Sunday, May 20, 2012

ชุดรบพิเศษของ ทบ.สหรัฐ


ชป.รพศ.ของ ทบ.สหรัฐฯ หรือเป็นที่รู้จักกันในนามของ ชป.A ถืิอเป็นหัวใจสำคัญสุดของหน่วยรบพิเศษ ตามปกติจะประกอบด้วย 6 ชป.รพศ.ใน 1 กองร้อยรบพิเศษ โดยมี ผบ.ชป.เป็นนายทหารยศร้อยเอก และมี รอง ผบ.ชป.ยศ  warrant officer , นายสิบ 2 คน หรือ นายทหารประทวนที่ได้รับการฝึกพิเศษตามหน้าที่ของรบพิเศษ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอาวุธ,ช่างและระเบิดทำลาย,พยาบาล,สื่อสาร,และยุทธการและการข่าว ทั้งนี้สมาชิกของทีมทุกคนจะต้องมีการคัดเลือก และฝึกเป็นพิเศษ ในหน้าที่ด้านต่างๆ ให้สามารถทำงานทดแทนกันได้เมื่อจำเป็น รวมทั้งการเรียนด้านภาษา
 
ขีดความสามารถและความอ่อนตัว:

วางแผนการปฏิบัติการพิเศษแบบอิสระหรือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยเหนือ ;
แทรกซึ่มเข้าออกพื้นที่ปฏิบัติการทางบก เรือ อากาศ ;
ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่อิทธิพลของฝ่ายตรงข้ามเป็นเวลานานโดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยส่งกำลังบำรุงน้อยที่สุด ;
พัฒนา จัดตั้ง จัดการฝึก กำลังกองโจร หรือนำการรบได้ถึงระดับ กองพันปฏิบัติการ ;
ฝึก ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือหน่วยทหารอื่นๆ รวมทั้งกำลังพันธมิตร ;
วางแผน และปฏิบัติการ unilateral SF operations;
ปกิบัติภารกิจพิเศษตามที่ได้รับมอบจากหน่วยเหนือ .

I
ใน 1 ร้อยรบพิเศษ 1 ใน 6 ทีม จะต้องรับการฝึก หลักสูตรการปฏิบัติการทางน้ำ หรือ Combat diving และอีกทีม ฝึกการกระโดดร่มแบบกระตุกเองหรือ  military free-fall parachuting ซึ่งใช้เป็นวิธีการแทรกซึมเข้าพื้นที่ปฏิงานนั้นเอง

ชป.รพศ.สามารถทำงานแบบอ่อนตัวในการจัดของผู้บังคับบัญชา เพื่อรองรับภารกิจเฉพาะ ปกติแล้ว ชป.รพศ. จะประกอบด้วยระบบการสื่อสารชั้นดี เช่น การสื่อสารผ่านช่องทางดาวเทียม ระบบการหาพิกัดตนเองอัตโนมัติ วิทยุคื่นความถี่สูง ,อุปกรณ์แพทย์ที่ทันสมัย การผ่าตัดสนาม การวิจัย การทำฟัน การป้องกันโรค ระบบทางเดินหายใจ ,ระบบตรวจสอบน้ำดื่ม, ระบบป้องกันสัตว์พิษ โดยมีอุปกรณ์ส่วนตัวอื่นๆ รวมทั้งอาวุธป้องกันตัว ,อุปกรณ์ช่วยมองเวลากลางคืน ,อุปกรณ์ระเบิดแบบไฟฟ้าและไม่ไฟฟ้า ทั้งนี้อุปกรณ์ที่แจกจ่ายก็จะแตกต่างกันออกไปตามภารกิจที่ได้รับมอบ 


 สำหรับการปฏิบัติการทางน้ำหรือการแทรกซึมทางน้ำ จะมีชุด SCUBA (self-contained underwater breathing apparatus)มีอุปกรณ์ช่วยหายใจใต้น้ำ ถังดำน้ำ ,เรือยาง และเรือพาย สำหรับชุดแทรกซึมทางอากาศ จะใช้การกระโดดร่มแบบกระตุกเองจากอากาศยานลงสู่พื้นที่เป้าหมาย



ชป.รพศ. "Alpha" (The A-Team) Structure
ตำแหน่ง ยศ ชกท.
ผบ.ชป.รพศ. ร้อยเอก 18A
รอง ผบ.ชป. Warrant Officer 180A
ส.ยุทธการ จ่าสิบเอก 18Z
ส.ยุทธการและการข่าว จ่าสิบเอก 18F
ส.อาวุธ จ่าสิบเอก 18B
ผช.ส.อาวุธ จ่าสิบตรี 18B
ส.การช่าง จ่าสิบเอก 18C
ผช.ส.การช่าง จ่าสิบตรี 18C
ส.การแพทย์ จ่าสิบเอก 18D
ผช.ส.การแพทย์ จ่าสิบตรี 18D
ส.สื่อสาร จ่าสิบเอก 18E
ผช.ส.สื่อสาร  จ่าสิบตรี 18E

หน่วยรบพิเศษกองทัพบกของสหรัฐอเมริกา

หน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ จัดว่าเป็นหน่วยทหารที่ได้รับการกล่าวถึงในเรื่องของการปฏิบัติการ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งไทยเราก็มีการนำเอาหลักนิยมของเขามาแปลและประยุกต์ใช้งานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒธรรมองค์กรของไทยเรา อย่างไรก็ตามหากท่านพอจะมีความรู้ด้านภาษาบ้าง หรือต้องการศึกษา ต่อยอดองค์ความรู้ด้านรบพิเศษของ US ก็สามารถคลิกตามลิงค์ด้านล่างนี้ซึ่งผมได้รวบรวมนำมาให้ผู้เยี่ยมชมบล็อกแห่งนี้ได้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาต่อไป

U.S. Army Special Operations Forces

 

รบพิเศษกองทัพบกของสหรัฐฯ
  • U.S. Army Special Forces (Green Berets)
    The quiet professionals. Masters of unconventional warfare.
  • หน่วยรบพิเศษกองทัพบกหรือ กรีนเบเร่ย์ หน่วยที่เป็นพลังเงียบของ US และเป็นหน่วยที่เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการสงครามนอกแบบหรือ UWAR ครับ
  • Delta Force (CAG)
    The Army's elite counter-terrorism experts.
  • หน่วยเดลต่าฟอร์ซ สุดยอดรบพิเศษของ US มีภารกิจในการต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบ
  • 75th Ranger Regiment
    Army Rangers lead the way.
  • กรมจู่โจมที่ 75 หน่วยทหารจู่โจม จะอยู่ที่ไหนจู่โจมเป็นผู้นำเสมอ
  • 160th Special Operations Aviation Regiment
    The Night Stalkers - elite helicopter flyers
  • กรมบินปฏิบัติการพิเศษที่ 160 หน่วยบินสุดยอดปฏิบัติการพิเศษ สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ถือเป็นหน่วยสนับสนุนที่สามารถนำพากำลังรบพิเศษ เข้าสู่จุดไคล์แมกซ์ของเหตุการณ์ได้ทันเวลา หรือชิงความได้เปรียบของการปกิบัติการนั้นเอง จุดเด่นอยู่ที่ไม่มีขีดจำกัดด้านภูมิประเทศ และเวลา ส่วนรบพิเศษของไทยเราต้องร้องเพลงรอ อย่างเดียว ไม่มีทางมีแบบเขาหรอก หน่วยบินเป็นของตัวเองนะ
  • Intelligence Support Activity
    Top secret intelligence gatherers
  • หน่วยข่าวกรอง ทางลับ เพื่อนำมาใช้งานในการปฏิบัติภารกิจของรบพิเศษ โดยเฉพาะ
  • 95th Civil Affairs Brigade
    Special Operations Civil Affairs
  • กองพลน้อยกิจการพลเรือน รับผิดชอบงานด้านกิจการพลเรือนของหน่วยรบพิเศษ US
  • 4th & 8th Military Information Support Groups
    Psyops specialists
  • กรมปฏิบัติการข่าวสารที่ 8 รับผิดชอบงานด้านการปฏิบัติการข่าวสาร

Friday, May 18, 2012

โรงเรียนสงครามพิเศษในความทรงจำ

สวัสดีครับ ทุกท่าน วันนี้ผมได้มีโอกาสมาแนะนำการเขียนเว็บไซต์ด้วย Joomla ให้กับกำลังพลของโรงเรียนสงครามพิเศษ นับตั้งแต่ปรับย้ายหน่วยออกไปเมื่อปี 2551 (ปรับประจำ รร.สธ.ทบ.) และกลับมารับราชการใน นสศ. อีกครั้ง ก็พึงมีโอกาสกลับมาตอบแทนบุญคุณของสถานศึกษาแห่างนี้ ที่ถือว่าเป็นแหล่งกำเนินของทหารพลร่ม และเป็นเบ้าหลอมของนักรบพิเศษไทย
หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีทั้งที่พัฒนาขึ้น คงที และเสื่อมไปตามกาลเวลา
เจ้าพ่อเอราวัญ ยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิที่พลร่มและกำลังพลของหน่วยให้ความเคารพ สักกการะ เสมอมา ไม่เปลี่ยนแปลง
เครื่องบินที่ใช้เป็นเครื่องช่วยฝึกสถานี การปฏิบัติบน บ. และสถานีการฝึกต่างๆ ยังคงมีเช่นเดิม เช่นเดียวกับโรงเก็บบอลลูน ที่ผมถือว่าเป็นแหล่งพัก แหล่งฝึกของพลร่ม ทุกคนที่มาเข้ารับการศึกษาจากหน่วยนี้ แต่ว่าเป็นโรงบอลลูนที่ว่างเปล่า ไม่มีบอลลูนที่สามารถใช้งานได้เช่นในอดีต
ครูฝึก ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนๆ มีการเปลี่นแปลงไป ตามวงรอบ ครูดา ครูต่าย ครูเต๋อ และ ครูจ้อน ครูหมู ทราบว่ายังอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม ก็คิดถึงครูและวันเวลาเก่าๆ นะครับ อยากบอกว่า ไม่เคยลืม และจดำเสมอ มีเวลาคงได้คุยกัน ปารืตี้กันบ้างนะครับ
วันเวลาผ่านไป แต่เชือไหมว่า ในมุมของผม โรงเรียนสงครามพิเศษ น่าจะมีการพัฒนาทีดีขึ้นกว่านี้ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้าน ครูอาจาร์ หรือบุคคลากร นะครับ ซึ่งคงต้องการปรับปรุงพัฒนาอีกมาก เพื่อให้เป็นแหล่งการศึกษาที่เก่งที่สุดของรบพิเศษไทย เอเซีย หรือของโลกครับ อยากจะเห็น แต่ไม่มีบทบาทและอำอาจหน้าที ที่จะเสนอแนะหรือทำได้ ก็ได้แต่หวังว่าจะมีอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยหน่วยเดิมของเรากันให้มากๆ อย่างน้อยจบไปแล้วก็ได้ดิบได้ดีก็อย่าลืมหันมาเหลี่ยวแลโรงเรียนสงครามพิเศษ แห่งนี้บ้างนะครับ
เรื่องเปิดหลักสูตรการฝึกศึกษา ก็คงเปิดตามปกติเช่นเดิม มีร่ม รบพิเศษ ปจว. ทางน้ำ แทรกซึมฯ และพิเศษ อื่นๆ

Thursday, May 17, 2012

หลักสูตรส่งทางอากาศของ ทบ.สหรัฐฯ

หลักสูตรส่งทางอากาศของ ทบ.สหรัฐฯ
ค่าย เบนนิ่ง จอเจียร์
ณ รร.พลร่มแห่งนี้จะเป็นการฝึกการกระโดดร่มจากอากาศยาน การบังคับร่มลงสู่พื้นดินอย่างปลอดภัย และสามารถปฏิบัติภารกิจทางทหารต่อไปได้ โดยค่าย เบนนิ่ง จอเจียร์ แห่งนี้ เป็นสถานที่ทหารพลร่มของ ทบ.สหรัฐฯ มารับการฝึกและได้รับการประดับเครื่องหมายพลร่ม เป็นหลักสูตร 3 สัปดาห์ หลังจากที่ทหารจบจากหลักสูตรการรบขั้นต้น และการฝึกเฉพาะหน้าที่ รวมทั้งคนที่จบจากหลักสูตรจู่โจม และหลักสูตรคัดเลือกคนเข้าเรียนหลักสูตรรบพิเศษ ก็จะต้องมาเข้าเรียนหลักสูตรนี้ตามแนวทางรับราชการด้วย กองพันทหารพลร่มที่ 1 กรมทหารราบที่ 507 เป็นหน่วยรับผิดชอบการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศ



การเข้าเรียนส่งทางอากาศ จะต้องผ่านการคัดเลือก โดยทดสอบร่างกาย ท่าดันพื้น ลุกนั่ง และการวิ่ง 2 ไมล์ (ของเราวิ่ง 1ไมล์) โดยยึดเกณฑ์อายุคนหนุ่ม 17-21 ปี (แย่แน่55) อายุมากสุดที่ให้เรียนคือ 36 ปี ครับ โดยการเรียนจะแบ่งออกเป็น 3 สัปดาห์ ดังนี้

Week 1 - Ground Week
การฝึกภาคพื้นดิน การลงพื้นอย่างปลอดภัย การแต่งร่มอย่างถูกต้อง การใช้อุปกรณ์กระโดดร่ม เวลาส่วนใหญ่ก็จะเป็นการฝึกการลงพื้นที่ปลอดภัยนั้นเอง โดดไกล บีบเข่า เท้าชิด ปากอ้า ตาลืม ศอกกระชับ มือจับร่มช่วย
ในสัปดาห์นี้ก็จะมีฝึกกระโดดจากหอโดด 34 ฟุต คล้ายๆ กับของโรงเรียนสงครามพิเศษ เช่นกัน



Week 2 - Tower Week
กระโดดจากหอโดดสูง 250 ฟุต เป็นการเตรียมพร้อมก่อนกระโดดจากอากาศยานจริง


Week 3 - Jump Week
กระโดดจริงจากเครื่องบินแบบ C-130 หรือ C-17 ความสูงก็ประมาณ 1200 ฟุต โดยต้องกระโดดอย่างน้อย 5 ครั้ง จึงจะสำเร็จการศึกษา (ต้องโดดกลางคืนด้วย 1 ครั้ง)


ข้อมูลทางธุรการ

ระหว่างเข้ารับการศึกษาจะมีการพักช่วงเย็นและวันหยุดสุดสัปดาห์ สามารถเก็บมือถือไว้ได้ แต่อนุญาตให้โทรเฉพาะในเวลาหลังจากการฝึกเท่านั้น การเยี่ยมของญาติสามารถเยี่ยมได้ ในกลางคืนและวันหยุด ตามตารางเวลาการเยี่ยม สำหรับช่วงที่ไม่การฝึก สามารถเดินทางในระยะ 50 ไมล์ของค่ายได้ โดยไม่ต้องมีใบลา แต่จะต้องกลับมาในสภาพพร้อมรับการฝึกในเช้าวันจันทร์

US Army Airborne School

The Basic Airborne Course, Ft. Benning, Georgia

At Army Jump School, you will learn how to jump out of an aircraft, navigate by using your parachute, land safely on the ground and move on to a combat objective. Fort Benning, Georgia is where Army paratroopers are trained and the coveted airborne wings are earned. The three-week school is usually accomplished after a soldier completes Basic Combat Training (BCT) and Advanced Individual Training (AIT). All graduates of Ranger School and the Special Forces Qualification Course also attend Airborne School during their training pipelines. The 1st Battalion (Airborne), 507th Infantry Regiment is responsible for running the U.S. Army Airborne School. The Airborne instructors are also known as the "Black Hats" and are from the U.S. Army, Marine Corps, Navy and Air Force. Students are trained in the use of static line deployed T-10C parachutes.

Attending Airborne School requires passing the selection process. To qualify, a soldier must pass the Army Physical Fitness Test (APFT), earning a minimum score of 60 points per event (push ups, sit ups, and 2 mile run) based on the 17-21 year old APFT standards. The maximum age for attending the Airborne School is 36 years of age.

Airborne School is broken into three one-week phases: Ground Week, Tower Week, and Jump Week. At Airborne school, soldiers will train along side Regular Army officers and enlisted men and women, as well as members of the other armed services, and jump from Air Force aircraft including the C-130 Hercules and C-17 Globemaster.
Credit: http://www.baseops.net/basictraining/airborne.html
ที่มา http://www.baseops.net/basictraining/airborne.html

Wednesday, May 2, 2012

สอบนายทหารภายใน นสศ.

ขอเสียงคนรบพิเศษ จ.ลพบุรีด้วยครับ
ไม่ทราบว่าใครที่อ่านบล้อกนี้ จะมีจากรบพิเศษ นสศ.ลพบุรี หรือเปล่าครั บถ้ามีก็คงทราบข่าวดี สำหรับโควต้าภายใน นสศ. เลื่อนฐานะนายทหารสัญญาบัตร ของกองพันจู่โจม ตามนโยบายเสริมสร้างกำลังของกองทัพ คุณสมบัติคือ เป็นจ่าสิบเอก ที่อายุไม่เกิน 45 ปี ทดสอบร่างกาย เกณฑ์ 90 % จิบๆ ใช่ไหม และมีวิ่ง 10 กก.ด้วย ก็เอาใจช่วยครับ ใครที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ก็รีบยื่นสมัครด่วนครับ ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ฝ่ายกำลังพลของหน่วยด่วนครับ จำนวนที่เปิดอัตราทราบว่าประมาณ 19 ตำแหน่งครับ ขอให้โชคดี สอบได้ทุกคนครับ

Tuesday, May 1, 2012

แนวทางการเลือกรับราชการในหน่วยรบพิเศษ

สวัสดีครับ สำหรับผู้เยี่ยมชมบล็อกแห่งนี้ทุกท่าน หลังจากห่างไปพักหนึ่งด้วยภารกิจ หน้าที่การงานและส่วนตัว ที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ทำให้ไม่ค่อยได้เข้ามาขีดๆ เขียน บทความ เรื่องราว ที่มีสาระบ้าง เรื่อยๆ บ้าง ตามประสา มาพอสมควร ตอนนี้ ก็พอได้หายใจหายคอบ้าง ก็เลยขออัพบทความในบล็อกนี้กันสักหน่อย
ครับ ว่าตามที่ขึ้นชื่อเรื่องไว้เลยครับ ก่อนอื่นผมเองก็ต้องขอแนะนำตัวก่อนว่าปัจจุบันนี้ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไร ถึงมามีความรู้เกี่ยวกับหน่วยรบพิเศษของไทย
ขอแนะนำตัวก่อนเลยครับ พันเอก  สุฑีฆา บุญวัง ชื่อเล่น หน่อย เป็นนักเรียนนายสิบเหล่าทหารสื่อสารรุ่นที่ 25/2535 กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร หลังจบการศึกษา ก็ตัดสินใจเลือกรับราชการในตำแหน่ง พนักงานวิทยุถ่ายทอด กองพันทหารสื่อสารที่ 35 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2536

หลังจากนั้นก็เข้าเรียนหลักสูตรบังคับของหน่วยรบพิเศษ คือ หลักสูตรส่งทางอากาศของ โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ รุ่น 207 ในปี 2536


 และจบหลักสูตรการรบแบบจู่โจม เสือคาบดาบรุ่นที่ 52 ของศูนย์การทหารราบ จว.ประจวบคีรีขันธ์ปี 2537

หลักสูตรการแทรกซึมทางอากาศเบื้องสูงทางยุทธวิธี รุ่นที่ 33 โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ ปี 2546 (หลักสูตรนี้ไม่ได้บังคับ เรียนตามสมัครใจ)



การศึกษาต่างประเทศ 
หลักสูตร ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน DLI,Texas,USA ปี 2008-2009


หลักสูตรฝ่ายอำนวยการสหประชาชาติ UN  SO ที่ BIPSOT ประเทศบังกลาเทศ ปี 2011
ราชการสนาม 
UNAMID ภารกิจรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ปี 2013-2014  ตำแหน่ง SO OPS1 (ฝสธ.ยก.เซกเตอร์เวสต์)

รายการยศและตำแหน่งที่สำคัญ 

  • นนส.ทบ.รุ่นที่ 25 เหล่าสื่อสาร อ.กระทุ่มแบน จว.สมุทรสาคร พ.ศ.2535-2536
  • สิบตรี ตำแหน่ง พนักงานวิทยุถ่ายทอด สังกัด กองพันทหารสื่อสารที่ 35 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ อ.เมือง จว.ลพบุรี พ.ศ.2536 -2542 
  • ร้อยตรี - ร้อยเอก ตำแหน่ง ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ อ.เมือง จว.ลพบุรี พ.ศ. 2542-2551
  • พันตรี ตำแหน่ง ฝ่ายเสธประจำกองข่าว หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ. 2552 -2555
  • พันโท ตำแหน่ง นายทหารการสื่อสาร หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ. 2556- 2560
  • พันเอก ตำแหน่ง หัวหน้าแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2561 - ปัจจุบัน 


เหตุผลที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกรับราชการในหน่วยรบพิเศษ ลพบุรี หลังจากจบจากโรงเรียนนายสิบทหารบก เพราะว่าต้องการเรียนหลักสูตรการกระโดดร่ม และหลักสูตรจู่โจม ซึ่งทราบมาว่า มีความเท้าทายทั้งร่างกายและจิตใจอย่างสูง ,มีระเบียบวินัย ความอดทนสูง โอกาสในการปฏิบัติราชการพิเศษต่างๆ เป็นเหตุผลหลัก สำหรับปัจจัยอื่นๆ ก็คือเงิน พดร. (เงินเพิ่มพิเศษกระโดดร่ม) จำนวน 3080 บาทต่อเดือนในตอนนั้น ปี 2536  บวกเงินเดือนสิบตรีขณะนั้นก็ประมาณ 7 พันกว่าๆ ก็ถือว่าหรูแล้วในสมัยนั้น สำหรับเด็กบ้านนอกคอกนาตาดำๆ คนหนึ่ง

จากวันนั้น ปี 2536 - 2557 ปัจจุบันก็ 21  ปีเข้าไปแล้วที่รับราชการในหน่วยรบพิเศษ ลพบุรี โดยด้านพลเรือนผมได้หาโอกาสทางการศึกษาเพิ่มเติม  โดย ได้ขออนุญาต หน่วย ทบ.ไปศึกษานอกเวลาราชการจนจบปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัญฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในปี 2540 ใช้เวลา 3ปีครึ่ง (ไวมากนะเนี่ย) จากนั้นในปี 2542 ก็สามารถสอบเลื่อนฐานะคุณวุฒิปริญญาตรี ของ ยศ.ทบ.เป็นนายทหารสัญญาบัตร โดยเป็นการก้าวกระโดด Big Steps จากสิบเอกเป็น ว่าที่ร้อยตรีทีเดียวเลย ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นนายทหารสัญญาบัตรของผม และเป็นอีกก้าวย่างที่สำคัญของผม Another Big Steps  พร้อมกับย้ายไปทำหน้าที่นายทหารสัญญาบัตร ในตำแหน่ง  ครู รร.สพศ.ศสพ. ตั้งแต่ปี 2542 - 2551 รวมประมาณ 9 ปี ต่อมาปี 2551 เข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จบปี 52 เลือกรับราชการก็กลับมาหน่วยรบพิเศษอีกครั้ง ในตำแหน่ง ฝ่ายเสนาธิการของ กองข่าว หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี - ปัจจุบัน ย่อๆ คร่าาวๆ ประมาณนี้ครับ หากใครสนใจอยากทราบมากกว่านี้ก็หลังไมค์หรือเมลมาละกันครับ ที่ suteeka@hotmail.com ครับ ยินดีตอบกลับทุกคน


ก็เลยมาคิดว่าจากความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา หากมีการเรียบเรียงและถ่ายทอดออกมาเป็นบทความหรือคำแนะนำสำหรับท่านที่สนใจและต้องการเลือกมารับราชการในหน่วยรบพิเศษแหน่งนี้ทุกคนได้ทราบก็น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยตามสมควรครับ
มาเข้าเนื้อหากันแบบเน้นๆ ดีกว่า

รบพิเศษความฝันของเด็กหนุ่มหลายคน

  • ใครสามารถเลือกมารับราชการที่หน่วยรบพิเศษได้บ้าง ?
  • คนที่มีสิทธิ ส่วนใหญ่ก็เป็นนักเรียนทหารของเหล่าทัพ เช่น นักเรียนนายสิบ นักเรียนนายร้อย ที่จะจบการศึกษา ก็จะต้องเลือกตำแหน่งในการรับราชการ ซึ่งจะมีบัญชีความต้องการที่หน่วยรบพิเศษ เสนอความต้องการไปที่ ทบ.ในแต่ละปี เพื่อมาทดแทนกำลังพลที่ลาออก หรือครบอายุราชการ หรือสูญเสียจากการปฏิบัติงาน ซึ่งจำนวนที่ต้องการ ก็มากน้อยแตกต่างกันออกไป ปกติแล้ว หน่วยเสนอขอไปจำนวน 50 คนต่อปี แต่อาจจะได้รับอนุมัติประมาณ 20-30 คนต่อปีโดยประมาณ ดังนั้นหากใครต้องการเลือกมารับราชการในหน่วยรบพิเศษ ก็จะต้องทำคะแนนในการเรียนในอันดับต้นๆ เพื่อสิทธิในการเลือกตำแหน่งนั้นเอง
  • การเตรียมพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ?
  • การเป็นทหารรบพิเศษ ความรับผิดชอบหรือลักษณะงานอาจจะแตกต่างจากหน่วยรบตามแบบ แต่พื้นฐานร่างกาย จิตใจและวินัยของทหาร ไม่แตกต่างกัน ทุกหน่วยต้องการคนที่มีร่างกายแข็งแรง สมส่วน ระเบียบวินัย ความอดทนสูง เชื่อฟั่งคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เหมือนกัน แต่เนื่องจาก บทบาทและภารกิจของหน่วยรบพิเศษ ซึ่งบางครั้งจะต้องทำงานลับในพื้นที่ไม่เปิดเผย เป็นเวลาที่นานๆ โดยไม่มีการส่งกำลังหรือสนับสนุนจากภายนอก จึึงต้องมีการฝึก การจัดเป็นพิเศษ รวมทั้งการฝึกฝนร่างกาย จิตใจ เป็นพิเศษเพิ่มขึ้นมาด้วย ทั้งนี้กองทัพก็จะตอบแทนการทำงานที่ยากลำบากเหล่านี้ด้วยเงินพิเศษการกระโดดร่ม (เงินค่าปีก) ปัจจุบัน นายทหารอยู่ที่ 7100 บาท/เดือน และนายสิบ 5300 บาท/เดือน เงินพิเศษจำนวนนี้ หากจะว่าไปแล้ว มันก็คงขึ้นอยู่กับบุคคลที่แตกต่างกันมากกว่า ถ้าจะบอกว่ามากก็มาก หรือน้อยก็น้อย สำหรับคนที่มาจากทางบ้านที่มีฐานะหรือการเงินที่ดีเงินจำนวนนี้อาจจะไม่ใช่แรงจูงใจของการยอมเหนื่อย อททนต่อภารกิจการฝึกที่หนัก ทั้งร่างกายและจิตใจก็ได้ ประมาณว่าอุดมการณ์รบพิเศษ ประมาณนั้น เรียกได้ว่า ขอเป็นนักรบพิเศษ เบเร่ต์แดง ก็เพียงพอ (ยกตัวอย่างครับ)

  • หลักสูตรบังคับของหน่วยรบพิเศษ

    ก็มี 2 หลักสูตรครับคือ Basic Airborne หรือกระโดดร่มครับ เรียนประมาณ 5 weeks ใช้การวิ่งเป็นหลัก แต่เทสต์เข้ามี 5 ท่า รวมว่ายน้ำ 100 เมตร และดึงข้อ 20 ครั้งคะแนนเต็มครับ ตอนเรียนต้อง ถอดยศเรียน มีภาควิชาการ มีการฝึกภาคพื้นดินหรือ Ground training ตามสถานีต่างๆ เช่น การลงพื้น 2 ฟุต การบังคับร่ม การประกอบร่ม สถานีหอโดด 34 ฟุต เป็นต้น อาทิตย์สุดท้ายกระโดดจากอากาศยานจริง ที่ สนามโดดร่มบ้านท่าเดือ โดดอย่างน้อย 5 ครั้ง และ 1 ครั้งต้องประกอบเป้สนามและอาวุธปืน อย่าลืมพกเงินใบ 20 -50 บาทไว้ค่าเก็บร่มให้เด็กด้วยนะครับ จบแล้ว นายทหารจะได้ค่าปีก 7100 นายสิบก็ 5300 ก็เยอะครับ ผ่อนรถได้555 หรือส่งเด็กเรียนหนังสือได้บ้าง 555 อีกหลักสูตรคือ Ranger หรือเสือคาบดาบ หลักสูตรนี้ใช้กำลังกายและกำลังใจเป็นหลัก เป็นหลักสูตรที่เน้นการนำหน่วยทหารขนาดเล็ก ทำการรบทางยุทธวิธี รู้เรื่องการลาดตระเวน หาข่าว โจมตี การหาพิกัด และอื่นๆ หลักสูตรนี้ก็ประมาณ 10 weeks ครับ ปกติจะมีวิชาการด้วย เน้นตั้งใจเรียนวิชาแผนที่เข็มทิศ โดยเฉพาะกลางคืน ไม่นั้นเข้าภาคป่าจริง หลงระเบิดระเบ้อ ช่วยไม่ได้น่าจะว่าไม่บอก การเรียน ranger จะแบ่งออกเป็นภาคๆ หรือเฟสๆ ไป เริ่มจากภาคแรก คือภาคที่ตั้ง จะเรียนวิชาการ สลับการปฏิบัติ มีการทดสอบวิ่งตัวเปล่า การวิ่งพร้อมเป้สนาม อาวุูปืน ระยะก็เริ่มจาก 3 ไมล์ 5 ไมล์ 7 ไมล์ 10 ไมล์ ไปเรื่อยๆ ใครไม่ผ่านให้โอกาสรีเทสต์ 1 ครั้ง ใครไม่ผ่านก็แพคของกลับบ้านมาเรียนใหม่ 555 จากนั้นเข้าภาคป่าเล็ก ป่าภูเขา ช่วงนี้เดินลาดตระเวนทั้งกลางวันและกลางคืน ปกติจะกลางคืนเป็นหลัก ป่าภูเขาก็พื้นที่แถวๆ ป่าแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี จากนั้นต่อด้วยทะเลที่ลุ่ม อาจจะเป็นแถวเกาะสิงโต หรือสวนสนปะติพันธ์ก็ได้ พูดถึงหลักสูตรจู่โจม ผมเรียนรุ่น 113 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายของศูนย์สงครามพิเศษในปี 2536 แล้วไม่สำเร็จการศึกษา เนื่องจากผมป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ และติดเชื้อ แพทย์ลงความเห็นว่าไม่สามารถฝึกต่อไปได้ เชื่อไหมครับว่าตอนนั้นเข้าภาคสุดท้ายของหลักสูตรแล้วครับ คือจบภาคป่าภูเขาและกำลังจะเดินทางไปฝึกภาคทะเลที่ลุ่มซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของหลักสูตร นับเวลาก็ประมาณสัก 14 วันได้ครับ ก็จะสำเร็จการศึกษา เป็นความผิดหวังและเศร้าใจอย่างแรงครั้งหนึ่งในชีวิตของผม กว่าจะผ่านมันมาได้ก็ใช้เวลาสักพักใหญ่เลยครับ จนปีต่อมาหลังจากหายป่วย ผมกลับมาฟิตร่างกายและไปเทสต์จู่โจมอีกครั้งของ โรงเรียนทหารราบ เป็นจู่โจมรุ่นที่ 52 ในปี 2537 ซึ่งคราวนี้ ผมระมัดระวังตัวเอง เป็นอย่างดี ไม่ใช้ร่างกายหนักเกินความจำเป็น เพราะมีบทเรียนมาแล้วจากครั้งแรก ทำให้สำเร็จไปด้วยดี 


  • รปจ.ของหน่วยรบพิเศษ

    คล้ายหน่วยรบตามแบบทั่วไป แต่เนื่องจากมีคำว่าพิเศษ ก็เลยต้องเพิ่มอะไรที่มันมากพิเศษเข้ามาบ้าง ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของหน่วยครับ  เอาพอคร่าวๆ ก่อน ว่า ก็มีการฝึกศึกษาตามแนวทางของนักรบพิเศษอะไรบ้าง เช่น การระเบิดทำลาย การหาข่าวรูปแบบต่างๆ การซุ่มยิง เป็นต้น
  • การกระโดดร่มตามวาระ อย่างน้อยประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี ขึ้นอยู่กับความพร้อมของอากาศยานและการสนับสนุนงบประมาณในการฝึกทบทวนประจำปี 
  • การฝึกเดินเร่งรีบประกอบเครื่องสนาม ระยะทาง 8-10 กิโลเมตร /เดือน 
  • การทดสอบร่างกายเกณฑ์ผ่าน 70 % จำนวน 4 ครั้ง/ปี