Tuesday, December 20, 2011

ข้อสอบ ยศ.ทบ. ความรู้ทั่วไป

ข้อสอบ ยศ.ทบ. ความรู้ทั่วไป
ที่มา http://thainet12.blogspot.com/2011/05/blog-post_21.html
ความรู้รอบตัว

1. ไทยทำสงครามกับพม่าครั้งแรกสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พม่าตีเมืองเชียงกราน)

2. การตีกลองร้องฎีกาเริ่มมีขึ้น สมัยพ่อขันรามฯ

3. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พลเมืองมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ 25 ไร่

4. ขุนหลวงขี้เลื้อนมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือ พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ กษัตริย์องสุดท้ายของอยุธยา

5. พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชระหว่างครองราช คือ พระยาลิไท

6. พ่อขุนบางกลางหาว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กษัตริย์องค์แรกของสุโขทัยต้นราชวงศ์พระร่วง

7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สร้างเมืองอยุธยา

8. ไทยเสียกรุงครั้งแรกสมัย สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ.2112

9. พลายภูเขาทอง คือ ช้างของสมเด็จพระนเรศวร ที่ทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราช ต่อมาได้พระราชทานชื่อว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ

10. สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าตากฯ

11. จตุสดมม์ มีขึ้นครั้งแรกสมัย พระเจ้าอู่ทอง

12. ระบบศักดินา เริ่มมีขึ้นสมัย พระบรมไตรโลกนาถ

13. ไพร่หลวง คือ ทหารที่ประจำการครบ 2 ปีแล้วปลดออกเป็นไพร่หลวง มีอายุ 21-60 ปี

14. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย สมัยพระธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)

15. วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นวัดหลวงที่ไม่มีเจดีย์

16. พระกรรมวาจาจารย์ ของ ร.9 ขณะผนวช คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

17. ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้นำการปฏิวัติจีนจากระบอบกษัตริย์มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ

18. คลองสุเอช เป็นคลองเดินเรือสินค้าระหว่างยุโรป (ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) – เอเชีย (ทะเลแดง) ปัจจุบันเป็นของอียิปต์

19. ไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์ เมื่อ พ.ศ.2468 (ร.6)

20. ประธานสภาฯ คนแรก คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

21. นายกฯ คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

22. วังหน้าสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (หยุดทำการทุกวันจันทร์)

23. รัชชูปการ คือ เงินที่เรียกเก็บจากชาวไทยแทนการรับราชการทหาร ยกเลิกสมัย ร.7

24. นกวายุพักตร์ เป็นตราประจำกระทรวงการคลัง

25. กรมพระราชวังบวรในสมัย ร.5 คือ กรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ

26. อาน คือ ที่นั่งบนหลังม้า

27. สัปคับ คือ ที่นั่งบนหลังช้าง

28. วันที่ 6 เมษายน ได้รับการสถาปนาเป็นวันจักรีสมัย ร.6

29. กองทัพสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นครั้งแรกกรณี สงครามเกาหลี (เส้นขนานที่ 38)

30. พื้นที่ 1 เอเคอร์ ประมาณ 2.5 ไร่

31. พลตรีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เคยเป็นประธานสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติคนที่ 11

32. ระยะทาง 1 ไมล์ ประมาณ 40 เส้น หรือ 1.6 กม.

33. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามอินโดจีน พ.ศ.2484

34. 4 ทหารเสือของไทยสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระศรีสิทธิสงคราม พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเณย์

35. เครื่องถม ทำด้วย เงิน ทอง ตะกั่ว และน้ำ

36. ผู้บังคับการทหารไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ พลตรีพระยาพิชัยชาญฤทธิ์

37. วงเวียน 22 กรกฎา สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามโลกครั้งที่ 1

38. สมเด็จเจ้าพระยาองค์สุดท้าย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

39. ผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

40. พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียน สร้างสมัย ร.5 แล้วเสร็จ สมัย ร.6

41. ส.ส. เริ่มใชเมื่อ พ.ศ.2477 โดย พระยาศรยุทธเสนี เป็นผู้เสนอต่อสภา

42. ช้างสีดอ คือ ช้างพลายไม่มีงา

43. กฎหมายตรา 3 ดวง คือ คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว

44. ร.7 เสด็จสวรรคต เมื่อ 30 พ.ค.2484 ณ ประเทศอังกฤษ

45. นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสถึงแก่กรรมที่ ฝรั่งเศส

46. ผู้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติ คือ ขุนวิจตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)

47. ภายหลังเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พ.ศ.2482 ผู้แต่งเนื้อรองเพลงชาติ คือ หลวงสารานุประพันธ์ แต่งทำนองโดย พระเจนดุริยางค์

48. พระเจดีย์มียอดเดียว พระปรางค์มีหลายยอด

49. จาตุรงคบาท หมายถึง ทหารผู้มีหน้าที่รักษาเท้าช้างทั้ง 4

50. เพลงสรรเสริญฯ แต่งเนื้อร้องโดย ร.6 แต่งทำนองโดย ยุตเซน

51. สิทธิพิเศษอีลีท คือ สิทธิพิเศษในการท่องเที่ยวของไทยตลอดชีวิต โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,000,000 บาท

52. พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศ คือ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

53. เครื่องแต่งกายประจำชาติไทย ชาย เรียก ชุดพระราชทาน หญิง เรียก ชุดพระราชนิยม

54. แม่ทัพไทยที่ยกไปช่วยอังกฤษรบกับพม่าในสมัย ร.3 คือ เจ้าพระยามโยธาธอเรีย

55. สุโขทัยเป็นราชธานีอยู่ 200 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์องค์แรก พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย

56. กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์องค์แรก สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ เป็นองค์สุดท้าย

57. สรีดพภงส์ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งในสมัยพ่อขุนรามฯ

58. สมเด็จพระนเรศวรฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธ์กษัตรี ไปอยู่พม่าตั้งแต่พระชนม์มายุ 9-15 พรรษา

59. สมเด็จพระนารายณ์ฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2175 เป็นพระราชโอรสใน พระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวี เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ปราสาททอง

60. สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้าหลุยที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีโดยมี เชวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นเอกอัคราชทูต

61. พระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นเอกอัครราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าหลุยที่ 14 เป็นการส่งคณะราชทูตออกไปครั้งแรก

62. สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสร้างราชธานีแห่งที่ 2 ขึ้นที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ใกล้ทะเลเกินไป ง่ายต่อการรุกรานจากเรือต่างชาติ

63. พระเจ้าตากฯ เดิมชื่อ สิน บิดาชื่อ นายไหฮวง มารดาชื่อ นางนกยูง

64. ร.1 มีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง เป็นบุตรของ พระอักษรสุนทร (ทองดี) กับท่านหยก เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 6 เม.ย.2325

65. ร.5 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชเมื่อพระชนม์ 15 พรรษา พ.ศ.2411

66. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร.5

67. ร.9 มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสูติเมื่อ 5 ธ.ค.2470 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลเดชวิกรม พระบรมราชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 5 พ.ค.2493

68. สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทรงเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

69. แม่ทัพพม่าที่ตีค่ายบางระจันแตก คือ สุกี้พระนายกอง

70. สุนทรภู่ เกิดในสมัย ร.1 ที่ริมคลองบางกอกน้อย ศึกษาครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาไปศึกษาที่วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) ได้รับยกย่องว่าเป็นกวีเอกจาก UNESCO วรรณกรรมที่แต่งเป็นเรื่องแรก คือ โคบุตร

71. ท้าวเทพกษัตรี มีชื่อเดิมว่า “จัน” เป็นภรรยาเจ้าเมืองถลาง ท้าวศรีสุนทร มีชื่อเดิมว่า “มุก” (ภูเก็ต สงครามเก้าทัพ ร.1)

72. ท้าวสุรนารี มีชื่อเดิมว่า “โม” (ศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ร.3)

73. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นพระราชบิดาแห่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ทรงได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นกวีเอกของโลก

74. พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คือ ร.4

75. พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย คือ ร.9

76. พระบิดาแห่งการพาณิชย์ไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

77. พระบิดาแห่งกฎหมายไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

78. พระบิดาแห่งทหารเรือไทย คือ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชมพรเขตอุดมศักดิ์

79. พระบิดาแห่งการรถไฟไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

80. กษัตริย์ศิลปิน หมายถึง ร.2

81. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ พ.ศ.2534

82. พระมหาอุปราชองค์แรกและองค์เดียวในราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาใน ร.4

83. เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย

- พานพระศรี (ขันหมาก)

- พระมณฑปรัตนกัณฑ์ (พาน ฝา จอกใส่น้ำ)

- พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)

- พระสุพรรณราช (กระโถนใหญ่)

84. วัดประจำรัชกาลที่ 1 คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

85. วัดประจำรัชกาลที่ 2 คือ วัดอรุณราชวราราม

86. วัดประจำรัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม

87. วัดประจำรัชกาลที่ 4 คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

88. วัดประจำรัชกาลที่ 5 คือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม

89. วัดประจำรัชกาลที่ 6 คือ วัดบวรนิเวศวิหาร

90. วัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ วัดราชบพตรสถิตมหาสีมาราม

91. วัดประจำรัชกาลที่ 8 คือ วัดสุทัศน์เทพวราราม

92. วัดประจำรัชกาลที่ 9 คือ วัดญาณสังข์วราราม

93. ประตูในพระบรมมหาราชวัง มีทั้งหมด 13 ประตู 1. รัตนพิศาล 2. พิมานเทเวศร์ 3. วิเศษไชยศรี 4. มณีนพรัตน์ 5. สวัสดิโสภา 6. เทวาภิทักษ์ 7. ศักดิ์ไชยสิทธิ์ 8. วิจิตรบรรจง 9. อนงคารักษ์ 10. พิทักษ์บวร 11. สุนทรทิศา 12. เทวาภิรมย์ 13. อุดมสุดารักษ์

94. อาหารที่ให้พระโคกินในพิธีจรดพระนังคัลฯ มี 7 อย่าง คือ 1. ข้าวเปลือก 2. ข้าวโพด 3. เหล้า 4. งา 5. น้ำ 6. ถั่วเขียว 7. หญ้า

95. พิธีรัชฎาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 25 ปี พ.ศ.2514

96. พิธีรัชมังคลาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 40 ปี พ.ศ.2529

97. พิธีกาญจนาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 50 ปี พ.ศ.2539

98. ช่างสิบหมู่ คือ 1. หล่อ 2. สลัก 3. กลึง 4. เขียน 5. ปั้น 6. บุ 7. รัก 8. หุ่น 9. แกะสลัก 10. ปูน

99. ไทยประกาศใช้รัฐนิยมแห่งชาติเป็นครั้งแรก โดยการ แต่งกายแบบสากลนิยม การเคารพธงชาติ เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เม.ย. เป็น 1 ม.ค. ยกเลิกบรรดาศักดิ์

100. นายทวี บุนยเกตุ เป็นนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด (17 วัน) เป็นการดำรงตำแหน่งเพื่อรอการเดินทางกลับมาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หน.เสรีไทยในต่างประเทศ

101. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้จัดตั้ง เสรีไทย และพรรคประชาธิปัตย์

102. นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ก่อตั้ง ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง ลาออกเพราะถูกโจมตีในเรื่องการปิดบังสาเหตุการสวรรคตของ ร.8

103. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกกฎหมายเลิกเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามนักเลง ห้ามค้าประเวณี วางแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 1 (2504-2509)

104. พรรคก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองแรกของไทย ก่อตั้งโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

105. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ คนที่ 23 เป็นผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เป็นนายกฯ ลำดับที่ 53

106. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทรูปสัตว์ มีวัตถุประสงค์การต่อเพื่อถวาย ร.9 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

107. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาด 48.3 ซม.x 66 ซม.

108. พระศรีศากยมุนี (พระโต) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะ ประดิษฐานอยู่วัดสุทัศน์เทพวราราม (ลิไท)

109. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมางวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่

110. พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่วัดบวรนิเวศน์

111. พระสุโขทัยไตรมิตร หรือหลวงพ่อวัดสามจีน หรือพระทองวัดไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่วัดไตรมิตรวิทนาราม สร้างสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุด

112. ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา พระราชนิพนธ์ ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)

- กามภูมิ หมายถึง ดินแดนแห่งอบายภูมิ และสุคติภูมิ 11 ชัน

- รูปภูมิ หมายถึง ดินแดนของสวรรค์ชั้นพรหม 16 ชั้น

- อรูปภูมิ หมายถึง ดินแดนแห่งพรหม เป็นนามธรรม 4 ชั้น

113. จังกอบ คือ ภาษีที่เก็บค่าผ่านด่านจากยานพาหนะบรรทุกสินค้า

114. อากร คือ ภาษีที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหากินได้

115. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่เรียกเก็บเพื่อทดแทนการเข้ามาทำงานโยธาให้ทางราชการ

116. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากการให้บริการต่าง ๆ ของทางราชการ

117. ความยาวของประเทศไทยวัดจากจุดเหนือสุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถึงจุดใต้สุดที่ อ.เบตง จ.ยะลา มีความยาวประมาณ 1,620 กม.

118. ความกว้างของประเทศไทยวัดจากจุดตะวนออกที่ อ.สิรินธร จ.อุบลฯ ถึงด้านตะวันตกที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี กว้างประมาณ 750 กม.

119. จ.สมุทรสงคราม มีพื้นที่น้อยที่สุด

120. จ.นครราชสีมา มีพื้นที่มากที่สุด และมีวัดมากที่สุด

121. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระบุรี

122. บึงบระเพ็ด เป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด จ.นครสวรรค์

123. สามเหลี่ยมทองคำ เป็นเขตติดต่อ ไทย พม่า ลาว

124. บ่อพระแสง เป็นบ่อเหล็กน้ำพี้ใช้สำหรับตีพระแสงดาบให้พระมหากษัตริย์ จ.อุตรดิตถ์

125. หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ปั้นโดยช่างล้านนา ประดิษฐานอยู่วัดโสธรวรารามวรวิหาร

126. จ.สระแก้ว แยกตัวจาก จ.ปราจีนบุรี

127. จ.หนองบัวลำภู แยกตัวจาก จ.อุดรธานี

128. จ.อำนาจเจริญ แยกตัวจาก จ.อุบลฯ

129. เทือกเขาถนนธงชัย กั้นระหว่างไทย - พม่า จ.แม่ฮ่องสอน – จ.ตาก

130. เทือกเขาแดนลาว จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่

131. เทือกเขาตะนาวศรี กั้นระหว่าง ไทย – พม่า จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบฯ จ.ชุมพร

132. เทือกเขาหลวงพระบาง กั้นระหว่าง ไทย – ลาว จ.เชียงราย จ.น่าน จ.อุตรดิตถ์ จ.พิษณุโลก

133. เทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่าง ไทย – กัมพูชา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสระเกษ จ.อุบลฯ

134. เทือกเขาสันกาลาคีรี กั้นระหว่าง ไทย – มาเลเซีย จ.สตูล จ.สงขลา จ.ยะลา จ.นราธิวาส

135. เทือกเขาผีปันน้ำ อยู่ภาคเหนือเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน กก และอิง

136. แม่น้ำชี ยาวที่สุด จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร จ.อุบลฯ ไหลลงสู่แม่น้ำมูล

137. แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรปราการ

138. แม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำสุพรรณ แม่น้ำมะขามเฒ่า แม่น้ำนครชัยศรี) ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรสาคร

139. แม่น้ำแม่กลอง (แม่น้ำแควใหญ่ หรือศรีสวัสดิ์ แม่น้ำราชบุรี) ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรสงคราม

140. แม่น้ำโกลก อยู่ จ.นราธิวาส กั้นพรมแดนไทย – มาเลเซีย

141. แม่น้ำรวก กั้นพรมแดนไทย – พม่า บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ

142. สัตว์ป่าสงวนมี 15 ชนิด คือ 1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 2. แรด 3. กระสู้ 4. กูปรี 5. ควายป่า 6. ละอง ละมั่ง 7. สมัน 8. เลียงผา 9. กวางผา 10. นกแต้วแล้วท้องดำ 11. นกกระเรียน 12. แมวลายหินอ่อน 13. สมเสร็จ 14. เก้งหม้อ 15. พะยูน

143. อุทยานแห่งชาติ ต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 10 ตร.กม.ขึ้นไป

144. วนอุทยาน ต้องมีพื้นที่ 500 – 80,000 ไร่

145. เขื่อนภูมิพล สร้างกั้นแม่น้ำปิงที่ อ.สามเงา จ.ตาก เพื่อผลิตไฟฟ้าฟ้า และการเกษตร

146. เขื่อนสิริกิต์ สร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เป็นเขื่อนดินแห่งแรก

147. เขื่อนศรีนครินทร์ สร้างกั้นแม่น้ำแควใหญ่ที่ จ.กาญจนบุรี เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุด

148. คลองปานามา อยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก – มหาสมุทรแอตแลนติก

149. จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ท เป็นผู้นำทหารของฝรั่งเศส

150. อับราฮัม ลินคอล์น ประกาศเลิกทาสในอเมริกา ถูกลอบสังหาร

151. คาร์ล มาร์กซ์ บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์

152. หยวน ซี ไข ประนาธิบดีคนแรกของจีน

153. เหมา เจ๋อ ตุง ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองจีนจากระบอบสาธารณรัฐ มาเป็นระบบคอมมิวนิสต์

154. ออง ซาน ซู จี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ค.ศ.1991

155. เลโอนาโด ดาวินชี เป็นจิตกรชาวอิตาลี วาดภาพโมนาลิซา และอาหารมื้อสุดท้าย

156. วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษ ประพันธ์เรื่อง โรมิโอ – จูเลียต

157. จอร์จ ดับเบิลยู บุช จูเนียร์ สังกัดพรรครีพับลิกัน มาจากรัฐเท็กซัส

158. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคโบราณ 7 สิ่ง คือ 1. มหาปีรามิดแห่งอียิปต์ 2. สวนลอยแห่งบาบิโลน 3. มหาวิหารไดอานา 4. สุสานมุสโซเลียมแห่งฮาลิคานาสซัส 5. เทวรูปโคโลสซูสแห่งเกาะโรดส์ 6. ประภาคารฟาโรส์แห่งอเล็กซานเดรีย 7. เทวรูปเทพเจ้าซีอุส (จูปีเตอร์) แห่งโอลิมเปีย

159. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคกลาง 7 สิ่ง คือ 1. กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ 2. กำแพงเมืองจีน 3. สนามกีฬาแห่งกรุงโรม 4. หอเอนเมืองปิซา 5. สุเหร่าโซเฟีย 6. เจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง 7. สุสานอเล็กซานเดรีย

160. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน 7 สิ่ง คือ 1. ปราสาทหินนครวัด 2. ทัชมาฮาล 3. พระราชวังแวร์ซายส์ 4. เขื่อนฮูเวอร์ 5. ตึกเอ็มไพร์สเตท 6. สะพานโกลเด้นเกท 7. เรือโดยสารควีนแมรี

161. ระบบสุริยะ 1. ดาวพุธ (Mercury) เล็กที่สุด 2. ดาวศุกร์ (Venus) ดาวประกายพรึก ดาวรุ่งตอนเช้า ดาวประจำเมืองตอนหัวค่ำ 3. โลก (Earth) 4. ดาวอังคาร (Mars) 5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ใหญ่ที่สุด 6. ดาวเสาร์ (Saturn) 7. ดาวยูเรนัส หรือดาวมฤตยู (Uranus) 8. ดาวเนปจูน (Neptune) 9. ดาวพลูโต (Pluto)

162. บรรยากาศแบ่งเป็นชั้นต่าง ๆ 5 ชั้น

1. โทรโพสเฟียร์ 10 กม. มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไอน้ำ เมฆ หมอก ฝน พายุ

2. สตราโตสเฟียร์ 25 กม. มีโอโซนดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเลต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

3. เมโซสเฟียร์ 45 กม. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

4. ไอโอโนสเฟียร์ 520 กม. ใช้สำหรับการสะท้อนของคลื่นวิทยุ

5. เอ็กซ์โซสเฟียร์ 600 – 1,000 กม. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

163. หินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของลาวา ได้แก่ แกรนิต บะซอลต์ ออบซิเดียน สคอเรีย

164. หินตะกอน หรือหินชั้น เกิดจากการทับถมของตะกอน ได้แก่ หินดินดาน หินทราย หินปูน ถ่านหิน ศิลาแลง

165. หินแปร เกิดจากหินอัคนี และหินตะกอนที่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะ ได้แก่ หินอ่อน หินชนวน หินควอร์ตไซต์ หินไนส์

166. แร่โลหะ หมายถึง แร่ที่ต้องนำมาถลุงก่อนนำไปใช้ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก วุลแฟรม แมงกานีส พลวง ตะกั่ว สังกะสี

167. แร่อโลหะ หมายถึง แร่ที่ไม่ต้องนำไปถลุงก่อนใช้ประโยชน์ ได้แก่ ยิปซัม เกลือแกง รัตนชาติ ฟลูออไรด์

168. แร่เชื้อเพลิง ได้แก่ ถ่านหิน ปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติ

169. พายุไซโคลน หมุนทวนเข็มนาฬิกา

170. ดีเปรสชั่น คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 60 กม./ชม.

171. พายุโซนร้อน คือ คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 61 - 119 กม./ชม.

172. ไต้ฝุ่น คือ คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 120 กม./ชม. ขึ้นไป ถ้าเกิดในเขตร้อนเรียก เฮอริเคน

173. พายุแอนตี้ไซโคลน หมุนตามเข็มนาฬิกา

174. องค์การสหประชาชาติ (UN United Nation) ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของประธานาธิบดีสหรัฐ คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ และ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นิวยอร์ก USA. มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ

1. ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี

2. เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก

3. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

175. คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส จีน และมีสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี

176. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ UNICEF (United Nation Children ‘s Fun) ก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้า

177. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO (United Nation Educational Scientific and Cultural Organization)

178. ธนาคารโลก World Bank สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. USA.

179. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF (International Monetary Fund)

180. องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ NATO (North Atlantic Treaty Organization) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม ก่อตั้งโดย เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล นายกฯ อังกฤษ มีสมาชิก 15 ประเทศ ตั้งเพื่อความมั่นคงทางทหาร

181. องค์การของกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมันเป็นสินค้าออก OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย มีสมาชิก 13 ประเทศ

182. สหภาพยุโรป EU (European Union) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลุ่มประชาคมยุโรป

183. สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN (The Association of Southeast Asian Nations) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา อินโดนิเซีย ร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไม่รวมมือทางทหาร

184. G7 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ประเทศ อังกฤษ สหรัฐ เยอรมัน แคนนาดา อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น

185. องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเซียและแปซิฟิก APEC (Asia and Pacific Economic Cooperation)

186. การแจ้งเกิด แจ้งย้ายเข้า – ออก ต้องแจ้งภายใน 15 วัน

187. แจ้งตาย ภายใน 24 ชม.

188. การทำบัตรประชาชน ผู้มีสัญชาติไทย อายุ 15 – 70 ปีบริบูรณ์

189. ชายไทยเมื่ออายุ 18 ปีบริบูรณ์ ต้องแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน

190. ชายไทยเมื่ออายุ 21 ปีบริบูรณ์ ต้องรับหมายเรียกเพื่อเข้าคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการ

191. ศาลพันท้ายนรสิงห์ที่พระเจ้าเสือโปรดให้สร้างขึ้นอยู่ที่ คลองโคกขาม จ.สมุทรสาคร

192. เฟดายีน ซัดดัม เป็นภาษาอาหรับแปลว่า ผู้สละชีพเพื่อซัดดัม คือ กองกำลังกึ่งทหารอาสาสมัคร

193. เจ้าหญิงคาโรลีน ราชนิกูล โมนาโก เป็นทูตสันถวไมตรี ยูเนสโกคนล่าสุด

194. วันเอดส์โลก คือ วันที่ 1 ธันวาคม

195. จตุสดมภ์ คือการปกครองภายในราชธานีสมัยอยุธยา (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)

- เวียง หรือเมือง ดูแลท้องที่ ราษฎร รักษาความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย

- วัง ดูแลงานในราชสำนัก พระราชพิธีต่าง ๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ

- คลัง ดูแลเก็บรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน

- นา ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียง ออกสิทธิที่นา

196. กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ถูกปล้นปืน

197. กองกำลังเฉพาะกิจ 976 ไทย/อีรัก รหัส “ยุทธการช้างฟ้า” แสดงถึงมนุษยธรรมและสันติภาพ

198. เรือกลไฟลำแรกที่ต่อในไทย คือ เรือสยามอรสุมพล สร้าง พ.ศ.2398

199. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่เป็นเจ้าของเรือที่ทำด้วยเหล็กทั้งลำ คือ เรือมงคลราชปักษี

200. แม่ทัพที่ยกพลไปปราบฮ่อสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2430 สำเร็จ คือ พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี

201. วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ฝรั่งเศสส่งกำลังทางบกเข้ามาทางชายแดนไทยบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงพร้อมส่งเรือรบเข้ามาที่กรุงเทพฯ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลไทยสละสิทธิของไทยเหนือดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส คือ

1. ให้ไทยยอมมอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส

2. ให้ถอนทหารออกจากชายแดนไทยให้หมดภายใน 1 เดือน

3. ให้ลงโทษผู้กระทำผิด และเสียค่าทำขวัญแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต

4. ให้ไทยเสียค่าปรับให้ฝรั่งเศสเป็นเงินสด 1 ล้านฟรังก์

202. การเสียดินแดนให้กับอังกฤษ และฝรั่งเศส

1. เสียแคว้นสิบสองจุไท ให้ฝรั่งเศส

2. เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เป็นประเทศลาวทั้งหมด ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่เป็นอาณาจักรล้านช้างให้ฝรั่งเศส

3. เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ด้านตะวันออกของเมืองน่าน เมืองจำปาศักดิ์ เมืองมโนไพร ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี

4. เสียดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ เมืองศรีโสภณ เมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราด เกาะกง และเมืองด่านซ้าย พร้อมทั้งการได้อำนาจศาลไทย ที่จะบังคับคนในบังคับฝรั่งเศสในไย พ.ศ.2449

5. เสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส ให้อังกฤษ เพื่อให้ได้อำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับอังกฤษในไทย พ.ศ.2451

203. สงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร 2 กอง คือ กองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์

204. สงครามหาเอเชียบูรพา มีการจัดกำลังเป็นกองทัพบกสนาม ประกอบด้วย กองทัพพายัพ กองหนุนทั่วไปของกองทัพบกสนาม และหน่วยรักษาชายแดนและคมนาคม

205. ธงชัยเฉลิมพล เดิมจำแนกออกเป็น 2 ชนิด

1. ธงชัยประจำกองทัพ ได้แก่ ธงจุฑาธุชธิปไตย และธงไพชยนต์ธวัช

2. ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร

206. ธงชัยฯ มีหมุดประมาณ 32 – 35 ตัว แรกเป็นรูปขวานทอง ตัวที่สองเป็นรูปธรรมจักร ตัวที่สามเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ

207. ความหมายสำคัญของธงชัยฯ มี 3 ประการ คือ

1. ผืนธง หมายถึง ชาติ

2. พระพุทธรูป (พระยอดธง) หมายถึง ศาสนา

3. เส้นพระเจ้า หมายถึง องค์พระมหากษัตริย์

208. พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยฯ สันนิษฐานว่าได้กระทำครั้งแรกเมื่อ 20 ต.ค.2471 ในสมัย ร.7

209. ธงมหาราชใหญ่ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปครุฑสีแดงอยู่ตรงกลาง

210. ธงมหาราชน้อย ใช้แทนธงมหาราชใหญ่เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ (ตอนปลายธงมีสีขาว)

211. ธงราชินี มีลักษณะคล้ายธงมหาราชแต่ชายธงเป็นแฉกหางนกแซงแซว มีขึ้นครั้งแรกสมัย ร.5

212. ธงราชินีน้อย ใช้แทนธงราชินีเป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ (ตอนปลายธงมีสีแดง)

213. ธงเยาวราช พื้นธงมี 2 สี รอบนอกเป็นสีขาบ รอบในเป็นสีเหลืองมีรูปครุฑพ่าห์อยู่ตรงกลาง สำหรับเป็นเครื่องหมายในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีขึ้นครั้งแรกสมัย ร.5

214. ธงเยาวราชฝ่ายใน (พระวรชายา)

215. ธงราชวงศ์ฝ่ายหน้า เป็นธงสำหรับพระราชโอรส สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ หรือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ แห่งพระมหากษัตริย์

216. กฏมณเฑียรบาลมีขึ้นสำหรับการปกครองตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

217. เมื่อคราวไทยรบกับพม่าสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไทยส่งตัว พระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงคราม พร้อมช้างเผือก 4 เชือกให้กับพม่า

218. สมเด็จพระนเรศวร ทรงเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม เปลี่ยนแนวคิดจากตั้งรับมาเป็นรุก และริมเริ่มการใช้วิธีการรบนอกแบบ

219. ไทยเปลี่ยนการใช้ ร.ศ. มาใช้เป็น พ.ศ. สมัย ร.6

220. เครื่องราชกกุธภัณฑ์

1. พระมหาพิชัยมงกุฎ

2. ธารพระกร

3. วาลวิชนี

4. พระแสงขันธ์ชัยศรี

5. ฉลองพระบาทเชิงงอน

221. พระมหาเศวตฉัตร หรือ นพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นฉัตรหุ้มผ้าขาว 9 ชั้น

222. กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ทางบก

223. กระบวนพยุหยาตราชลมารค ทางน้ำ (ถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณฯ)

224. พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีศรีสัจจปาลกาล สมัย ร.4 โปรดเกล้าให้เชิญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเสวยก่อน

225. พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเมื่อ 8 เมษายน 2430 – 2433

226. กีฬากองทัพบกได้เริ่มทำการแข่งขันครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2492

227. ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรก ชื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม

228. แม่ทัพภาคที่ 1 คนแรก ชื่อ พลตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชร อัครโยธิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2454 – 2456

229. เลขาธิการสหประชาชาติ คนปัจจุบันชื่อ นาย โคฟี อันนัม ชาวกานา

230. นางอองซาน จู จี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านของพม่า ชื่อพรรค เอ็น แอล ดี

231. ครบรอบวันประกาศอิสรภาพของประชาชนชาวพม่าที่ได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร เมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2491

232. สตรีคนแรกของสหรัฐที่ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการทูต และการเมือง คือ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐกว่า 200 ปี คือ นางเมเดลีน อัลไบรท์

233. วันเลิกทาสสากล ของสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม ของทุกปี

234. การสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 กองทัพเรือ จัดสร้าง

235. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนแรก ชื่อ พล.ร.ต. พระยาปรีชาชลยุทธ ร.น. ตั้งแต่ 28 เม.ย. 2475

236. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรก ที่เป็นพลเรือน คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์

237. ประธานรัฐสภา คนแรก ชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

238. ประธานสภาผู้แทนราษฎร คนแรก ชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

239. ประธานศาลฎีกาของไทย คนแรก ชื่อ พระยาวิกรมสัตนสุภาษ

240. ธนบัตรแบบแรกของประเทศไทยประกาศใช้เมื่อ 7 กันยายน 2445

241. ยอดเขาที่สูงที่สุดของไทย คือ ยอดเขา อินทนนท์ สูง 2,565 เมตร

242. วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันราชสมภพของรัชกาลที่ 5 และ 8

243. วันมรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี

244. นายกรัฐมนตรี ที่มาจากพลเรือนได้เข้าร่วมประชุมสภากลาโหม คือ นายชวน หลีกภัย

245. ฌาปนสถานกองทัพบกมีที่ตั้ง 3 แห่ง คือ วัดโสมนัสวิหาร วัดอาวุธวิกสิตราม วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต

246. นักพากย์ภาพยนต์คนแรกของไทย คือ นายสิน สี บุญเรือง (ทิดเขียว)

247. ผู้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นคนแรก คือ ร้อยโท เจมส์ โลว์ นายทหารชาวอังกฤษ

248. ผู้ริเริ่มใช้กระแสไฟฟ้าเป็นคนแรกของไทย คือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)

249. ผู้เปิดเดินรถเมล์ในกรุงเทพฯ เป็นคนแรก คือ พระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ)

250. ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก คือ นาย เลือน พงษ์โสภณ

251. ผู้ริเริมใช้แท็กซี่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก คือ พลโทพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

252. ผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคนแรก คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร

253. ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยคนแรกของไทย คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)

254. ฝาแฝดคู่แรกของไทย คือ ฝาแฝด อิน จัน เกิดเมื่อ วันที่ 11 พ.ค. 2434 ที่ จ.สมุทรสงคราม

255. เรือกลไฟลำแรกของไทย คือ เรือสยามอรสุมพล

256. โรงพยาบาลแห่งแรก คือ โรงพยาบาลศิริราช

257. มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

258. รร.อนุบาลแห่งแรกของไทย คือ ร.รงอนุบาลโรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายวลีภิรมย์ พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิ

259. ธนาคารแห่งแรกของไทย คือ แบงก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์)

260. โรงภาพยนต์แห่งแรกในกรุงเทพฯ ที่ฉายภาพยนตร์จอซีนีมาสโคป คือ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย

261. ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ออกฉายให้ประชาชน คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ

262. โรงแรมแห่งแรกของไทย คือ โรงแรมโอเรียนเต็ล

263. โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย คือ โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์

264. แบบเรียเล่มแรกของไทย คือ หนังสือจินดามณี

265. บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิกันครั้งแรกในประเทศไทย คือ นิรศลอนดอน ของหม่อมรโชทัย ขายลิขสิทธิให้กับหมอบรัดเลย์

266. หนังสือไทยเล่มแรก คือ ไตรภูมิพระร่วง

267. หนังสือพิมพ์ข่าวฉบับแรกของไทย คือ หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์

268. ปฏิทินฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์ครั้งแรกในประเทศไทย คือ ปี 2385

269. วิทยุโทรทัศน์มีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2497 คือ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

270. สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 4 บางบุนพรม (ปัจจุบันคือ ช่อง 9)

271. ร.ร.หลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก คือ ร.ร.วัดมหรรณพาราม

272. สะพานแห่งแรกที่เชื่อระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี คือ สะพานสมเด็ดพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

273. ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเริ่มมีครั้งแรกคือ สมัยกรุงศรีอยุธยา

274. วัดประจำพระราชวัง พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ชื่อวัดมหาสมณาราม

275. ประเทสไทยเผชิญมรสุมภัยทางเศรษฐกิจ จนนำมาสู่การปรับปรุงโครสร้างทางการเงินของธนาคารอะไร ล่าสุดเมื่อ 6 ก.พ. 41 (ธนาคารศรีนคร)

276. กีฬาโอลิมปิกเกม ฤดูหนาว ครั้งที่ 18 จัดที่เมืองนากาโน ญี่ปุ่น

277. ประธานสหภาพายุโรป คนปัจจุบันชื่อ นายฌอง แคร์

278. ชนกลุ่มน้อยที่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่า ผลิตยาบ้านในพื้นที่ประเทศพม่า สามารถครอบครองตลาดภายในไทยได้กว่า 80% ที่ไหน (ว้าแดง จุดนำเข้าทั้งหมดอยู่ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)

279. โอนกรมตำรวจ จากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นอยู่ภาย ใต้การบังคับบัญชาดูแลของนายกรัฐมนตรี

280. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก คือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก

281. สนามแบตมินตัน แห่งแรกในประเทศไทยอยู่ที่ พระราชวังพระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันได้ปรับแต่งเป็นสวมหย่อมไปแล้ว

282. การโต้วาทถ่ายทอดสดออกทีวีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมือง ระหว่างผู้นำพรรครัฐบาล และผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ของประเทศอังกฤษ

283. จังหวัดที่ได้รับการยกย่องเป็น “สุดยอดเมืองหลักภาคอีสาน” คือจังหวัดขอนแก่น

284. พระพุทธสัมปทานนิโรคาพาธ อันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่อดีตมีอายุเกือบ 900 ปี เป็นพระปางสมาธิราบที่สวยงาม อยู่ที่วิหารของโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ

285. “พระพุทธสิหิงค์” ประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุธไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพ

286. ว่าวไทย มีเล่นกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

287. อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ รัฐสภาแห่งชาติ กรุงเทพ

288. อนุสาวรีย์สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประดิษฐานอยู่ ณ หน้ากระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ

289. อนุสาวรีย์ทหารอาสา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อบรรจุอัฐทหารอาสา ที่เสียชีวิตในการรบเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ

290. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ สูง 50 เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่เสียชีวิตในการรบระหว่างสงครามอินโดจีน กรุงเทพฯ

291. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการปกครองของระบบประชาธิปไตยของไทย กรุงเทพฯ

292. อนุสาวรีย์ศรีสุริโยทัย คือ เจดีย์ศรีสุริโยทัยเป็นอนุสาวรีย์ที่สมเด็จพระมหาจักพรรดิโปรดเจ้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรตินางสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

293. อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอเมืองลพบุรี

294. พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง ประดิษฐานอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

295. อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

296. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

297. อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ในจังหวัดหนองคาย

298. อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร จังหวัดภูเก็ต

299. อนุสาวรีย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อยู่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

300. อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

301. อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

302. วันเสียงปืนแตก 7 สิงหาคม 2508 มีความหมายว่าเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เปิดฉากต่อสู้ด้วยอาวุธกับฝ่ายรัฐบาล

303. แลนด์บริดจ์ หมายถึงโครงการสร้างถนนสายกระบี่ ขนมอ

304. เซาเทิร์นซีบอร์ด หมายถึง โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

305. รัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน” เป็นฉบับแรกประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 11 ตุลาคม 2540

306. กรมราชทัณฑ์ ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6

307. อธิบดีกรมราชทัณฑ์ คนแรกชื่อ มหาอำมาตย์เอก พระยาชัยวิชิตวิศิษฐ์ ธรรมธาดา

308. วันที่ 6 สิงหาคม 2488 สหรัฐฯนำเอาระเบิดปรมาณูลูกแรกไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น

309. สำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย อยู่ในบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรี

310. นายกรัฐมนตรีที่คุมทหาร 3 เหล่าทัพ และยังคุมตำรวจแห่งชาติ คนแรกคือ นายชวน หลีกภัย

311. กุ้งน้ำจืด ชนิดใหม่ของโลก ที่ค้นพบที่ผ้ามอน อำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน คือกุ้งเจ้าฟ้า

312. กรุงเทพฯ จะปลูกไม้ยืนต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป ตามถนนสายต่างๆ ถนนราชดำเนิน จะปลูกต้นประดู่ 100 ต้น

313. “นรกธารโต” คือทัณฑสถาน หรือคุกนรกธารโต สถานที่กักขัง นักโทษในคดีอุกฉกรรจ์ จังหวัดยะลา

314. รัชกาลที่ 6 จัดตั้งคลังออมสิน

315. วัดประจำพระราชวัง พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ชื่อวัดมหาสมณาราม

316. โครงการทางยกระดับถนนบรมราชชนนีอยู่ที่ช่วงตลิ่งชัน แยกพุทธมณฑลสาย 2

317. มิสไชน่าทาวน์คนแรกของไทย ชื่อนางสาวปิยะมาส เลิศนรากุล

318. ขบวนการพูโล หรือสหพันธ์รัฐปัตตานี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 11 จังหวัดปัตตานี

319. เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

320. ค่ายสิริธรม ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี

321. ค่ายกรมหลวงชุมตั้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

322. ค่ายตากสิน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

323. ค่ายมหาสุรสิงหนาท ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

324. ค่ายมหาศักดิพลเสน ตั้งอยู่ที่บ้านโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

325. ค่ายสีหราชเดโชไชย ตั้งอยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น

326. ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

327. ค่ายพิบูลสงคราม ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี

328. ค่ายทองฑีฆายุ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

329. ค่ายจิรวิชิตสงคราม ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

330. ค่ายสมเด็จพระสุริโขทัย ตั้งอยู่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

331. ค่ายพ่อขุนบางกลางหาว ตั้งอยู่ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

332. ค่ายสุริยพงษ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดน่าน

333. ค่ายพระยาไชยบูรณ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดแพร่

334. ค่ายกาวิละ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

335. ค่ายพิชิปรีชากร ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

336. ค่ายเทพสิงห์ตั้งอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

337. ค่ายโสณบัณฑิตย์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

338. ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

339. ค่ายวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

340. ค่ายรัษฏานุประดิษฐ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดตรัง

341. ค่ายเขตอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดชุมพร

342. ค่ายวิภาวดีรังสิน ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี

343. ค่ายรัตนรังสรรค์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดระนอง

344. ค่ายเสนาณรงค์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

345. ค่ายรัตนพล ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

346. ค่ายพระปกเกล้าฯ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

347. ค่ายอิงคยุทธบริหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี

348. ฟีฟ่าหรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

349. หอคอยแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

350. หนุ่มไทยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากโรงเรียนนายเรืออากาศแห่งสหรัฐ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือ นายจักรกฤษ์ ธรรมวิชัย

351. ภูหินร่องกล้า อยู่ในเขตติดต่อ 3 จังหวัด พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์ มีชื่อเรียกที่ชาวบ้านรู้จักกันว่า เทือกเขาสามหมื่น

352. ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย มีสมาชิกเพิ่มเข้ามาอีก 3 ประเทศ คือประเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย

353. วันสันติภาพของโลก ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี

354. “ค่ายสีหราชเดโชไชย” เป็นที่ตั้งของหน่วยทหารราบที่ 8 กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 8 และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 8 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

355. ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 และหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 ตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี

356. ค่ายจิรวิชิตสงคาม เป็นที่ตั้งของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธกองทัพบก ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี

357. ค่ายพิบูลสงคราม เป็นที่ตั้งของกองพลทหารปืนใหญ่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี

358. ค่ายทองทีฆายุ เป็นที่ตั้งของกรมการสัตว์ทหารบก ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม

359. ประเทศแรกของโลกที่มีนายกรัฐมนตรีหญิง คือประเทศศรีลังกา ชื่อสิริมาโว บันดารไนยเก

360. เขื่อนใต้ดิน คือ การสร้างสิ่งกีดขวาง เช่น กำแพงทึบน้ำลงใต้ดิน อยู่ที่จังหวัดภูเก็ตเป็นแห่งแรก

361. อุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของไทย ชื่อเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

362. เกาะในประเทศไทย ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะภูเก็ต คือเกาะช้าง จ.ตราด

363. ตลาดค้าสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย คือ เมืองดานัง ประเทศ เวียดนาม

364. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีคำย่อว่า ศอ.บต. เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2524

365. ตลาดนัดสัญจรเพื่อไทยทั่วไทย ของ ทบ.เปิดโครงการเป็นพื้นที่แรกที่บริเวณลานพระราชวังดุสิต และภายในสวนอัมพร

366. การสร้าง “พีเอ็กซ์” ในส่วนที่ ทภ.1 รับผิดชอบมี 2 พื้นที่ คือ พื้นที่แรกใน ร.11 รอ.ซึ่งดำเนินการโดย มทบ.11 แห่งที่ 2 ที่จังหวัดลพบุรี ดำเนินการโดยมทบ.13

367. ผบ.ทบ.อนุมัติหลักการเกี่ยวกับการดื่มแชมเปญแสดงความยินดีในงานพิธีต่างๆ ของทบ. ทุกพิธี ยกเว้นพิธี มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และพิธีมอบเครื่องหมายความสามารถพิเศษให้แก่ชาวต่างประเทศเท่านั้น

368. กำแพงเมืองจีน อันลือลั่นของจีน สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ระยะทาง 2,000 กม. มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เกรต วอลล์

369. น้ำตกที่สูงที่สุด คือ น้ำตกแม่ยะ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

370. คำว่า “แบล็กลิสต์” มีความหมายว่า รายชื่อพวกที่เป็นภัยต่อชาติเก็บไว้ แต่เปิดเผยไม่ได้ ถ้าไม่มีแสดงว่าองค์กรนั้นหย่อนยาน

371. ประเทศแรกในยุโรปที่พิมพ์ธนบัตรใช้เป็นประเทศแรก คือประเทศสวีเดน

372. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้ประชุมรับสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ ที่ประเทศมาเลเซีย คือ ประเทศลาว และประเทศเมียนม่า

373. จังหวัดที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงราย

374. จังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย คือ จังหวัดนราธิวาส

375. จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตจังหวัดอื่นๆ มากที่สุด คือ จังหวัดตาก

376. จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลย คือ จังหวัดยะลา และสตูล

377. ภูเขาที่ใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ คือ เทือกเขานครศรีธรรมราช

378. เกาะที่ใหญ่ที่สุดของไทย คือ เกาะภูเก็ต

379. ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ ทะเลสาบสงขลา

380. หนองน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร

381. แม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ

382. คลองที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ คลองแสนแสบ

383. ถนนสายแรกในประเทศไทย คือถนนเจริญกรุง

384. ถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชื่อถนนเพชรเกษม จาก กทม.ถึง จ. นราธิวาส

385. ทางรถไฟสายแรกของไทย สายกรุงเทพ ปากน้ำ

386. อุโมงค์ที่ยาวที่สุดของประเทศไทย คือ อุโมงค์ขุนตาล จังหวัดลำปาง

387. สะพานที่ยาวที่สุดของไทย คือ สะพานติณสูลานนท์ จ.สงขลา

388. เขื่อนที่ผลิตกระแสดไฟฟ้าได้มากที่สุดในประเทศไทย คือ เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี

389. ตึกที่สูงที่สุดของไทย คือ ตึกใบหยกเทาเวอร์ อยู่กรุงเทพฯ

390. ส่วนที่แคบที่สุดของไทย คือบริเวณคอคอดกระ จ.ประจวบคีรีขันธ์

391. ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยคนแรก คือ รัชกาลที่ 6

392. ผู้ให้กำเนิดเพลงชาติ คือ พระเจนดุริยางค์ บรรเลงครั้งแรกโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ

393. ผู้ให้กำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี คือ กรมพระยานริศราสุวัดติวงศ์

394. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุาภาพ

395. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทยแผนปัจจุบันของไทย” คือ สมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์

396. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกองทัพเรือ” ชื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

397. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการสหกรณ์แห่งประเทศไทย” คือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

398. ผู้ที่ริเริ่มใช้ ร.ศ. รัตนโกสินทร์ศก คือ รัชกาลที่ 5

399. เรือกลไฟลำแรกของไทย ชื่อ เรือสยามอรสุมพล

400. โรงพยาบาลแห่งแรกของไทยชื่อ โรงพยาบาลศิริราช สร้างสมัยรัชกาลที่ 5

401. สภากาชาด ตั้งขึ้น ในรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อ สภาอุณาโลม

402. โรงเรียน “หลวง” สำหรับราษฎรแห่งแรก คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

403. เจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในไทย คือ พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

404. พระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือพระปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม วัดแจ้ง ธนบุรี

405. พระพุทธไสยยาสน์ที่ยาวที่สุดของไทย คือ พระพุทธไสยยาสน์ที่วัดพระนอน จ.สิงห์บุรี

406. ในสมัยก่อนถือวันวันสงกรานต์ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นปัจจุบันนี้เมื่อปี 2484

407. ประชากรโลกคนที่หกล้านพันล้านคน เกิดที่ประเทศบอสเนีย

408. หัวหน้าขบวนการต่อสู้กอบกู้อิสรภาพดินแดนติมอร์ตะวันออก ชื่อ นายโฮเซ่ อะเลกซานเดอร์ ซานาทา กุสเมา

409. พระองค์ดำ เป็นพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

410. ไฟฟ้าเริ่มใช้ในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5

411. เบญจรงค์ ห้าสี มีสี ดำ แดง เขียว ขาว เหลือง

412. สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม กรุงเทพ

413. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี

414. วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

415. ประเทศกัมพูชา ที่คัดค้านที่จะให้ติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกใหม่อาเซียน

416. พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ตั้งอยู่ที่ พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

417. โบสถ์เหล็กแห่งแรกของไทยตั้งอยู่ที่ วัดปากลำแข้ง บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด คือ ตาก อุทัยธานี และกาญจนบุรี

418. วันที่ 5 ธันวาคม 2542 เปิดให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอสซี เป็นวันแรกในสมัยนายพิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าการกทม.

419. “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ มีความหมายว่า เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศตลอดจนการใช้ชีวิตและครองตนของพี่น้องประชาชนทั่วไป

420. กลุ่มกรีนพีช คือองค์กร ที่รณรงค์สิ่งแวดล้อม มีเรือแรนโบว์วอริเจอร์เดินทางรณรงค์ต่อต้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในประเทศแถบเอเชีย

421. แหล่งก๊าซแหล่งใหม่ของไทย คือ แหล่งไพลิน อยู่ที่แหล่งผลิตก๊าซกลางอ่าวไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดเมื่อ 26 มิถุนายน 2543

422. ติมอร์ตะวันออก จะแยกตัวเป็นเอกราชจากประเทศอินโดนีเซีย

423. สะพานขึงแบบอสมมาตร เสาเดี่ยว 3 ระนาบ ที่ยาวที่สุดในโลกของไทยตั้งอยูด้านเหนือของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ก่อนถึงสะพานกรุงธนบุรี ชื่อสะพานพระราม 8

424. กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติอนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตั้งอยู่ที่สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

425. พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นักกีฬาคนพิการ เครื่องราชอินริยาภรณ์ ชื่อ ดิเรกคุณาภรณ์

426. พระที่นั่งไกรสนสีหราช อยู่ที่จังหวัดลพบุรี

427. เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งประวัติศาสตร์และตรงกับวันเพ็ญอาสาฬหบูชา วันที่ 16 กรกฎาคม 2543

428. เขื่อนปากมูล อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี

429. เมืองหลวงของไทยในอดีต ก่อนที่จะมาเป็นกรุงเทพมหานคร คือ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

430. อุทยานแห่งชาติพุเตย อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

431. เจดีย์ยอดด้วน หรือเจดีย์ยักษ์ อยู่ที่วัดพระเงิน จังหวัดนครศรีธรรมราช

432. กรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ ลาออกจากตำแหน่ง 3 ตำแหน่ง เพราะ ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ว่า แสดงบัญชีทรัพย์สินเท็จ ไม่ตรงกับความจริง

433. สวนสาธารณแห่งใหม่ที่จัดเป็นแบบสวนไทยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

434. สัญลักษณ์ที่อยู่ด้านหน้าของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีชื่อว่า โลกุตระ

435. ประเพณีงานผีตาโชน เป็นของจังหวัดเลย

436. เกาะทะลุ ตั้งอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

437. กองทัพไทยในสงครามศึกไทย พม่า กองทหารดาบทะลวงฟัน ผู้นำหน่วยรบที่กล้าหาญชื่อ ขุนรัตนาวุธ

438. พระพุทะเจ้าทรงตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา

439. “เพชรอันดามัน” ได้รับการขนานนามเป็นของจังหวัดกระบี่

440. รัฐสภา สว.ครบองค์ประกอบได้สมาชิกคนที่ 200 ชื่อ คุณวิลาวัลย์ ตันวัฒนะพงษ์ สว.จว.อุบลราชธานี

441. การรถไฟสายเหนือของไทย มีสถานีปลายทาง อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

442. การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ผู้ที่ออกเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่อายุ 18 ปี

443. ประเทศไหน เป็นประเทศแรกที่ได้จัดให้มีการวันแม่ขึ้น (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

444. “NGL” ได้แก่ก๊าซ โชลีน

445. ผู้ก่อตั้งโอลิมปิกสากล ชื่อ ปิแอร์ เดอ กูแบร์แดง

446. วันที่ 22 ก.ย. 43 รัฐบาลจัดให้เป็นวันคาร์ฟรีเดย์ วันรณรงค์จอดรถไว้ที่บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน

447. นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเป็นชาวกานา

448. สะพานซังฮี้ มีชื่อเป็นทางการว่า สะพานกรุงธน

449. “เอ็มพาวเวอร์” หมายถึงมูลนิธิส่งเสริมโอกาสหญิงบริการ ศูนย์พิทักษ์สิทธิหญิงขายบริการทางเพศ

450. “ฑูตสันถวไมตรี เพื่อเด็กและเยาวชน” จากยูนิเซฟ คนแรกของไทย ชื่อ คัทลียา แมคอินทอช

451. เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การค้าโลก (WTO) ผู้หญิงคนแรกชื่ออภิรดี ตันตราภรณ์

452. ทูตยูนิเซฟ คนแรกของไทย คือ นายอานันท์ ปันยารชุน

453. ปราสาทหินของไทยที่ใหญ่ที่สุด คือปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

454. โรงพยาบาลคนเสียจริต แห่งแรกของไทย คือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม.

455. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ไทเกอร์วูดส์ นักกอล์ฟชื่อดังระดับโลกสาขา วิทยาศาสตร์การกีฬา

456. คำขวัญกองทัพบก มีชื่อว่า เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน

457. นโยบายผู้บัญชาการทหารบก ให้ไว้เมื่อ 28 ต.ค. 41 มีชื่อว่า ประหยัด โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพ

458. ประเทศมาเลเซีย ได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ว่า นครปุตราจายา

459. จังหวัดในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล คือ จังหวัดยะลา

460. จังหวัดสุดท้ายของประเทศไทย คือ จังหวัดอำนาจเจริญ แยกตัวจากจังหวัดอุบลราชธานี

461. สมาชิกองค์การค้าโลก มี 133 ประเทศ

462. มิคสัญญี หมายความว่า ยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟัน เบียดเบียนกัน

463. ค่ายบดินทรเดชา ตั้งอยู่ที่จังหวัดยโสธร

464. ถนนที่สวยที่สุด และแพงที่สุดในไทย ชื่อถนนอักษะ

465. ผู้บัญชาการทหารบกคนแรก และคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ไปทอดผ้าป่าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) คือ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร

466. ในวัดพระแก้ว มียักษ์ที่ยืนตระหง่านกุมกระบองทั้งหมด 12 ตัว

467. วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี คือวันประชากรโลก

468. ผู้ที่เอาตัวเองเข้าประกัน กับนักศึกษาพม่าที่สถานทูตพม่า เพื่อคลี่คลายเหตุการณ์คือ ม. ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ

469. นักศึกษาพม่าทั้ง 5 คน ที่บุกยึดสถานทูตพม่า ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ พร้อมตัวประกันไปลงที่เขตบ้านท่าตะโก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นเขตอิทธิพลของกะเหรี่ยงคริสต์ หรือกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ของนายพลโบเมียะ ที่ยังปักหลักสู้รับกับรัฐบาลพม่า

470. สุสานช้างโลกล้านปี ที่ขุดพบในประเทศไทย อยู่ที่บริเวณฝั่งแม่น้ำมูล ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

471. ถนนสายเศรษฐกิจสำคัญ ของภาคอีสาน ชื่อถนนมิตรภาพ

472. วันเอกราชของกัมพูชา คือวันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปี

473. แสตมป์ชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของแสตมป์ไทย คือชุด โสฬศ วันแรกที่จำหน่ายคือ 4 สิงหาคม 2426

474. ธงพระคชาธาร หมายถึง การอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดจากภยันตราย รวมทั้งมีเมตตามหานิยม ครอบจักรวาล ซึ่งตำแหน่งของธงนั้น จะปักประดับ ประดิษฐานประจำพระที่นั่งคชาธาร ที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกศึกสงครามทุกครั้ง

475. พิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือพิธีเห่เรือ จัดมากี่ครั้ง 11 ครั้ง ครั้งแรกจัดเมื่อ 14 พ.ค. 2500

476. วันที่ 4 พ.ย.42 พิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประทับเรือพระที่นั่งชื่อ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

477. ผู้อำนวยการองค์การอหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ (เอฟ เอ โอ) ทูลเกล้าฯถวายเหรียญชื่อ เทเลฟู้ด ให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

478. ผู้อำนวยการหญิงคนแรกขององค์การอนามัยโลก ชื่อ (ดร.ไกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ทแลนด์)

479. เหตุการณ์ฝนดาวตก กลุ่มดาวสิงโต ในช่วงคืนวันที่ 18 - 19 พ.ย. 42 สังเกตุการณ์ที่หอดูดาวเกิดแก้ว อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี

480. ปฐมกษัตริย์ของกรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีอิทราทิตย์

481. กษัตริย์ไทยที่ครองราชย์ในระยะเวลาสั้นที่สุด คือพระเจ้าทองลั่น แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ

482. ในสมัยพญาลิไทยได้จัดการแบ่งสงฆ์ออกเป็น 2 คณะ คือ คามวาลี และอรัญวาลี

483. ในสมัยสุริโยทัย มีการแบ่งการปกครองเป็น 3 ส่วน คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

484. พระพุทธรูปในสมัยสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช พระศาสดา และพระศีศากยมุนี

485. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรวงรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาจาก นครศรีธรรมราช

486. แรกเมื่อเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยนั้น มีวรรณยุกต์ใช้อยู่ 2 รูป คือ เอก กับ โท

487. กรุงสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

488. ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้ปรับปรุงการเก็บภาษี ใหม่ 4 ประเภท คือ จังกอบ ส่วย อากร และฤชา

489. ศิลปการแสดงเฟื่องฟูมากที่สุด ในสมัยสมเด็จพระบรมโกศ

490. ฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาเมืองไทย คือ ชนชาติโปรตุเกส

491. ไพร่สม คือ บรรดาชายฉกรรจ์ที่มีอายุระหว่าง 18 -20 ปี ซึ่งต้องไปขึ้นทะเบียนฝึกทหาร

492. ไพร่หลวงคือ บรรดาไพร่สมที่ฝึกทหารมาแล้วมีหน้าที่เข้าเวรรับใช้ราชการ

493. ไทยกับพม่าทำสงครามครั้งแรก ในสมัยพระชัยราชาธิราช

494. สาเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงดำริสร้างเมืองลพบุรีขึ้น เพราะระยะนั้นไทยถูกรุกรานจากฮอลันดา

495. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระนามที่ประชาชนถวายอีกพระนามหนึ่งว่า “พระเจ้าช้างเผือก” และประเทศไทยเริ่มใช้ ธงตราช้างเผือก ในสมัยรัชกาลนี้ (ร.2)

496. วัดประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม และวัดสุทัศน์เทพวราราม ตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 คือ มหาปราสาท

497. สงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับรักาลที่ 6 ของไทย และผลที่ไทยได้รับจากสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ ชื่อเสียง เกียรติคุณของประเทศ

498. ไทยกับอังกฤษได้ทำสัญญาการค้าฉบับแรก ขึ้นโดยที่อังกฤษได้ส่งเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเป็นตัวแทนทำสัญญากับไทย

499. รัชกาลที่ 4 ทรงริเริ่มให้ข้าราชการไทย เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน โดยต้องสวมเสื้อ

500. พระราบัญญัติการเกณฑ์ทหาร เริ่มมีขึ้นใช้บังคับในสมัย รัชกาลที่ 5

No comments:

Post a Comment