น 2-3 กิโล และ 5 โล ถึง 8-10 กิโลทุกวัน จนกล้ามเนื้อขาและระบบการหายใจเคยชิน จากนั้นทดสอบการจับเวลา วิ่งระยะทาง 2 กิโลเมตร ในเวลา ประมาณ7-8 นาที
2 ว่ายน้ำ 100 เมตร แนะนำให้ฝึกว่ายทุกวันสำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่แข็ง เพราะเป็นท่าที่คนตกมากเช่นกัน ประมาณว่า หาแว่นตาว่ายน้ำ  หากางเกงว่ายน้ำมาแล้วฝึกว่ายให้ถูกท่า อย่าว่ายแบบหัวโด่หรือมัวไปเรื่อย เอาความแข็งแรงเข้าว่า ถ้าเป็นไปได้น้องควรหาครูฝึก หรือคำแนะนำจากคนที่รู้วิธีจะดีที่สุด เพราะจะช่วยเราได้มาก เหนื่อยน้อยกว่า ออกแรงน้อยกว่า แต่ไปได้เร็วกว่า และไกลกว่าแบบมั่วๆ แน่นอน

3 ดึงข้อ หาบาร์เดี่ยวมาแล้วฝึกดึง ทุกๆ วันให้ได้มากที่สุด ท่านี้เป็นท่าที่คนไม่ผ่านมากที่สุด จากทุกปีที่ผ่านมา จะเรียกว่าเป็นท่าที่คัดคนออกก็ไม่ผิดนัก ยอดคนสมัครรอบแรกหลักพันครับ แต่พอรอบสองวิชาการก็หลักร้อยครับ 555 บางคนเก่งวิชาการแต่ตกท่าดึงข้อ ทำให้หมดสิทธิ์ในการสอบรอบต่อไปนะครับ เกณฑ์ผ่านคือ ประมาณ 10-12 ครั้ง แต่แนะนำให้ทำให้ได้อย่างน้อย 15 ครั้งขึ้นไปครับ

3 ดันพื้น ทำให้ได้มากที่สุด ก็เข้าโรงยิม หรือฟิตเนส ยกน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อแขน อกไหล่ ท้องให้แข็งแรง ฝึกทุกวันจากเบาไปหาหนัก จากง่ายไปยาก จนชำนาญ เกณฑ์ผ่านอย่าไปคิด คิดถึงเกณฑ์แข่งขันคือทำให้ได้มากที่สุด ตามที่เราฝึกซ้อมมา บางคนแข็งแรงและเตรียมตัวมาดี เวลา 2 นาที ก็ประมาณ 60-80 ครั้ง ครับ
4 ท่าลุกนั่ง หรือ ซิทอัพ ใช้หลักการฝึกเช่นเดียวข้อ 3 ได้เลยครับ แต่เน้นไปที่กล้ามเนื้อท้องให้มากขึ้นหน่อยครับ ขั้นต่ำน้องๆ ควรฝึกให้ได้ 80 ครั้ง ใน 2 นาที ครับ

การตรวจร่างกาย
โดยแพทย์ทหาร ร.พ.อานันทมหิดล ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี มีรายละเอียดการตรวจอะไรบ้าง และค่าใช้จ่ายเท่าใด หรือมีคำแนะนำอย่างไร พี่จะมา update ให้อีกครั้งนะครับ
การสอบวิชาการ มีสอบวิชาอะไรบ้าง
 การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทำการทดสอบดังนี้

  • ภาษาไทย 20 คะแนน
  • คณิตศาสตร์ 20 คะแนน
  • วิทยาศาสตร์ 20 คะแนน
  • ภาษาอังกฤษ 20  คะแนน
  • หน้าที่พลเมือง 20 คะแนน (ตั้งแต่ปี 2560 เป็นปีแรก)

เนื้อหา มัธยมปลาย  เตรียมตัวดีกว่ามีโอกาสมากกว่าครับ อ่านหนังสือทุกวันครับ อย่าหวังพึ่งโชคหรือหาเส้นสาย หรือจ่ายเงินครับ  ความอดทน ความมุ่งมั่น และความตั้งใจจริงเท่านั้นคือบันใดหรือหนทางสู่ความสำเร็จครับ หนังสือหรือแนวข้อสอบที่ออกหรือพิมพ์โดย นสศ.ไม่มีครับ สำหรับวิธีการออกข้อสอบเท่าที่ทราบ ตำราหรือแนวข้อสอบระดับมอปลายสายสามัญทั่วไปตามร้านขายหนังสือครับ ไปหาที่ร้านขายหนังสือ หาแนวข้อสอบมาอ่านมาฝึกฝนทำเลยครับ อ่อนวิชาไหน ไม่ถนัดวิชาไหน ก็ลองหาครูหรือติวเตอร์มาช่วยแนะนำหรือสอน ลงทุนเพื่อการศึกษาไม่เสียหลายครับ 
การประกาศผลสอบ 
น้องๆ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของ นสศ. และป้ายประกาศที่ บก.นสศ.
การเรียกรายงานตัวเข้าบรรจุ 

การฝึกนายสิบใหม่ 

มีหลักสูตรฝึกอะไรบ้างก็จะเป็นพื้นฐานทางทหาร ระเบียบวินัยทหาร สำหรับคนที่เคยเป็นทหารเก่าหรือกองหนุนก็จะไม่ยาก เพราะว่าเคยผ่านมาแล้ว แต่ถ้าน้องๆที่มาจากพลเรือนจริงๆ ก็จะต้องปรับสภาพร่างกายและจิตใจกันสักพักครับ 
สิทธิ และการศึกษาเพิ่มเติม 
ได้รับเงินเดือนประมาณ 8000 บาท และมีเงินพิเศษ พ.ด.ร. (เพิ่มกระโดร่ม) อีกประมาณ 5000 บาท/เดือน รวมๆ แล้ว ก้ประมาณ หมื่นต้นๆ ครับ ก็ถือว่าไม่น้อยนะครับ สำหรับการเริ่มต้น 
สิทธิพิเศษเบิกค่ารักษาพยาบาล  รวมถึง พ่อแม่ ลูกเมีย ด้วยนะ ส่วนค่าค่าเล่าเรียน ได้เฉพาะลูก 55
หลักสูตรทางทหารที่น้องๆ ต้องโดนบังคับเรียน 
หลักสูตรส่งทางอากาศ หรือกระโดดร่ม ที่จะทำให้เราได้ค่าปีกเพิ่ม 5000 บาทนั้นแหละครับ เป็นหลักสูตรประมาณ 1 เดือน เรียนกันที่โรงเรียนสงครามพิเศษ ค่ายเอราวัณ ฯ

หลักสูตรการรบแบบจู่โจมหรือแรงเยอร์ เรียนกันที่ โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ จว.ประจวบ ครับ 
อื่นๆ ก็มีแต่ไม่บังคับครับ เช่น รบพิเศษ ปปส. ปจว. ฯลฯ