Sunday, September 27, 2009

เดลต้าฟอร์ซ (Delta Force)


บทความนี้แปลจากเอกสารภาษาอังกฤษ ของ http://en.wikipedia.org/wiki/Delta_Force
เดลต้าฟอร์ซ (Delta Force) เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษของ สหรัฐอเมริกา (USSOCOM หรือ United States Special Operation Command)
ภารกิจหลักของ เดลต้าฟอร์ซ (Delta Force) คือการต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ทั้งในระดับภายใน ระดับชาติ และการก่อการร้ายสากล และการชิงตัวประกัน เป็นต้น
ความเป็นมาของหน่วย เดลต้าฟอร์ซ (Delta Force)
The initial concept of Delta was a direct result of numerous, well-publicized terrorist incidents that occurred in the 1970s. As the threat of terrorism was on the increase and the United States being particularly targeted, the administration felt it needed a counter-terrorist capability.

Key military and government figures had already received briefing on a model for the unit. Charles Beckwith, a member of the US Army Special Forces had served as an exchange officer with the British Special Air Service (22 SAS Regiment) in the early 1960s. US Army Special Forces in that period focused on unconventional warfare, but Beckwith was impressed with the SAS direct action and counter-terrorism capabilities. He briefed military and government figures, who were also impressed with the SAS concept.



Beckwith had estimated that it would take 24 months to set up the unit. As the threat of terrorism was increasing, the administration needed a counter-terrorist capability until Delta became fully operational. The 5th Special Forces Group created Blue Light as a small contingent of men that would train for this mandate. Blue Light existed into the early 1980s until Delta Force was fully operational.

April 24, 1980, shortly after Delta had been created, 52 Americans were taken captive and held in the U.S. Embassy in Tehran, Iran. The unit would be involved in Operation Eagle Claw to covertly insert into the country and recover the hostages from the embassy by force. Unfortunately, the mission failed due to a number of key factors: an overly complex plan, inadequate Special Operations Aviation training for the accompanying aircrews, a collision between a rescue helicopter and a refueling tanker aircraft, and mechanical problems that reduced the number of available helicopters from the initial eight to only five (one fewer than minimum required) before the mission contingent could leave the refueling site to stage for the attack.

After the failed operation, the US government reassessed its counter-terrorist capabilities and as a result created new units such as the Navy's SEAL Team Six and the 160th Special Operations Aviation Regiment (Airborne), also known as the "Nightstalkers", particularly focused towards the type of mission like Operation Eagle Claw. The Joint Special Operations Command was also created to control and oversee joint training between the counter-terrorist assets of the various branches of the US military.

In 2006, Mark Bowden published a book, Guests of the Ayatollah: The First Battle in America's War with Militant Islam, which chronicles the events of the Iran hostage crisis. The book contains first-hand accounts of Delta Force's involvement in the failed rescue attempt. An accompanying piece on The Atlantic Monthly's web site contains pictures and interview videos from some of the participants.
[edit] Organization and structure

With most information regarding the unit being highly sensitive, there is no official information regarding specific details. The unit is under the organization of the US Army Special Operations Command (USASOC) but is controlled by the Joint Special Operations Command (JSOC). A number of sources including the book Inside Delta Force by Command Sergeant Major Eric L. Haney (ret.), suggest the units strength ranges from between 800 to 1000 personnel which includes the operational elements that includes:
[edit] Detachment designations

* D - Command and Control (The Headquarters)
* E - Communications, Intelligence and Administrative Support (includes finance, logistics, medical detachment, research and development, technology and electronics, etc.)
* F - Operational Arm (The operators themselves)
* Medical Detachment maintains special doctors at Fort Bragg and various other bases around the country secretly, to provide medical assistance as needed.
* "The Funny Platoon" is the in-house intelligence arm of Delta. They grew out of a long-running dispute/rivalry with the Intelligence Support Activity. They will infiltrate a country ahead of a Delta intervention to gather intelligence.
* Aviation Squadron, although Delta relies heavily on the 160th Special Operations Aviation Regiment and US Air Force assets to transport them to and from operational deployments and training exercises, within the unit consists a small aviation squadron used for limited in-house air transportation. The aviation squadron consists of twelve AH-6 Attack and MH-6 Transport helicopters (although this figure may have increased). It is unknown if pilots are recruited from Air Force and the 160th SOAR or are trained Delta operators who train to become helicopter pilots. The benefit of having enlisted Delta operators flying aircraft would be advantageous in an operational environment having pilots that also have the ability as “shooters if needed."[1]
* Operational Research Section
* Training wing

In Not a Good Day to Die: The Untold Story of Operation Anaconda, Army Times staff writer Sean Naylor describes Delta as having nearly 1,000 operatives.[1] Naylor wrote that approximately 250 of those are operators trained to conduct direct action and reconnaissance missions.[1] There are three main operational squadrons:

* A Squadron

* B Squadron

* C Squadron

These squadrons are broken down into 'troops', two are assault troops while a third troop specializes in reconnaissance and surveillance and is known as the "recce" troop.[1] Each troop has 16 men. According to the aforementioned Inside Delta Force, the smallest unit is the four-man team.[2] Each team is color-coded for organizational and control purposes.

The remaining soldiers in Delta are highly trained specialists in mechanics, communications, intelligence, and other support activities, as well as a headquarters staff.
[edit] Recruitment and training

Most recruits come from the United States Army Special Forces and the 75th Ranger Regiment.[3] Personnel must be male, in the rank of Sergeant (E-5) or above and attend a Delta briefing even to be considered for admission. Since the 1990s, the Army has posted recruitment notices for the 1st SFOD-D[4] which many believe refers to Delta Force. The Army, however, has never released an official fact sheet for the force. The recruitment notices placed in Fort Bragg's newspaper, Paraglide, refer to Delta Force by name, and label it "...the Department of Defense's highest priority unit..."[5] The notice states that all applicants must be 22 years or older, have a general technical score of 110 or higher, and be in the ranks of E-5 through E-8, with at least four and a half years in service.

Such recruits are men with skills such as proficiency in a foreign language or other desirable traits. The selection process is based on the UK SAS model.[6][7] The selection course begins with standard tests including: push-ups, sit-ups, and a 3-mile (4.8 km) run. The recruits are then put through a series of land navigation courses to include an 18-mile (29 km), all-night land navigation course while carrying a 35-pound (16 kg) rucksack. The rucksack's weight and the distance of the courses are increased and the time standards to complete the task are shortened with every march. The physical testing ends with a 40-mile (64 km) march with a 45-pound (20 kg) rucksack over very rough terrain which must be completed in an unknown amount of time. It is said that only the highest-ranking members of the Pentagon are allowed to see the set time limits, but all assessment and selection tasks and conditions are set by Delta training cadre.[2][7] The mental portion of the testing begins with numerous psychological exams. The men then go in front of a board of Delta instructors, unit psychologists and the Delta commander who ask the candidate a barrage of questions and will dissect every response and mannerism of the candidate. The candidate will eventually become mentally exhausted. The unit commander will then approach the candidate and will tell him if he has been successful. If an individual is selected for Delta, he will then go through an intense 6 month Operator Training Course (OTC), where they will learn counter-terrorism techniques. This will include firearm accuracy and various other munition training.[2]

The Central Intelligence Agency's highly secretive Special Activities Division (SAD) and more specifically its elite Special Operations Group (SOG) often recruits operators from the Delta Force.[8]

On many occasions, the Delta Force will cross-train with similar units from allied countries such as the Australian Special Air Service Regiment, British Special Air Service, Canadian JTF-2, French GIGN, German GSG 9, and Israeli SM,[9] as well as helping to train and currently training with other U.S. counter-terrorism units, such as the FBI's HRT and the Navy's DEVGRU, also known as SEAL Team 6.
[edit] Uniform

The Pentagon tightly controls information about Delta Force and publicly refuses to comment on the secretive unit and its activities.

Delta operators are granted an enormous amount of flexibility and autonomy. They will rarely wear any general uniform and civilian clothing is the norm on or off duty.[2] This is done to conceal the identities of these "secret soldiers".[2] When military uniforms are worn, they lack markings, surnames, or branch names.[2] Hair styles and facial hair are allowed to grow to civilian standards in order for the force to be able to blend in and not be immediately recognized as military personnel.[2] This special status, which sets the force apart from the "regular army," is mentioned in the book Black Hawk Down by Mark Bowden (though less so in the film of the same name).[10]
[edit] Operational deployments

The majority of the operations assigned to Delta are highly classified and may never be known to the public. However, there are some operations in which the unit has been involved where certain details have been made public. There have been many occasions that Delta have been put on standby and operational plans developed but the unit was stood down for various reasons. These are the known operations the unit has been involved in:
[edit] Operation Eagle Claw
[edit] Achille Lauro Hijack

President Ronald Reagan deployed the Navy's SEAL Team Six and Delta during the Achille Lauro Hijack to Cyprus to stand-by and prepare for a possible rescue attempt to free the vessel from its hijackers.
[edit] Central American operations

Delta has seen action extensively in Central America, fighting the Salvadoran revolutionary group Farabundo Marti National Liberation Front and assisting the Central Intelligence Agency-funded Contras in Nicaragua.[2]
[edit] Operation Round Bottle

Delta had planned an operation to go into Beirut, Lebanon to rescue Westerners held by the Hezbollah terrorist group.
[edit] Operation Urgent Fury

A second Delta mission launched in the early daylight hours of the first day of Operation Urgent Fury in Grenada was to assault Richmond Hill Prison and rescue the "political prisoners" being held there. Built on the remains of an old eighteenth-century fort, the prison cannot be approached by foot from three sides except through dense jungle growing on the steep mountainside; the fourth side is approachable by a narrow neck of road with high trees running along it. The prison offers no place for a helicopter assault force to land. Richmond Hill forms one side of a steep valley. Across and above the valley, on a higher peak, is another old fort, Fort Frederic, which housed a Grenadian garrison. From Fort Frederic, the garrison easily commanded the slopes and floor of the ravine below with small arms and machine gun fire. It was into this valley and under the guns of the Grenadian garrison that the helicopters of Delta Force flew at 6:30 that morning.

The helicopters of Task Force 160 flew into the valley and turned their noses toward the prison. Unable to land, the Delta raiders began to rappel down ropes dragging from the doors of the helicopters. Suddenly, as men swung wildly from the rappelling ropes, the helicopters were caught in a murderous cross-fire from the front as forces from the prison opened fire, and more devastatingly, from behind, as enemy forces in Fort Frederic rained heavy small arms and machine gun fire down from above. According to eyewitness accounts by Grenadian civilians who were in houses and in the mental hospital situated above the ravine, a number of helicopters that could, flew out of the valley. In at least one instance, a helicopter pilot turned back without orders and refused to fly into the assault. Charges of cowardice were filed against him by some members of the Delta Force but were later dropped.
[edit] Operation Heavy Shadow

March 84, Mark Bowden suggests that a Delta Force sniper may have eliminated Colombian drug lord Pablo Escobar. There is no hard evidence of this though and credit is generally attributed to Colombian security forces.
[edit] Aeropostal Flight 252

On July 29, 1984 Aeropostal Flight 252 from Caracas to the island of Curaçao was hijacked. Two days later, the DC-9 was stormed by Venezuelan commandos, who killed the hijackers.[11] Delta Force provided advice during the ordeal.[12]
[edit] Operation Just Cause

Before the Operation Just Cause by US forces took place, there were key operations that were tasked to Special Operations Forces. Operation Acid Gambit was an operation tasked to Delta to rescue and recover Kurt Muse held captive in Carcel Modelo, a prison in Panama City. Another important operation that was assigned to Delta was Operation Nifty Package, the apprehension of General Manuel Antonio Noriega
Delta Force soldiers outside Manuel Noriegas villa in Panama, December 1989.
[edit] Operation Desert Shield/Desert Storm

Delta was deployed during Desert Storm to the region and tasked with a number of responsibilities. These include supporting regular Army units that was providing close protection detail for General Norman Schwarzkopf in Saudi Arabia. Army relations’ officers tried to play down Schwarzkopf’s growing number of bodyguards. Delta was also tasked with hunting for SCUD missiles alongside the British Special Air Service and other coalition Special Forces.
[edit] Operation Gothic Serpent

On 3 October 1993, members of Delta Force were sent in with U.S. Army Rangers in the conflict in Mogadishu, Somalia codenamed Operation Gothic Serpent.

They were tasked with securing several of Mohammed Farah Aidid's top lieutenants, as well as a few other targets of high value. The mission was compromised after two UH-60 Blackhawk helicopters were shot down by RPGs. This resulted in an ongoing battle and led to the death of five Delta operators (a sixth was killed by mortar fire some days later), six Rangers, five Army aviation crew and two 10th Mountain Division soldiers. Estimates of Somali deaths range from 133 by an Adid sector commander[13] to an estimate of 1500 to 2000 by the US Ambassador to Somalia.[14] In 1999, writer Mark Bowden published the book Black Hawk Down: A Story of Modern War, which chronicles the events that surrounded the October 3, 1993 Battle of Mogadishu.[10] The book, in a short brief, relates Delta Force's involvement in the operations that occurred before the events leading to the battle.[10] The book was turned into a film by director Ridley Scott in 2001.
[edit] Seattle WTO

Members of Delta Force were also involved in preparing security for the 1999 Seattle WTO Conference, specifically against a chemical weapon attack.[15]
[edit] Counter-terrorist training

In January 1997, a small Delta advance team and six members of the British SAS were sent to Lima, Peru immediately following the takeover of the Japanese Ambassador's residence.[16]
[edit] Operation Enduring Freedom

Delta Force was also involved in the offensive against the Taliban in Afghanistan in 2001.[17] Delta Force has formed the core of the special strike unit which has been hunting High Value Target (HVT) individuals like Osama Bin Laden and other key al-Qaeda and Taliban leadership since October 2001, the beginning of Operation Enduring Freedom. It has been variously designated Task Force 11, Task Force 20, Task Force 121, Task Force 145 and Task Force 6-26.
A Delta Force commando in Tora Bora during the hunt for Bin Laden in December 2001.

* Operation Anaconda

[edit] Operation Iraqi Freedom

One of several operations in which Delta Force operators are thought to have played important roles was the 2003 invasion of Iraq.[18] They allegedly entered Baghdad in advance and undercover. Their tasks included guiding air strikes, and building networks of informants while eavesdropping on and sabotaging Iraqi communication lines.

* Operation Phantom Fury

พลทหารที่มีสิทธิ์เรียนหลักสูตรส่งทางอากาศ

สำหรับบทความสั้นๆ วันนี้ผมจะขอพูดหนึ่งกำลังพลอีกส่วนหนึ่งที่มิสิทธิ์เข้าเรียนร่มหรือส่งทางอากาศของโรงเรียนสงครามพิเศษ คือน้องพลทหารจากกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ และพลทหารอาสาสมัครจากกองพันจู่โจม ซึ่งกำลังพลทั้งสองส่วนในส่วนที่มาจากกองพันจู่โจมจะรับมาจากบุคคลพลเรือนที่มีความสมัครใจ จบการศึกษาชั้นประถมหก อายุ 18-25 ปี ก็จะมีจำนวนประมาณ 50-60 นายโดยประมาณ และอีกส่วนจาก กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ซึ่งมีคละแบบคือทั้งแบบสมัครเข้ามาและถูกเรียกเข้ามาตาม พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ก็จะมีจำนวนประมาณ 150 สำหรับส่วนที่เหลือก็จะเพิ่มยอดจากนายทหารและนายสิบของหน่วยรบพิเศษในการทดสอบร่างกายเข้ามาเรียนร่มอีกประมาณ 50 นาย รวมๆ แล้วก็จะมีประมาณ 250 นายต่อหลักสูตร หลังการเรียนร่มจบแล้วน้องๆ พลทหารเหล่านี้ก็จะได้รับเงินค่าปีกหรือ พดร.(พิเศษโดดร่ม) จำนวนประมาณ 2500 บาทต่อเดือน (ตัวเลขไม่แน่ใจ)

ข้อแตกต่างของปีกพลร่มกับปีกพลร่มสัมพันธ์

อันเนื่องมาจากหัวหน้าหน่วยงานวานให้กระผมไปจัดหาปีกพลร่มสัมพันธ์ จำนวนหนึ่งเพื่อส่งให้ผู้ช่วยทูตทหารท่านหนึ่งใน กทม. ทำให้ผมได้แนวคิดในเรื่องนี้คิดมา รู้สึกกระดากๆ อยู่ไม่น้อยที่ตัวเองก็ทำงานสงกัดที่หน่วยรบพิเศษนี้มานานสิบกว่าปีแล้ว แต่ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลย ก็เลยถือเ็ป็นความรู้ใหม่สำหรับผม ทำให้คิดถึงคำพูดของน้องตำรวจท่านหนึ่งที่รู้จักกันระว่างเรียนหลักสูตรทางทหารหลักสูตรหนึ่งที่ กทม. ที่น้องเขาเคยพูดว่า "ทุกวันเป็นวันใหม่สำหรับผมเสมอ และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกวัน" เฮ้อ เวรกรรมจริง หลังจากได้ไปติดต่อที่ร้านขายเครื่องหมายอันดับหนึ่งของ จว.ลพบุรี แถวๆ วงเวียนสระแก้ว ก็พบว่าของที่ต้องการมีจำนวนไม่พอคือมีเพียงสองอันเท่านั้น ถ้าต้องการเพิ่มจะต้องสั่งทำ ก็เลยได้โอกาสสังเกตดูความแตกต่างของปีกพลร่มที่เราประดับอยู่และปีกพลร่มสัมพันธ์ ลองมองดูขนาดความกว้างและยาวแล้วก็ดูจะเล็กกว่าปีกพลร่มปกติอยู่สักหน่อย ซึ่งก็มีทั้งแบบผ้าสำหรับติดกับเครื่องแบบฝึก และแบบโลหะหรือดิ้นสีทองสำหรับประดับกับเครื่องแบบชุดปกติ ส่วนความเป็นมาและหลักเกณฑ์การประดับปีกพลร่มสัมพันธ์ ว่าทำอย่างไรถึงจะได้มา ใครสามารถขอได้ ต้องทำอย่างไร มีกีชนิดกี่แบบ ผมคงต้องยอมรับโดยดุษฏีว่าตันจริงๆ เอาเป็นว่าขอเป็นการบ้านสำหรับผู้ชมหรือผู้อ่านเอาไว้ก่อน แล้ววันหลังผมจะลองเสาะหาเอาความรู้เกียวกับเรื่องดังกล่าวมาเพิ่มเติมให้นะครับ สรุปในขั้นต้นก่อนละกันว่าความแตกต่างของปีกพลร่มกับปีกพลร่มสัมพันธ์อยู่ที่ " อุณาโลม " กล่าวคือของพลร่มสัมพันธ์จะไม่มีอุณาโลม ส่วนพลร่มปกติ จะมีอุณาโลม สำหรับอุณาโลมให้สังเกตุดูตรงกลางบริเวณตรงกลางของปีก จะปักด้วยไหมสีน้ำเงินโยงจากหัวช้างเอราวัณ ขึ้นไปสู่ตัวร่มด้านบน หากเป็นปีกพลร่มสัมพันธ์ก็จะไม่มีจะมีเพียงปีกร่มและหัวช้างเอราวัณเท่านั้นครับ เรียกได้ว่าหากมองดูผ่านๆ ไม่สนใจหรือไม่สังเกตุก็แทบจะไม่เห็นความแตกต่างของปีกร่มทั้งสองชนิดเลยครับ

Friday, September 25, 2009

กองพลทหารราบส่งทางอากาศที่ 101

รู้เขารู้เราในวันนี้ ผมจะขอแนะนำท่านผู้อ่านให้รู้จักกับหน่วยทหารราบส่งทางอากาศของสหรัฐอเมริกาหน่วยหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นหน่วยที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากๆ คือหน่วย 101st Airborne Division หรือ กองพลทหารพลร่มที่ 101 นั้นเอง ซึ่งเป็นหน่วยทหารราบส่งทางอากาศ ที่ไ้รับการจัดตั้งและฝึกการรบแบบ การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ หรือ Air assault operations ซึ่งหน่วย กองพลทหารราบส่งทางอากาศที่ 101 ได้มีส่วนร่วมสำคัญในการรบของประเทศสหรัฐอเมริกาในสงครามต่างๆ จำนวนมาก โดยเิ่ริ่มจากสมัย World War II, ในภารกิจสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ฝรั่งเศษ ในยุทธการที่เ็ป็นการต่อสู้อย่างดุเดือดเลือดพล่านที่ยุทธการ Bulge. ต่อมาในสมัยของสงครามเวียดนามหน่วยพลร่มที่ 101 ก็ยังได้เข้าร่วมรบและปฏิบติภารกิจสำคัญๆ ในเวียดนามอีกหลายครั้งด้วยกัน ในลักษณะของการยุทธ์แบบเคลื่อนที่ทางอากาศ โดยทหารที่สังกัดหน่วยพลร่ม 101 จะมีเครื่องหมาบแถบผ้ารูปหัวนกอินทรีย์ติดบริเวณไหล่เสื้อซ้าย และมีโรงเรียนสำหรับการเรียนการฝึกโดยเฉพะคือ Army Air Assault School, และมีเครื่องหมาย Air Assault Badge,สำหรับที่ตั้งของหน่วยมีที่ตั้งอยู่ที่ Fort Campbell, Kentucky, และได้รับใช้ชาติในสงคราม Iraq และ Afghanistan. เป็นหน่วยระดับกองพลของสหรัฐฯ ที่มีหน่วยบินในอัตราจำนวนถึง 2 กรม และเป็นหน่วยระดับกองพลที่ได้รับการจัดและมียุธโธปกรณ์ตาม อจย.อย่างสมบูรณ์

หน่วยทหารพลร่มที่ 101 กับธงชาติของนาซีที่ยึดได้ในการรบที่ นอร์มังดี WW2




นายพล ไอเซนฮาว ระหว่างการตรวจเยี่ยมหน่วยพลร่ม 101 , สงครามโลกครั้งที่สอง




หน่วยทหารพลร่ม 101 ในภารกิจการรบในประเทศอิรัก

Sunday, September 20, 2009

กองพลาธิการส่งกำลังทางอากาศ

กอง พธ.สกอ. เป็นหน่วยส่งกำลังของทหารพลร่ม บ้านใกล้เรือนเคียงกับโรงเรียนสงครามพิเศษ (หน่วยเดิมของผม)ภารกิจเป็นหน่วยใหการสนับสนุนการส่งกำลังทางอากาศ เช่นร่มบุคคลโดด และร่มทิ้งสิ่งของให้กับหน่วยทางพื้นดิน กำลังพลมีทั้งนายทหาร นายสิบ และลูกจ้างประจำ รวมทั้งพลร่มหญิง สกอ. ซึ่งมีความับผิดชอบในการพับร่ม การซ่อมบำรุงร่ม ให้กับกำลังพลของหน่วยพลร่มใช้ในการกระโดดร่มตามวาระ หรือการทบทวนประจำปี ึงนับเป็นหน่วยที่มีความสำคัญในการส่งกำลังบำรุง และให้การสนับสนุนการปฏิบัตภารกิจของหน่วยทหารพลร่ม และเท่าที่ผมเคยเห็น กอง พธ.สกอ.มักจะได้รับภารกิจพิเศษในการเรียมทีมนักกีฬากระโดดร่ม เพื่อแข่งขันทั้งในระดับภายใน ประเทศ และระดับชาติ โดยที่ผ่านมามีพลร่มหญิงของ กอง พธ.สกอ.ประสพความสำเร็จในกีฬาชนิดนี้ได้เป็นแชมป์โลกมาก็หลายคนครับ นับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงให้หน่วยพลร่มของไทยอีกทางหนึ่งครับ

Friday, September 18, 2009

พลร่มป่าหวาย

พลร่มป่าหวาย จากความเข้าใจของผมเอง + กับการได้ยินเขาเล่ามา ว่ากันว่าเมื่อก่อนนั้นทหารพลร่มป่าหวาย ได้รับการกล่าวขานถึงความยอดยี่ยมในระเบียบวินัย การเป็นสุภาพบุรุษ และการเป็นนักรบพิเศษที่เก่งกล้า ถือกำเนิดขึ้นมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณปี พ.ศ. 2469 โดยมีขนาดหน่วยระัดับกองพัน มีชื่อว่า กองพันส่งทางอากาศ มีที่ตั้งอยู่ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และการรบป้องกันประเทศอีกหลายสมรภูมิ ได้รับการกล่าวขวัญถึงความเด็ดเดียว ห้าวหาญในการรบ ว่ากันว่าเมื่อข้าศึกได้ยินข่าวว่ามีการส่งทหารพลร่มป่าหวายเข้ามาในพื้นที่ ต่างก็พากันขวัญหนีดีฝ่ออยากจะศิโราบตั้งแต่ไม่ทันรบกันเลย ปัจจุบันหน่วยหารพลร่มป่าหวายได้มีการปรับปรุงขนาดของหน่วยให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีกำลังพลมากขึ้น แต่ก็ยังคงได้รับการกล่าวขานถึงในนามของนักรบหมวกแดง หรือพลร่มป่าหวายดังเดิม

ศาลเทพเจ้าเอราวัณ

ศาลเทพเจ้าเอราวัญ มีที่ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนสงครามพิเศษ เป็นสิ่งศักด์สิทธิ์ที่ทหารพลร่มและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงให้ความเคารพกราบไหว้มาช้านาน และถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมของทหารพลร่มก่อนที่จะทำการกระโดดร่มทุกครั้งจะต้องมีการสักการะขอพรให้ปลอดภัยจากการกระโดดร่มทุกครั้งไป ดังนั้นเมื่อมีการฝึกศึกษาของหลักสูตรส่งทางอากาศ จึงมีนักรียนส่งทางอากาศมากราบไหว้ขอพรและแก้บนอยู่เนื่องๆ ส่วนมากจะเป็นการแก้บนด้วยการวิ่ง ดันพื้น หรือถวายสิ่งของก็มี สำหรับศาลเทพเจ้าเอราัวัณ มีลักษณะเป็นช้างสามเศียร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งห้วงอวกาศ และได้มีการอัญเชิญมาประกอบเป็นสัญลักษณ์บนเครื่องหมายแสดงความสามารถในการกระโดดร่มของทหารพลร่ม โดยจะอยู่ตรงกลางของเครื่องหมายปีกพลร่ม

Sunday, September 13, 2009

รู้จักกับ Rigger

สวัสดีครับผู้เยี่ยมชมบล็อกแห่งนี้ทุกท่าน วันนี้ผมจะขอนำเสนอข้อมูลเรื่องของคนพับร่ม (คนสำคัญที่ทำให้เรามีร่มโดดและได้รับเงินค่าปีกตั้งเดือนละ 7000 บาทนะครับ)สำหรับคนที่อยู่ในหน่วยทหารพลร่มคงจะคุ้นๆ กับคำนี้เป็นอย่างดี เราจะได้รู้กันว่า Rigger คือใคร? ใครคือริกเกอร์? มีหน้าที่และบทบาทสำคัญอะไรบ้าง? หลังจากลองพิมพ์คำว่า ริกเกอร์ เข้าไปในกูเกิล เพื่อค้นหาแล้ว ปรากฏว่าไม่มีภาษาไทยเลยครับ พอลองคำว่า Rigger เท่านั้นแหละครับ มันผุดขึ้นมาเต็มเลย งานเข้าอีกแล้ว เอ้างัยๆ ก็อยากจะเขียนอยู่แล้ว อาจมีนสนใจอ่านหรือเป็นวิทยาทานความรู้ออนไลน์ต่อไปในอนาคตก็ได้ใครจะไปรู้ ก็จะขอแปลข้อมูลจากภาษาอังกฤษนี่ละครับเป็นภาษาไทยให้ละกันครับ
ความหมายของคำว่า rigger หมายถึงบุคคลที่ได้รับการฝึกหรือได้รับประกาศนียบัตรของการพับร่ม การซ่อมบำรุงรักษาร่ม ดังนั้นริกเกอร์ จึงต้องมีควมรู้ความชำนาญเกี่ยวกับผ้าร่ม อุปกรณ์ประกอบตัวร่มอื่นๆ การเย็บ การซ่อมแก้ การปรับแต่งแก้ไข การบรรจุร่ม แลความรู้อื่นๆ ที่จำเป็นในพับร่ม และดูแลรักษาร่ม

ความหมายของผู้พับร่มในทางทหาร Military parachute riggers
หน่วยทหารทั่วโลกต่างก็มีการฝึกริกเกอร์ของตนเอง เพื่อสนับสนุนการหน่วยทหารพลร่มของตนเอง โดยบรรดาริกเกอร์เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะรับผิดชอบในการพับร่มให้ทหารพลร่มกระโดดเท่านั้น แต่จะรวมถึงการบรรจุหีบห่อสิ่งของ สำหรับการปฏิบัติการทางทหาร เช่นอาหาร กระสุน หรือ อุปกรณ์ทางทหารอื่นๆ ด้วย

เครื่องหมายของริกเกอร์ (สหรัฐฯ)

ขอแปลเท่านี้ก่อนนะครับ ท่านผู้อ่าน ไว้จะมาแปลต่อวันหลังครับ
The U.S. Army Parachute Rigger's Badge
Riggers have played an important role in the American military since the advent of the use of the parachute for aerial insertion of troops, supplies, and equipment into combat zones. In addition to the maroon beret worn by paratroopers in airborne units, riggers are authorized the wear of a distinctive red baseball cap as their military headgear when on rigger duties.
U.S. Army. When the Army formed its first paratrooper unit in 1940, a parachute test platoon, the paratroopers themselves prepared and took care of their own parachutes. The test platoon had only 3 men, two enlisted soldiers and one warrant officer, from the Army Air Corps serving as the precursors of the Army's parachute riggers.
When the Army created five Airborne divisions for World War II, the Army stopped training each paratrooper how to pack his own chute and started support organizations for parachute packing and rigging. The first riggers received their training at Fort Benning, GA.
After 1950, the Army assigned the Quartermaster Corps with the mission of aerial delivery, including parachute rigging. A parachute rigger course was established at the U.S. Army Quartermaster School at Fort Lee, VA in 1951, and has continued since then.
Army Parachute Rigger recruits start their training at Airborne Orientation Course (AOC)[1], a course designed to prepare 92R0 recruits for success at Airborne School. AOC was, in the past at Ft Lee, VA, but is now at Ft Jackson, SC. The Airborne Orientation Course is designed to give riggers some preparation for the physical and mental trials of Airborne school, in particular the large amount of running required all Airborne students, as all US Army Parachute Riggers must be airborne qualified. From AOC, rigger recruits go to Airborne School at Ft Benning, GA. If a rigger recruit does not pass Airborne School, that soldier is reclassified. After Airborne School, the 92R0P recruits head to Ft Lee to attend the 13 week Parachute Rigger Course. The course is divided into three parts: Personnel Pack(pack), Aerial Delivery(AD), and Air Equipment Repair(AER). During their time at Fort Lee the Future Riggers must complete a parachute jump using a chute that they themselves have packed.
Service members from other branches of the U.S. Armed Forces also attend parachute rigger courses at Fort Lee.
U.S. Air Force. United States Air Force parachute riggers are trained at Sheppard AFB, Texas. The career field is classified under, "Aircrew Flight Equipment." (AFSC 1P0X1) Airmen attend a 3 1/2 month course learning to inspect, pack, and repair emergency parachutes. Once graduated from this technical school, students are assigned to a duty location where they are further instructed using on the job training. The Air Force's uniform regulation, AFI 36-2903, page 138, states the badge may be worn "only while permanently assigned to and performing duties with other services." This same limitation applies to the Army's Combat Infantry, Combat Medical, Air Assault and Pathfinder badges, as well as the Ranger tab. Despite the official restriction on the wear of the badge, USAF riggers may be seen wearing the cloth version of the badge on their BDUs in Aerial Delivery Branches of airlift wings' aerial port squadron.
U.S. Navy and U.S. Marine Corps. Parachute materials school was first established in 1924 at Lakehurst, NJ by two Navy Chiefs. Parachute Rigger, or "PR", became an enlisted job rating in 1942, but the name changed during the 1960s to Aircrew Survival Equipmentman. The United States Navy parachute riggers are now trained at Naval Air Station Pensacola during a 12 week (55 training day) school. When they graduate, they do become PRs, but the rating is called Aircrew Survival Equipmentman. While in school they go through 9 courses, 3 courses of "Common Core" skills over 19 days, 3 courses of Organizational-Level skills for 17 days, and finishing with 3 courses of Intermediate-Level skills for 19 days. The first week is sewing, dubbed by students and instructors alike as "Combat Sewing". Students will manufacture a "rigger bag" completely from scratch and will learn about tool control and FOD management. The next course is NB-8 parachutes, where students will learn basics of parachute rigging, inspection cycles and nomenclature. This is followed by a course of general survival equipement named ESE. Then "O" strand begins with Survival I Fixed Wing, followed by Survival II Rotory Wing, where students learn inspection and maintenance concepts unique to squadron level work. The final "O" level subject is Survival Radios. "I" strand will start with NES-12s, the Navy's most complicated parachute system, for advanced rigging concepts. Seat Survival Kits and Life Preservers finish out the entire course of instruction, where they will graduate upon completion. Classes average to about one week per class.
During the entire time of study students will undergo physical training at least three times a week, be subjected to rigorous inspections every Monday, and will march to and from the building, being accountable for showing up on time, cleanliness, and homework.

รู้จักกับ Jump Master



Jump Master คือผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมการกระโดดร่มในแต่ละครั้งของทหารพลร่ม จัดเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากต่อภารกิจในการกระโดดร่มของทหารพลร่ม โดยมีหน้าที่หลักได้แก่การตรวจสอบความเรียบร้อยของนักโดดแต่ละคนทั้งสภาพความพร้อมทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งอุปกรณ์ในการกระโดดร่ม ซึ่งต้องมีการตรวจสอบกันให้เรียบร้อยก่อนที่จะขึ้นบรรทุกบนเครื่องบิน จากนั้นบนอากาศยาน Jump Master ก็จะทำการตรวจสอบสภาพอากาศ ความเ็ร็วลม กับหน่วยทางภาคพื้นดิน ผ่านระบบวิทยุสื่อสาร เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย Jump Master จะให้สัญญาณกับนักโดดด้วยสัญญาณมือและนกหวีด เพราะการตะโกนด้วยปากเปล่ายากที่จะได้ยินและสื่อสารกันได้ ปกติ็จะมีคำสั่งลุกจากที่นั่ง ตรวจอุปกรณ์การโดดครั้งสุดท้าย แว่นตา เครืองวัดความสูง หมวกกันกระแทก ฯลฯ จากนั้นก่อน บ.จะเข้าสนามโดดประมาณ 5 นาที ประตูของ บ.ก็จะทำการเปิด ลมจากภายนอกก็จะแล่นเข้ามา Jump Master จะสั่งให้นักโดดขยับไปรอที่ปากประตูหรือท้ายเครื่องบิน ปกติจะมีสัญญาณไฟสีเขียวจากนักบินเมื่อถึงจุดที่กำหนด DZ และ Jump Master ก็จะสั่งให้นักโดด โดดออกไป ครับ

เส้นทางการสู่การเป็นทหาร

วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอมูลความรู้เกี่ยวกับการเป็นทหาร เพื่อให้ความรู้และเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจโดยทั่วไป
เป้าหมาย ผู้สนใจโดยทั่วไป
 การเป็นทหารเป็นเกียรติต่อตนเอง วงศ์ตระกูลและประเทศชาติ
ทหารซึ่งเริ่มรับจากชั้นประถม 6 คือ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก ระยะเวลาการศึกษา ๖ ปี แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ หลักสูตรนักเรียนดุริยางค์ทหารบกตอนต้น ระยะเวลาการศึกษา ๓ ปี และหลักสูตรนักเรียนดุริยางค์ทหารบกตอนปลาย ระยะเวลาการศึกษา ๓ ปี
สนใจข้อมูลดูที่เว็บไซต์ของหน่วย http://home.iirt.net/~rtab/school.html
จากนั้นก็จะเริ่มที่ระดับชั้นมัธยมต้น ม.3 อายุ 14-17 โดยประมาณ
โรงเรียนเตรียมทหาร
เป็นสถาบันที่เป็นที่ใฝ่ฝันของเด็กหนุ่มจำนวนมากจากทั่วประเทศที่อยากเข้าสู่สถาบันอันทรงเกียรตินี้ เป็นสถาบันหลักในการผลิตนักเรียนเตรียมทหารเพื่อเข้าสู่โรงเรียนนายร้อยของแต่ละเหล่าทัพ (ทัพบก เรือ อากาศและตำรวจ) ปัจจุบันการแข่งขันสูงมากเด็กที่สอบได้ส่วนใหญ่จะมาจากสถาบันติวเตอร์ชื่อดังทั้งต่างจังหวัด(ดาวตะวัน ลพบุรี)และในกรุงเทพฯ ขณะที่จำนวนที่รับได้ในแต่ละปีไม่มากนักประมาณเหล่าละ 200 คน โดยหลักสูตรนี้จะเรียนที่เตรียมทหาร จว.นครนายก 3 ปี และเข้าสู่โรงเรียนเหล่าอีก 4 ปี รวม 7 ปี จึงจะสำเร็จการศึกษาเป็นนายทหารหรือนายตำรวจต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมเว็บไซต์ของโรงเรียนเตรียมทหาร www.afaps.ac.th
นอกจากนั้นยังมีสถาบันการศึกษาทางทหารอื่นที่น่าสนใจได้แก่
โรงเรียนช่างฝีมือทหารบก เป็นหลักสูตร ปี อยู่ที่กรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่ต้องการมีความรู้วิชาชีพในสายช่างและรับราชการด้วยในเวลาเดียวกัน
ข้อมูลเพิ่มเติมเว็บไซต์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร www.mtts.ac.th

โรงเรียนจ่าอากาศ ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร หลักสูตร 3 ปี
เว็บไซต์ www.atts.rtaf.mi.th

จากนั้นก็จะเริ่มที่ระดับชั้นมัธยมปลาย ม.6 อายุ 18-20 โดยประมาณ
สำหรับตอนนี้จะเป็นหลักสูตรนายทหารประทวนของแต่ละเหล่าทัพ อาจจะเป็นเด็กหนุ่มที่ผิดหวังจากการสอบเข้ามหาลัย หรือเพิ่มค้นหาตัวตนเองเจอว่าอยากเข้าสู่การรับราชการทหาร หรือเหตุผลอื่นๆ จิปาถะ เช่น เงินทุนการศึกษา ความชอบส่วนตัว เพื่อน แฟน หรือ พ่อแม่ ฯลฯ
โรงเรียนนายสิบทหารบก
หลักสูตร 1 -2 ปี โดยประมาณ โดยที่ตั้งของโรงเรียนเหล่าก็จะแตกต่างกันไป เช่น โรงเรียนนายสิบทหารราบ จว.ประจวบคีรีขันธ์ ,เหล่าแพทย์ และเหล่าปืนใหญ่ จว.ลพบุรี ,เหล่าม้า จว.สระบุรี ,เหล่าสื่อสาร จว.สมทรสาคร เป็นต้น โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับยศสิบตรี บรรจุเข้ารับราชการตามหน่วยต่างๆของ กองทัพบกทั่วประเทศ
การดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกโดย กรมยุทธศึกษาทหารบก ถนนเทิดดำริ เขตดุสิต จว.กรุงเทพฯ (มาจาก ตจว.ลงสถานีรถไฟสามเสน แล้วเดินมาประมาณ 100 เมตร ) โดยห้วงเวลาในการรับสมัครประมาณ เดือน กุมพาพันธ์ของทุกปี
ข้อมูลเพิ่มเติมเว็บไซต์ของกรมยุทธศึกษาทหารบก www.atc-rta.com

โรงเรียนจ่าอากาศ เลขที่ 171/1 หมู่ 10 ถนนพหลโยธิน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพ ฯ 10210 โทรศัพท์ที่ติดต่อ 02-5343763 ,02- 5344365
เว็บไซต์ www.atts.rtaf.mi.th

โรงเรียนจ่าทหารทหารเรือ
เว็บไซต์ www.nrs.ac.th
สำหรับหลักสูตรนี้โดยทั่วไปผู้ที่มีผลการศึกษาดีเลิศ อันดับ 1-2 ของแต่ละเหล่าจะได้รับโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยของแต่ละเหล่า
ลำดับสุดท้ายคือผู้ที่พลาดหวังหรือไม่ต้องการที่จะรับราชการอาชีพทหาร แต่ท่านก็ยังต้องเข้ารับการตรวจสอบและคัดเลือกทหารประจำปีเช่นกันคือการปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมาย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ตอนที่ มาตราที่ ระบุไว้ว่า หน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ แต่ปัจจุบันศึกสงครามมีน้อยลงกว่าอดีต จำนวนทหารที่ต้องการจึงมีจำนวนลดลง แต่ทุกคนก็ต้องปฎิบัติ คือ เมื่อมีอายุครบ ๑๗ ปีจะต้องไปขึ้นทะเบียนทหาร เพื่อจะได้รับหลักฐาน จากนั้นเมื่อมีอายุครบ 21 ปีจะต้องรายงานตัวเพื่อเข้ารับการคัดเลือกที่อำเภอท้องที่ตามภูมิลำเนาอาศัยอยู่ ปัจจุบันใช้ระบบการจับฉลากใบแดงใบดำ ถ้าจับได้ใบแดงจะต้องเข้ารับราชการทหารเป็นเวลา 2 ปี(ยกเว้นกรณีผ่อนผันเช่น เรียน รด.มาก่อน) ถ้าหากได้ใบดำก็ไม่ต้องรับการคัดเลือกจะได้รับหลักฐานผ่านการคัดเลือกคือ ใบ สด.
สุดท้ายของสุดท้ายผู้ที่ยังต้องการเป็นทหารจริง สามารถสมัครเข้ารับราชการเป็นพลทหารอาสาสมัคร กองพันจู่โจม ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้จากลิงค์นี้นะครับ
 ข้อมูลสมัครสอบพลอาสาพันจู่โจม
บทสรุป
อาชีพทหารเป็นอาชีพที่มีเกียรติ รายได้น้อยแต่มีความมั่นคงและสวัสดิการอื่น ๆทดแทน เช่น ค่ารักษาพยาบาลฟรี ทั้งพ่อแม่บุตรภรรยา เป็นต้น นอกจากนั้นข้อพิจารณาคือต้องมีความอดทน เสียสละและมีสุขภาพแข็งแรงเนื่องจากเป็นอาชีพที่จะต้องมีความจำเป็นในการใช้กำลังในการฝึกศึกษาเพื่อให้มีความพร้อมในการสู้รบกับอริราชศัตรูของแผ่นดินเมื่อเกิดศึกสงครามต่อไป
สุดท้ายจริงๆ จากคนเขียนบทความนี้ เป็นอาชีพทหารหรือไม่ไม่สำคัญ ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของชาติและมีคุณค่าด้านอื่นๆ เช่นกัน ขอเพียงเป็นคนดีของสังคมสำคัญที่สุด

ทหารอาสาสมัครกองพันจู่โจม


อีกหนึ่งทางเลือกของชายไทย ที่ใจรักและแสวงหาความท้าทายในชีวิต และอาจจะเป็นบันไดก้าวแรกของน้องๆ หลายคนในการก้าวไปสู่โรงเรียนนายสิบทหารบก หรือโรงเรียนนายร้อยต่อไป จู่โจมพร้อมเสมอ รบที่ไหน เมื่อใด พร้อมไปเสมอ ..........พิสูจน์ความแข็งแกร่งร่างกายและจิตใจ ได้รับโอกาสศึกษาหลักสูตรการกระโดดร่มจากโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ จ.ลพบุรี สอบถามกันเข้ามาเยอะพอสมควรก็เลยจัดหามาลงให้ไว้ รับจำนวนจำกัดขอให้โชคดีทุกคนนะครับ

คุณสมบัติผู้สมัครทั่วไป
มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
การศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้น ป.6 อายุ 18 - 25 ปี
มีส่วนสูง 160 ซม. ขึ้นไป
ไม่รับผู้จบ รด.ปี 3 ขึ้นไป และทหารกองหนุน
ห้วงเวลาในการรับสมัคร
ห้วงเวลาในการรับสมัคร ประมาณ เดือน ต.ค. หรือ พ.ค. ของทุกปี
สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ www.rta.mi.th/26000u

การสอบ คัดเลือก
1.ทดสอบร่างกาย ( ทำทุกท่าให้ดีที่สุด )
ท่าดันพื้น และท่าลุกนั่ง ในเวลา 2 นาที , ดึงข้อราวเดี่ยว ไม่ต่ำกว่า ๗ ครั้ง
วิ่งระยะทาง 1 ไมล์ ,ว่ายน้ำระยะทาง 100 เมตร
2.สัมภาษณ์/ตรวจโรค   ผู้ที่ผ่านการทดสอบ ร่างกายเท่านั้นถึงมีสิทธิที่จะ เข้าสัมภาษณ์และการตรวจโรค
กองพันจู่โจม
กรมรบพิเศษที่ 3 กองพลรบพิเศษที่ 1
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
เปิดรับสมัคร ชายไทย การศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 อายุระหว่าง 18 - 25 ปี
มีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง ใจถึง คัดเลือกเป็น
พลทหารกองประจำการ (อาสาสมัคร) รุ่นที่ 18 (จำนวน 74 นาย)
เริ่มรับสมัคร ห้วง  ต.ค. ของทุกปี
สถานที่รับสมัคร ศูนย์การศึกษา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ศูนย์สงครามพิเศษ อ.เมือง จ.ลพบุรี
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ : กองพันจู่โจม
ค่ายเอราวัณ ต. เขาสามยอด อ.เมือง จ. ลพบุรี 15000
โทรบ้านเมือง : ( 036 ) 412648 , ( 036 ) 412668
โทรทหาร : 31-23310 , 37724 ,37725
สิทธิในระหว่างรับราชการ
จำนวนปี เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง พ.จ.จ. รวม
ทหารใหม่ 1,490 2,250 - 3,740
ปีที่ 1 3,350 2,250 2,700 8,300
ปีที่ 2 3,800 2,250 2,700 8,750
ปีที่ 3 4,020 2,250 2,700 8,970
ปีที่ 4 4,230 2,250 2,700 9,180
ปีที่ 5 4,450 2,250 2,700 9,400
• ทหารใหม่ ใช้เวลาในฝึกทั้งสิ้น 10 สัปดาห์
• พ.จ.จ. หมายถึง เงินเพิ่มพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรบแบบจู่โจม จะได้รับเมื่อจบการศึกษาหลักสูตรส่งทางอากาศ (หลักสูตรกระโดดร่ม)

คุณสมบัติผู้เข้ารับสมัคร
1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ( ป.6 )
3. ไม่เป็นสมณเพศ ไม่เป็นนักบวชหรือนักพรตในศาสนาอื่น
4. เป็นทหารกองเกิน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-25 ปีบริบูรณ์
( เกิด พ.ศ.2525 – 2532 เว้น พ.ศ.2529 )
5. ไม่รับผู้จบ รด.ปี 3 ขึ้นไป และทหารกองหนุน
6. ต้องไม่เป็นคนพิการ ทุพพลภาพ หรือไม่เป็นโรคที่ขัดต่อ
การรับราชการทหาร มีส่วนสูง 160 ซม.ขึ้นไป
7. ไม่ถูกสั่งพักราชการ หรือถูกปลดออกจากราชการ
8. ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ระหว่างตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา


9. ไม่เป็นผู้ซึ่งเคยถูกพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
(เว้นเป็นความผิดลักษณะลหุโทษ หรือความผิดซึ่งกระทำโดยความประมาท )

หลักฐานการรับสมัคร
1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัคร และบิดา- มารดา พร้อมตัวจริง
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมตัวจริง
3. สำเนา สด.9 หรือ สด.43 พร้อมตัวจริง
4. สำเนาการจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรม (ถ้ามีพร้อมตัวจริง)
5. สำเนาการเปลี่ยน ชื่อ – นามสกุล ( ถ้ามี พร้อมตัวจริง )
6. สำเนามรณะบัตรของ บิดา – มารดา ( ถ้ามี พร้อมตัวจริง )
7. สำเนาใบสมรส (ถ้ามี พร้อมตัวจริง )
8. สำเนาวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ ป.6
9. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
• ข้อ 1 – 8 ถ่ายสำเนาอย่างละ 1 ชุด

กำหนดการทดสอบ / ตรวจโรค
กำหนดการ วันที่ เวลา
* ทดสอบร่างกาย 22 ต.ค.50 0800-1630
* ประกาศผลขั้นที่ 1 23 ต.ค.50 0700
* ทดสอบกำลังใจ (9 สถานี) 23 ต.ค.50 0800-1630
* สัมภาษณ์/ตรวจโรค 24 ต.ค.50 0800-1630
* ประกาศผลครั้งสุดท้าย 25 ต.ค.50 1300
* รายงานตัวเข้ารับการฝึก 1 พ.ย.50 0830

ผังสถานที่รับสมัคร
ศูนย์การศึกษา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศูนย์สงครามพิเศษ อ.เมือง จ.ลพบุรี

ผังสถานที่ทำการทดสอบ
กองพันจู่โจม ค่ายเอราวัณ ต.เขาสามยอด อ.เมือง
จ.ลพบุรี โทร.(036)412648, ( 036 ) 412668
ท่าที่ใช้ในการทดสอบร่างกาย

ท่าดันพื้น ภายในเวลา 2 นาที

ท่าลุกนั่ง ภายในเวลา 2 นาที

ดึงข้อราวเดี่ยว ต่อเนื่องกัน

วิ่งระยะทาง 1 ไมล์

ว่ายน้ำระยะทาง 100 เมตร
ทดสอบกำลังใจ 9 สถานี

• พ.จ.จ. หมายถึง เงินเพิ่มพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรบแบบจู่โจม
จะได้รับเมื่อจบการศึกษาหลักสูตรส่งทางอากาศ (หลักสูตรกระโดดร่ม)

บุคคลพลเรือนสอบนายทหารสัญญาบัตร ยศ.ทบ.


จุดประสงค์หลัก เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้สนใจทั่วไปที่มีความประสงค์จะสอบเข้ารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร ในส่วนของกองทัพบก ซึ่งจะมีการเปิดสอบเป็นประจำทุกปี เพื่อทดแทนในตำแหน่งที่ขาดอัตราและหน่วยมีความต้องการเป็นพิเศษ โดยรับสมัครจากบุคคลพลเรือนทั่วไปซึ่งสำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและโท เพื่อบรรจุเข้าเป็นนายทหารสัญญาบัตรในหน่วยต่างๆของ ทบ. สำหรับจำนวนที่รับได้ในแต่ละปีก็ประมาณ 80-90 นายโดยประมาณ โดยมีความต้องการในสาขาที่จบมาหลากหลายอาทิเช่นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งบุคคลชายและหญิง จำนวน ๘๗ ตำแหน่ง ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป, วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์การแพทย์, คหกรรมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, ศาสนศาสตร์ และการเงิน การบัญชี ระดับปริญญาโท ทั้งบุคคลชายและหญิง จำนวน ๙ ตำแหน่ง ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป, วิศวกรรมศาสตร์, ศิลปศาสตร์ และอักษรศาสตร์
สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสอบ อย่าลืมติดตามข่าวสารจากทางเว็บนะครับ ปกติก็จะมีการรับสมัครในห้วงเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี โดยมี กรมยุทธศึกษาทหารบก เป็นหน่วยรับผิดชอบในการดำเนินการสอบ (แถวๆสถานีรถไฟสามเสน) รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ กองกำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารบก ถนน
เทอดดำริ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ โทร.๐-๒๒๙๗-๖๑๘๖ หรือ เว็บไซต์ http://www.atc-rta.com

Saturday, September 12, 2009

ข้อแตกต่างของ LZ และ DZ

วันนี้นั่งดูสถติบล็อกมี New Visitor หรือผู้เยี่ยมชมใหม่จำนวนตั้ง 23 คนนะครับ อือเยอะไม่เบานะเนีย ค่อยมีกำลังใจเขียนต่อไปหน่อย อย่างน้อยก็ยังมีคนหลงเข้ามาหรือตั้งใจค้นหาก็คงมีละครับกับ keyword หลักของบล็อกคือคำว่า ทหารพลร่ม หรือ Thai airborne นั้นเอง โดยทั้ง 23 คนเป็นสถิติที่แสดงว่ามาจาก google search engine ชื่อดังนั้นแหละครับ ก็ OK ครับ เพราะเนื้อหาองบล็อกก็ยังไม่มากเท่าไหร่และผมเองก็ยังไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์มากนัก แค่ลงทะเบียนกับบริการสืบค้นข้อมูลของ Google.com เท่านั้นเอง คาดว่าผู้ชมบล็อกนี้ส่วนมากคงจะเป็นทหารหรือตำรวจและผู้สนใจเรื่องราวของทหารตำรวจโดยทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารรบพิเศษ พลร่มหรือจู่โจมอะไทำนองนั้น เกริ่นตั้งนานอีกแล้ว กลัวคนอ่านจะแว้บไปซะก่อน ขอเข้าประเด็นตาที่จั่วหัวเรื่องไว้ดีกว่า ก็เรื่องของภาษาปะกิตคำย่ออีกแล้วครับ
คำแรก LZ ก็มาจาำกคำเต็มคือ Landing Zone แปลเป็นไทยว่า เขตหรือพื้นที่ลงจอดแล้วให้คนลง ประมาณนั้น
คำที่สอง DZ คำเต็มคือ Drop Zone เขตหรือพื้นที่ส่งลง
แล้วสองคำนี้มันต่างกันอย่างไร หรือใช้งานต่างกันตรงไหน ต้องออกตัวก่อนว่าผมเองก็ไม่ได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงจากตำราหรือหลักนิยมใด แต่เขียนขึ้นมาจากการเข้าใจเอาเองของกระผมเอง โดยเทียบเคียงเอาจากคำแปลภาษาอังกฤษเอาครับ ถ้ามีท่านผู้รู้จริงหรือมีข้อมูลเสนอแนะอ้างอิงก็ยินดีนะครับ ฝาก Post ไว้ได้เลยจักขอบพระคุณยิ่งครับ so, ดังนั้นขอเอาตามความเข้าใจของผม (นั่งเทียนไปก่อนละกัน)หวังว่าผู้อ่านคงพอจำได้ในเรื่องของ การยุทธ์ส่งทางอากาศนะครับ เครื่องบินนำทหารพลร่มไปแล้วให้ทหารกระโดดลงมาเอง จากนั้นบินกลับ (ตัวใครตัวเผือก) และอีกคำคือ การยทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ บ.หรือ ฮ. นำทหารพลรบไปแล้วลงจอด คือ Landing นั้นเอง จากนั้นทหารก็ลงจาก บ.หรือ ฮ. เพื่อทำภารกิจต่อไป ดังนั้นถ้าผมเป็น สธ.3 ได้รับคำสั่งว่าให้วางแผนเข้าตีบรรจบข้าศึกด้วยการยุทธ์ส่งทางอากาศ ผมจะ้ต้องประสานหรือออกคำสั่งให้หน่วย ลว.ไกลหรือ รพศ. ทำการ ลว.หา เขตหรือพื้นที่ส่งลงที่มีความเหมาะสมครับ นั้นก็คือให้ไปตรวจสอบหา DZ ทีเหมาะสมนั้นเองครับ หวังว่าคงพอจะเข้าใจความหมาย ความแตกต่างและการใช้งานของสองคำนี้แล้วนะครับ ผิดตกขออภัย มีอะไรชี้แนะ ฝาก Post ไว้เลยครับ Thanks

Friday, September 11, 2009

อยากเป็นทหารพลร่มหญิง

สำหรับน้องๆบางคนที่มีความใฝ่ฝันอยากสวมเครื่องแบบทหาร เป็นทหารอาชีพ แล้วยังไม่พอยังต้องการเป็ทหารพลร่มหญิงอีกจะทำงัยดี วันนี้ผมก้พอจะมีคำแนะนำและแนวทางเล็กๆ น้อยๆ พอให้น้องๆ ทุกคนที่อยากเป็นทหารพลร่มหญิงได้ลองพิารณาศึกษาดูนะครับ อันดับแรกสุดเลยคือน้องต้องสอบเป็นทหารให้ได้่ก่อนครับ ปัจจุบันโรงเรียนายร้อยตำรวจหญิงก็มีแล้ว อนาคตโรงเรียนนายร้อยทหารหญิงอาจจะเกิดก็ได้ใครจะไปรู้ โรงเรียนทหารที่รับสมัครผู้หญิงปัจจุบันก็มีทั้งระัดับสัญญาบัตรนายทหารและชั้นประทวนหรือนายสิบ คือวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ซึ่งการสอบแข่งขันเข้ารับผู้จบ ม.หก คล้ายๆ สอบเข้ามหาลัยนั้นแหละครับ เป็นหลักสูตรประมาณ 5-6 ปีโดยประมาณ การสอบเข้าก็คงมีการแข่งขันสูงมากอยู่ ดังนั้นน้องๆ ทีสนใจอยากเป็นจะต้องตั้งใจเรียนให้เก่งๆ รวมทั้งเรียนกวดวิชาด้วยถ้าเป็นไปได้ ที่นี่พอสอบเข้ามหาลัยก็สมัครสอบในส่วนของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกดูนะครับ และในช่วงที่น้องเรียนอยู่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ก็จะมีโอกาสได้เข้าเรียนหลักสูตรพลร่มที่ รร.สพศ.ศสพ. ร่วมกับนักเรียนนายร้อย จปร. ด้วย จากนั้นถ้าเรียนจบพยาบาลแล้ว น้องยังอยากจะเป็นทหารพลร่ม (อยากลำบากอยู่อีก อิอิ) ก็เลือกรับราชการในส่วนของกองพยาบาล ศูนย์สงครามพิเศษนะครับ ที่นี่ละน้องก็จะไ้เป็นทหารพลร่มแบบเต็มตัวและหัวใจแน่นอนครับ
มาดูหนทางที่สองกรณีอายุอานามผ่านวัยสอบเข้ามหาลัยมาแล้ว หรือสอบแล้วไม่ได้ อาจจเข้ามหาลัยสาขาอื่นหรือจบด้านอื่นๆ ก็ว่ากันไป ทางเลือกถ้าจบปริญญาตรีก็ไปสมัครสอบนายทหารสัญญาบัตรที่ กมยุทธศุกษาทหารบก สามเสน ให้ได้ครับเปิดรับทุกปี รับ 80 โดยประมาณ ก็ตั้งใจอ่านหนังสือแล้วลองสอบดูครับ สอบได้อบรมเดือนเดียวติดยศ ทำงานแล้วก็พยายามขอมาเรียนร่มที่ รร.สพศ.ศสพ. จากนั้นก็มาติดต่อขอย้ายเข้ามาอยู่หน่วยใช้ร่มครับ (ได้เงิน พดร.7000 บาทต่อเดือนครับ)
แนวทางที่สาม ค่อนข้างปิดและรับน้อยครับ ต้องคอยตามข่าวสารให้ดีๆ ถึงดีที่สุดถึงจะพอทาบข่าวครับ คือสมัครเข้าเป็นพลร่มหญิงของ กองพลาธิการส่งกำลังทางอากาศ จว.ลพบุรีครับ อยู่ข้างๆ โรงเรียนร่มนะครับ งานหนัก เงินน้อย ยศไม่มี ประมาณว่าเป็นลูกจ้าง หน้าที่หลักก็คือพับร่ม แต่ถ้าใจสู้ก็เริ่มจากตรงนี้ได้ครับ หลายๆๆๆ คนแจ้งเกิดจากตรงนี้ เช่น เข้าเรียนร่มแล้ว มีแววเก่ง จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นตัวแทนของกองทัพบกไปแข่งระดับประเทศ และโลก ได้เป็นแชมป์โลกมาแล้วก็หลายคนและได้รับการตอบแทนเป็นนายทหารหญิงก็หลายคน เช่นพี่ อรทัย นันทารมณ์ เรียนร่มด้วยกันตอนนี้พี่เขาก็ติดยศพันตรีแล้วครับ หรืออีกคนก็พี่จำชื่อไม่ได้แกเปลี่ยนชื่อบ่อยๆ

Thursday, September 10, 2009

อยากเรียนร่มแต่ไม่ได้อยู่หน่วยใช้ร่มทำงัยดี?

อยากเรียนร่มแต่ไม่ได้อยู่หน่วยใช้ร่มทำงัยดี? เฮ้อ! กรรมของเวร ทำงัยดี ผู้รู้ช่วยตอบที !!!! ปัญหาโลกแตกเหมือนไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันนะเนี้ย จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมและจากสมมติฐานที่ผมทึกทักเอาเองว่า มีกำลังพลขอ ทบ.หลายๆๆๆๆ คน ที่ไม่ได้สังกัดหน่วยใช้ร่ม แต่มีความต้องการจะสมัครเข้าเรียนหลักสูตรส่งทางอากาศ หรือหลักสูตรร่มนั้นแหละ เป็นจำนวนพอสมควร (ตัวเลขจริงผมไม่รู้หรอกแค่เดาๆ) ถ้าเป็นมุมมองของผมก็ขออธิบายประมณนี้ครับ
เริ่มจากข้อหนึ่งก่อนครับ Possibility คือความเป็นไปได้ก่อนว่าเป็นไปได้ไหม ข้อนี้ตอบไม่ยาก ว่าเป็นไปได้ครับ หรือ Possibility ครับ แต่จำนวนน้อยมากๆ ที่ผ่านมาก็มีบ้างประปราย ตามความสามารถทางร่างกาย และการพิจารณาของ ผบช.ระดับสูงๆ ครับ
เหตุผลรองรับ ปัจจุบันแม้แต่หน่วยใช้ร่มเองก็ยังมีคนที่ไม่สำเร็จหลักสูตรร่มกันบานโข ต้องคอยคิวกันยาวเหยียดๆๆๆ เช่นกัน ดังนั้นความเร่งด่วนจึงจัดให้กำลังพลเหล่านี้ก่อนครับ เพราเป็นหน่วยใช้ร่มโดยตรง และมีความจำเป็นต้องใช้งานมากกว่านั้นเอง นี่คงเป็นเหตุผลหลักใหญ่ข้อเดียวที่ผมพอจะนึกออก ส่วนข้ออื่นๆ อาจจะมีแต่ยังนึกไม่ออกบอกไม่ถูก ไว้สมองโปร่งๆ แล้วจะมาขัดเกลาให้เพิ่มเติมครับ

ความหมายและข้อแตกต่างของ PX กับ BX

บางคนอาจจะรู้บางคนอาจจะไม่รู้ สำหรับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อย ที่ผมนำมาฝากและแบ่งบันก็คือคำว่า PX กับ BX ครับ แน่นอนครับว่าสองคำนี้ เค้ามาไกลแน่นอน ดูจาชื่อย่อแล้วก็คงรู้เป็นของฝรั่งธรรมเนียมเค้า ที่ให้บริการขายสินค้า เล็กๆ น้อยๆ ให้กำลังพลภายในค่ายของ สินค้าส่วนมากก็เป็นเสื้อผ้าทหาร อุปกรณ์จำเป็นสำหรับทหารหรือหนังสือทางทหารนะครับ แต่ปัจจุบันมันขยายใหญ่ขึ้นและมีสินค้ามากมายขึ้น เพื่อรองรับจำนวนลูกค้าที่มากขึ้นและแน่นอนไม่จำกัดเฉพาะลูกค้าทหารเท่านั้น พลเรือนก็ขายครับ เกริ่นซะยาวเข้าเรื่องดีกว่า รู้ว่าคนอ่านสมัยนี้ไมชอบอะไรที่อ้อมค้อม ชอบแบบว่าตรงๆ จี้ดๆ เร็วๆๆๆ
PX คำย่อมาจาก Post Exchange แปลตรงตัว Post ก็คือค่ายหรือที่อยู่ของทหารบกใช้ ส่วน Exchange ก็คือการแลกเปลี่ยน การค้าขาย ประมาณนั้นครับ
BX ย่อมาจาก ฺBase Exchange แปลตรงตัว Base ก็คือค่ายหรือที่อยู่ของทหารอากาศใช้ ส่วน Exchange ก็คือการแลกเปลี่ยน การค้าขาย ประมาณนั้นครับ
หวังว่าคงพอเข้าใจและได้ความรู้เล็กๆน้อยๆนี้ไปนะครับ Thanks

ถามว่าเรียนร่มกับจู่โจมอย่างไหนเหนื่อยกว่ากันครับ

คำตอบสำหรับผมนะครับ มันก็เหนื่อยทั้งคู่แหละครับ แต่จู่โจมจะยาวกว่าเท่านั้นเองครับ เรียนร่มก็ต้องวิ่งทุกวัน เช้าเย็น เพื่อเอากำลังขานั้นแหละครับ แม้ว่ามันจะไ่ต้องแบกเป้ถือปืนวิ่งเหมือนหลักสูตรจู่โจมก็ตามที แต่มันก็วิ่งนานและไม่ค่อยหยุดซะด้วย ตอนเย็นๆ วิ่งกันสัก 5 โมงเย็น ก็วิ่งไปเรื่อยๆ แหละครับ สักประมาณ 2-3 ชั่วโมงได้ บางทีครูฝึกเคยพาวิ่งออกนอกค่ายไปที่ 4 แยกเอราวัณนะครับ แต่ปัจจุบันรถมันเยอะ (ผมคิดเอาเอง) รุ่นหลังๆ ก็เลยต้องวิ่งในค่ายเป็นหลัก ดังนั้นใครทีจบ Ranger มาก่อน หรือคิดว่ามาเรียนร่มหลักสูตรพักผ่อนก็คิดผิดแน่นอนครับ ทางที่ดีต้องตรียมร่างกายและหัวใจมาให้พร้อมครับ ไม่งั้นอาจจะยางแตกหรือจอดไม่ต้องแจวก่อนเวลาอันควรแน่ๆ ครับ ความสุขของนักเรียนร่มจะมากกว่านักเรียนจู่โจมก็ตรงที่หลังทานอาหารเย็นเสร็จแล้ว ก็เป็นเวลาส่วนตัวของนักเรียน ก็จะขัดรองเท้า ขัดเครื่องหมาย เตรียมชุด พร้อมรับการตรวจร่างกายในตอนเช้านะครับ บางที่ก็มีญาตเอาของมาฝาให้ทาน ส่วนมาก็จะเป็นขนม หรือผลไม้นะครับ หรือใครบ้านไกลก็ซื้อหาจาก PX ของกองร้อยนั้นแหละครับ ที่ขายดีก็คงเป็นนมถั่วเหลืองไวตามิลค์นะครับ และขนมหวานพวก Cake ราคา 5บาท 10 บาท ประมาณนั้น ถ้าเป็นช่วงหลักสูตจู่โจมเข้าด้วยกัน ก็จะมีเรื่องเล่าตลกๆ เพราะกองร้อย นร.จจ.และ นร.ร่ม มันตั้งอยู่ตรงข้ามใกล้กัน จำนวนนักเรียนของสองหลักสูตรก็โขอยู่ประมาณรุ่นละ 200 คน ต่อหลักสูตร สังเกตได้ง่ายๆ นักเรียนร่ม ครูฝึกจะให้อาบน้ำแปะแป้งหน้าขาวหอมกลุ่นกันทุกคน ส่วนกองร้อยนักเียนจู่โจมก็จะกลับมาจากฝึกช้าหน่อย หน้าตาหิวโซมาแล้ว ใบหน้าก็จะเห็นแต่ลูกตา เพราะูถูกทาไว้ด้วยแป้งเหมือนกัน แต่เป็นสีพรางหน้าสีดำเมี่ยมทีเดียว
เขียนไปเีขียนมา ซักงงตัวเอง ออกนอกประเด็ไปเรือยเลย จบดีว่า แล้วถ้ามีเวลาจะมาเกาให้ใหม่ไปละ
สรุปคือว่า มันเหนือยทั้งสอหลักสูตร แต่เหนือยคนละแบบ และ จจ.จะเหนือยนานกว่า ครับ

การยุทธ์ส่งทางอากาศ

การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ Airborne Operation คือการเคลื่อนย้ายหน่วยกำลังรบที่เป็นหน่วยส่งทางอากาศ (Airborne units) พร้อมทั้งหน่วยสนับสนุนที่จำเป็น ไปส่งลงพื้นที่หมาย DZ เพื่อปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีหรือทางยุทธศาสตร์ โดยใช้ร่มชูชีพ และหรือ การบินลงด้วยอากาศยานขนส่งแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับภารกิจแะสถานการณ์
ภารกิจที่เหมาะสมสำหรับการยุทธ์ส่งทางอากาศ
เข้ายึดและรักษาที่หมายสำคัญ จนกว่าจะมีการยุทธบรรจบทางพื้นดิน
ขยายผลารยิง
เข้าครอบครองพื้นที่หรือเพิ่มเติมกำลังให้แก่หน่วยในพื้นที่
เข้ายึดตำบลสำคัญ
เคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่การรบ
เป็นกองหนุนทางยุทธศาสตร์
ตัวอย่างการยุทธ์ส่งทางอากาศ
ใครที่เคยดูหนังเรื่อง saving private ryan ที่นำแสดงโดย Tom Hank คงจะพอนึกออกถึงภาพของหน่วยทหาร AIrborne ที่กระโดดร่มลงหลังแนวของข้าศึกและพลัดหายไป ทำให้พระเอกต้องออกตามหานั้นแหละครับ ละนั้นมันก็นานมากแล้วด้วยครับ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ครับ ส่วนการยุทธ์ส่งทางอากาศสมัยใหม่ผมนึกไม่ออกจริงๆ ต้องลอง search จาก google ดูก่อน เผื่อจะมีแ้ล้วจะนำมาอัพเดทให้นะครับ ตอนนี้ลองชมวีดีโอเกี่ยวกับ Airborne เพื่อสร้างแรงจูงใจก่อนครับ สำหรับทหารพลร่มทุกคนและู้ที่ต้องการจะเป็นทหารพลร่มคับ


การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ

นิยามของการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Airlift Operation จะแตกต่างจาก การยุทธ์ส่งทางอากาศ Airborn Operation อยู่ที่การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ คือการที่อากาศยาน (ฮ.ลำเลียง) บรรทุกทหารหรือพลรบจากพื้นที่รวมพลเพื่อนำเข้าสู่พื้นที่หรือที่หมายที่ต้องการยึดครองด้วยความรวดเร็ว จู่โจม ซึ่งจุดเด่นอยู่ที่การเดินทางที่รวดเร็ว พื้นที่และสิ่งกีดขวางไม่เป็นอุปสรรคนั้นเอง ส่วนข้อด้อยก็คืออาจถูกตรวจพบและทำลายตั้แต่อยู่บนอากาศยานและสภาพอากาศที่เลวร้ายอาจทำให้ภารกิจจบเห่ได้ง่าย ๆ
คุณลักษณะของการการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ 5 ประการ
ปฏิบัติการด้วยการจู่โจม
มีความอ่อนตัว
สามารถดำเนินกลยุทธ์เหนือพื้นที่ AO อันกว้างขวาง
ปฏิบัติการตรงจังหวะเวลาที่แน่นอน
ปฏิบัติการด้วยความรวดเร็ว
พื้นที่ที่เหมาะต่อการปฏิบัติการ 2 ประการ
พื้นที่ที่มีการต้านทานจากข้าศึกเบาบาง
พื้นที่หรือ Ao ที่สามารถทำลายอำนาจกำลังรบของข้าศึกไว้ก่อนด้วย อาวุธยิงสนับสนุน
สำหรับหน่วยทหารของไทยที่สามารถทำการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศได้ก็คือหน่วยเคลื่อนที่เร็วของกองทัพบกหรือว่าหน่วย RDF
ตัวอย่างของการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ ของจริงก็คงมีแต่ต้องขอสืบคนหาข้อมูลก่อน ส่วนที่ดูในหนังดังของฝรั่ง ก็มีเรื่อง Black Hawk Down และ เรื่อง black hawk down ครับ ถ้าใครเคยดูคงจะจำกันได้นะครับ สำหรับฉากของการการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ ซึ่งมีเนื้อหาของเรื่องมาจากการปฏิบัติการจริงในอดีต แต่ว่านำมาปรับเป็นบทหนังหรือภาพยนตร์ก็ต้องมีการใส่สีตีกรอบพื่อให้มีสีสันเรียกผู้ชมนะครับ ลองคลิกดูตัวอย่างจากวีดีโอจากยูทู๊ปข้างล่างได้ครับ

Wednesday, September 9, 2009

ตกหลักสูตรจู่โจมรุ่นที่ 113

หลักสูตรจู่โจมหรือเสือคาบดาบ หรือ ผู้นำหน่วยทหารขนาดเล็ก Ranger หลักสูตรใช้แรงงาน หลักสูตรลูกหาบ ความยาวหลักสูตร 10 สัปดาห์ ก็สองเดือนกว่าๆ แบ่งออก 3 ภาค เริ่มจากเบาไปหาหนัก คือภาคที่ตั้ง ภาคป่าภูเขา และภาคทะเลที่ลุ่ม ผมเข้าเรียนที่ รร.สพศ.ศสพ. รุ่นที่ 113 รุ่นสุดท้ายของ รร.สพศ. ก่อนที่จะส่งมอบให้ ศร.ฝึกเพียงหน่วยเดียว รับน้องวันแรกโครตหนักเลย โดยอาจารย์ ชวน ประเสรฐศรี จำได้แม่นที่สุด นักรบเก่าหลายสมรภูมิ และเจ้าของเครื่องหมายฉลามขาวว่ายน้ำ (มนุษย์กบนั้นแหละ) เป็นเครื่องการันตีความขลัง ตามมาด้วยกบรุ่นใหม่และ รีคอนอีกหลายคน เฮ้อ อยากจะลาออก แต่คิดถึงความสำเร็จข้างหน้า ก็เลย ต้องกัดฟันกัดใจสู้ต่อไป

Monday, September 7, 2009

สนามกระโดดร่มพัชรกิตติยาภา



ขนาดประมาณ 400 ไร่ สำหรับรองรับการฝึกกระโดดร่มจากบอลลูนและอากาศยานของนักเรียนทหารพลร่ม แต่ปัจจุบันการกระโดดร่มจากเครื่องบินนิยมไปที่สนามโดดบ้านท่าเดื่อมากกว่า เพราะสนมใหญ่มากเป็นพันไร่ จึงมีพื้นที่ให้ลงพื้นหรือ Landing ได้อย่างสะดวกเสรี มีความปลอดภัยมากกว่า เรียกว่าโอกาสหลุดสนามแทบไม่มี ก็ว่าได้

ร่มบุคคลโดด MC1-1B



ยังไม่ได้แปลครับ เอาเป็นว่าทหารพลร่มไทยเรียกว่าร่มกลมครับ เพราะรูปทรงมันกลมๆ นั้นเอง เป็นร่มบุคคลโดดแบบสายดึงประจำที่หรือ Static paracute นั้นเองครับ การตอบสนองของร่มค่อนข้างช้า และการลงพื้นหรือ Landing ค่องข้างรุนแรง การโดดจะโดดสูงประมาณ 1250 ฟุต
MC1-1B Maneuverable Canopy Parachute
Depending on the jumper’s total weight and relative air density, the average rates of descent are 14 to 22 feet per second . Nominal diameter is 35 feet (measured 3 feet up from the skirt) and 24.5 feet at the skirt. The anti-inversion net is sewn 18 inches down on each suspension line and is made of 3 3/4-inch square mesh, knotless, braided nylon. Combined shelf life and service life is 16.5 years; service life is 12 years, and shelf life is 4.5 years. The canopies are repacked every 120 days. The canopies are suitable for airdropping personnel from as high as 10,000 feet MSL.

The MC1-1B has an estimated 8.8-second turn rate. The bridle loop is 3 inches in diameter; it is made of Type VIII nylon with a tensile strength of 3,600 pounds. The 15 apex vent lines are 19 inches long and made of Type II nylon cord with a tensile strength of 375 pounds. The apex vent lines with centering lines keep the bridle loop in place and the canopy even during deployment. The apex vent cap has a 3-inch diameter opening, which reduces oscillation and assists in a positive opening of the canopy. The upper lateral band is 1-inch tubular nylon with a tensile strength of 4,000 pounds. It is sewn in as reinforcement, since the first 64 inches of the canopy is a high-pressure area.

Each canopy has 30 gores with five sections in each gore. Each gore is numbered 1 through 30, and each section is sewn diagonally to prevent rips and holes from spreading throughout the canopy. The 30 radial seams are 9/16 inch wide and 17 feet 2 7/32 inches long, measured from the upper lateral band to the lower lateral band.

The T-U shaped configuration has 11 gores removed (25 to 5) from the rear (100.4 square feet of canopy), which enables the canopy to turn 360 degrees in 8.8 seconds and gives a forward thrust of 8 knots (9.5 mph), or 14 feet per second. Two 28-foot-long control lines are attached to a control bridle that in turn is attached to radial seams 5 and 6. They are 6 feet long and attached to seams 25 and 26. They run down and out to the front of the rear set of risers and through the control line channel and control line guide ring. They are attached to a toggle that is a 5/8-inch diameter hardwood dowel.

The lower lateral band is a 1-inch nylon tape with a tensile strength of 525 pounds. The 15 pocket bands ensure positive opening of the canopy. The 30 V-tabs are 9/16 inch wide and are sewn over the suspension lines to the lower lateral band for reinforcement. The 30 suspension lines are Type II nylon with a tensile strength of 375 pounds. They are 25 feet 6 inches long when measured from the lower lateral band to the L-bar connector link.

ร่มกระโดดทางทหาร MC-4



MC-4 เป็นร่มเหลี่ยม ซึ่งมีคุณสมบัติหรือข้อมูลทางวิชาการ กำลังจะรวบรวมมาลงไว้ เพื่อมีคนสนใจอยากทราบ หรือนำไปบอกต่อครับ ผมเอก็เคยโดดด้วยร่ม MC-4 ก็หลายสิบครั้ง เคยนำบรรยายสาธิตทั้งไทยและเทศก็หลายครั้งอยู่ ก็ยังไม่กระจ่างนะเนี่ย รับไม้ต่อจากพ่ชาติชาย (ขอเมนชั่นหน่อย อิอิ) ก็ไม่แน่ใจเช่นกัน เอาเป็นว่าเป็นร่มแบบกระตุกเองทางทหาร หรือ MMF Military Free Fall นั้นเอง น้ำหนักก็ประมาณ 22 KG ก็โขอยู่เช่นกัน จึงน่าจะเป็นของทหารฝรั่งเขา แต่ไทยเรานำเข้ามาใช้งานครับ ในเรื่องของการตอบสนองของร่มต่อการดึงสายบังคับถือว่าเร็วและ OK เลยครับ ส่วนการดึงเบรกเพื่อลงพื้น หรือ Landing ก็ยอดเยี่ยมครับ ลงแบบนุ่มนวล หรือยืนได้เลยครับ ไม่ล้มคว่ำล้มหงายเหมือนร่ม กลม แบบสายดึงประจำที่ครับ เอาเท่านี้ก่อนไว้จะไปขอข้อูลหรือ search จากเน็ตมาใหม่ครับ

Sunday, September 6, 2009

โรงเก็บบอลลูน



แนะนำสถานที่ สำหรับผู้ที่เป็นศิษย์เก่าทหารพลร่มของ โรงเรียนสงครามพิเศษ หวังว่าคงจะจำกันได้ หรือว่าคุ้นเคยกันพอสมควร สร้างมาปีไหน ผมก็ไม่แน่ใจ ต่ประมาณปี 2536 ผมเรียนหลักสูตรส่งทางอากาศ มันก็ตั้งอยู่ตรงนั้นแล้ว
วัตถุประสงค์ เป็นโรงเก็บบอลลูน ที่ใช้สำหรับการฝึกการกระโดดร่มของนักเรียนทหารพลร่ม และใช้เป็นที่ฝึกสอนนักเรียน เกี่ยวกับการพับร่ม การแก้ไขปัญหาร่มติดขัด หรือสถานีพิเศษ
ลักษณะทั่วไป เป็นอาคารูงสร้างด้วยปูน หลังคามุ่งสังกะสี ประตูเลื่อนเปิดปิดเป็นแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ หนักมากเวลาเปิดปิดต้องใช้นักเรียนหลายคน ความสูงก็สัก 20 เมตรได้มั่ง กะเอา ไม่เคยวัด ถ้าไม่แน่ใจใช้ google earth เข้ามาส่องดูหลังคาได้
สภาพปัจจุบัน ค่อนข้างเก่า แต่ยังใช้งานได้ดี
ปัญหาที่พบ คือนกพิราบมาอาศัยป็นบ้าน และถ่ายมูลลงมาโดนตัวบอลลูนทำให้เกิดเคมี รั่วซึมต้องซ่อมปะบ่อย มีการแก้ปัญหาด้วยการใช้หนักสติกยิงนก หรือครูใช้ปืนลูกกรดยิงไล่นก ก็ไม่หมด ตอนนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ คนยอมให้นกชั่วคราวก่อน อิอิ
สิ่งที่น่าสนใจ ภายในเป็นที่เก็บอุปกรณ์ และมีภาพถ่ายกลางอากาศของครูที่โดดร่ม สวยๆ จำนวนมากให้รับชม

อากาศยานที่ใช้ในการกระโดดร่ม เครื่องบินลำเลียงซี-130



เครื่องบินลำเลียงซี-130 (Lockheed C-130 Hercules) เป็นเครื่องบินลำเลียงใช้เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 4 เครื่องยนต์ ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและยาวนานที่สุด เครื่องเฮอร์คิวลิส บินครั้งแรกเมื่อ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1954 เริ่มประจำการใน กองทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อ ปี ค.ศ.1954 เฮอร์คิดลิสได้รับการพัฒนาตลอดมา และใช้กันในหลายประเทศ[1]
ในปี ค.ศ. 1968 เฮอร์คิวลิส ได้เริ่มเข้าสู่การบินพาณิชย์ โดยกำหนดสัญลักษณ์ใหม่สำหรับรุ่นใช้งานทางพลเรือนเป็น ล็อกฮีดแอล 100 เฮอร์คิวลิส ซึ่งมีลำตัวยาวกว่าเฮอร์คิวลิสทางการทหาร และต่อมาได้มีการพัฒนาเฮอร์คิวลิส เป็นเครื่องบินลำเลียงชั้นสูง ชื่อรุ่นว่า แอ็ดวานซ์ เฮอร์คิวลิส [1]
ในประเทศไทย ซี-130 เป็นเครื่องบินของกองทัพอากาศเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2523 ให้บริการสำหรับขนส่งข้าราชการของหน่วยงานรัฐ ที่ต้องไปราชการหรือปฏิบัติภารกิจตามหัวเมืองต่าง ๆ และภารกิจอื่นอีกมากมาย เช่น ภารกิจสำนักพระราชวัง ลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติธรรมชาติ รับ-ส่งคณะ ครม. สับเปลี่ยนกำลังพล ลำเลียงผู้เสียชีวิต ฯลฯ มีชื่อเรียกอย่างติดตลกในหมู่นักข่าวว่า "หมูหิน" เนื่องจากรูปร่างในส่วนหัวเครื่องที่มีส่วนจมูกยื่นออกมาสีดำคล้ายหมู ส่วนลำตัวที่ดูอ้วนๆ และด้วยการที่มันสามารถปฏิบัติภารกิจหนักๆ ต่างๆ ได้อย่างมากมายเกินความคุ้มค่า
ผู้สร้าง : บริษัทล็อกฮีด-จอร์เจีย(สหรัฐอเมริกา)
ประเภท : ลำเลียงพิสัยปานกลาง-ไกล เจ้าหน้าที่ 4 นาย บรรทุกทหารพร้อมอาวุธ 92 นาย หรือพลร่มพร้อมอาวุธ 64 นาย หรือ เปลพยาบาล 73 เปล
เครื่องยนต์ : เทอร์โบใบพัด อัลลิสัน ที 56-เอ 9 เอ ให้กำลังเครื่องละ 4,050 แรงม้า 4 เครื่อง
กางปีก : 40.41 เมตร
ยาว : 29.78 เมตร
สูง : 11.66 เมตร
พื้นที่ปีก : 162.12 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า : 33,063 กิโลกรัม
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 19,872 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ : 70,310 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 79,380 กิโลกรัม
อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง : 592 กิโลเมตร/ชั่วโมง
อัตราเร็วเดินทางประหยัด : 542 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เพดานบินใช้งาน : 10,060 เมตร
ระยะทางวิ่งขึ้น พัน 15 เมตร : 1543 เมตร
ระยะทางร่อนลง จาก 15 เมตร : 741 เมตร
พิสัยบิน : 4,002 กิโลเมตร

อากาศยานที่ใช้ในการกระโดดร่ม เครื่องบินลำเลียง แบบ 212



เครื่องบินลำเลียง แบบ 212 (บ.ล.212)
(CASA-212 AVIOCAR)
ผู้สร้าง บริษัท คาซ่า ประเทศสเปน
ประเภท เครื่องบินลำเลียงขนส่งทางธุรการ บรรทุกผู้โดยสารได้ 29 ที่นั่ง
เครื่องยนต์ 2 Allied Signal TPE33-12JR-701C เครื่องยนต์ละ 900 แรงม้า
การบรรทุก น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 17,857 ปอนด์
น้ำหนักบรรทุก 6,503 ปอนด์

สมรรถนะและขีดความสามารถ
ข้อมูลเพิ่มเติม ความเร็วเดินทาง 195 น๊อต ความเร็วสูงสุด 200 น๊อต
พิสัยบิน 1,375 nm

อากาศยานที่ใช้ในการกระโดดร่ม เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47



เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47 (ฮ.ล.47)
(CH-47D CHINOOK)
ผู้สร้าง บริษัทโบอิ้งเฮลิคอปเตอร์ สหรัฐอเมริกา
ประเภท เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง 38 ที่นั่ง
เครื่องยนต์ SHAFT TURBINE (Lycoming) T55-L-712 SSB
2 เครื่องยนต์ ๆ ละ 3,750 แรงม้า
การบรรทุก 54,000 ปอนด์
น้ำหนักยกหิ้วภายนอก 23,000 ปอนด์
จำนวนผู้โดยสาร 33 นาย (ทหารพร้อมอุปกรณ์)
จำนวนผู้โดยสาร 44 นาย (ติดตั้งที่นั่งเสริม) )
จำนวนผู้โดยสาร 60 นาย (พื้นที่ว่าง)
สมรรถนะและขีดความสามารถ
ข้อมูลเพิ่มเติม ความเร็วสูงสุด 170 น็อต
ความเร็วเดินทาง 130 น็อต

การกระโดดร่มแบบ Tandem



การกระโดดร่มแบบ Tandem หรือการกระโดดร่มแบบสองคนโดด โดยใช้ร่มชนิดพิเศษ ที่ได้รับกรออกแบบมาให้มีขนาดของผืนผ้าร่มใหญ่กว่าปกติ พอที่จะรับน้ำหนักของคนโดดได้สองคน
วัตถุประสงค์ของการกระโดดร่มแบบ Tandem คือการนำพาบุคคลที่มีความสำคัญเร่งด่วนต่อการทำงานหรือปฏิบัติภารกิจ เช่นแพทย์ หมอ วิศวกร ฯลฯ แทกซึมทางอากาศเข้าสู่พื้นที่การปฏิบัติการทางทหาร เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ หรือบรรลุภารกิจตามต้องการ
ลักษณะของการกระโดด ประกอบด้วยผู้โดด (ต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีและมีความชำนาญสูง) และผู้โดดสาร ซึ่งไม่มีความสามารถในการกระโดดร่ม แต่จะได้รับการแนะนำท่าทางการทรงตัวในอากาศขั้นต้น และตรวจร่างกาย จากนั้นก็จะมีการพูดคุยและซักซ้อมท่าทางกับผู้โดด โดยจะเป็นลักษณะแต่งร่มและมีสายรัดโยงเข้าด้วยกัน