Sunday, July 19, 2009

HALO / HAHO คืออะไร? ตอนที่สอง


หลักสูตรพรานเวหา High Altitude High Opening คำย่อคือ HAHO # โดดสูงเปิดสูง ลักษณะการกระโดดแบบนี้ผู้โดดหรือนักโดดจะกระโดดออกจากอากาศยาน ที่ระดับความสูงประมาณ 20000-50000 ฟิต จากพื้นดิน จากนั้นก็จะถ่วงเวลาลงมาประมาณ 5 วินาที ก็จะเปิดร่มทันที ทำให้มีเวลาบังคับร่มหรือเดินร่มแทรกซึมเข้าหลังแนวข้าศึก แบบในหนังยังงัยยังงั้นเชียวละ โดยการโดดแบบนี้นักโดดจะต้องผ่านกาฝึกฝนเป็นอย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสามารถเดินร่มเพื่อแทรกซึมเข้าสู่ที่หมายได้ห่างจากจุดที่กระโดดออกจากเครื่องบินได้ไกลมากถึง 30-50 กิโลเมตรทีเดียว ทำให้ปลอดภัยจากการตรวจจับจากเรดาห์ของฝ่ายตรงข้าม กล่าวคือเครื่องบินจะบินปล่อยนักโดด ณ จุดหรือเขตในประเทศของฝ่ายเราได้ โดดนักโดดสามารถเดินร่มแทรกซึมเข้าไปยังแนวหลังของข้าศึกได้ โดยนักโดดจะต้องมีอาวุธประจำกาย และเป้เครื่องสนามในการปฏิบัตภารกิจอีกน้ำหนักไม่น้อยกว่า 30 KG

ภารกิจที่มอบให้กับหน่วย HAHO

# แทรกซึมเข้าหลังแนวข้าศึกของหน่วยรบพิเศษ เพื่อรวบรวมข่าวสาร ค้นหาเป้าหมาย และชี้เป้าหมายให้กำลังทางอากาศ เป็นต้น
ข้อแตกต่างจาการโดดแบบ HALO คือ ด้วยความสูงที่มากถึง 20000-50000 ฟิต จากพื้นดิน ทำให้อากาศเบาบาง นักโดดจะต้องสวม O2 Mask เพื่อป้องกันการขาด ออกซิเจน นั้นเอง
# คำถามที่อยากรู้ เมื่อลงสู่พื้นดินแล้ว (ในการปฏิบัติงานจริง) นักโดดจะทำอย่างไรกับร่มโดด ? จริงๆ แล้วมก็ไม่รู้นะแต่ คิดว่านักโดดคงไม่บ้าพอที่จะเก็บร่มเข้าถุงแล้วนำติดตัวไปด้วยหรอกนะ (ร่ม MC-4 นะ มันหนัก 22 KG)ดังนั้นทางที่เป็นไปได้ก็คือ เก็บร่มแล้วซ่อนไว้ในที่มิดชิด เพื่อปกปิดร่องรอย (อาจจะทำเครื่องหมาย หรอแผนที่ลายแทงไว้ เผื่อกลับมาหาภายหลัง ) จากนัน้ก็ Proceed on mission
# นักโดดสามารถโดดแทรกซึมกลางคืนได้หรือไม่ ? ได้ครับ เป็นภาพที่ผมเคยเห็นนักโดดไทยร่วมกับฝรั่ง USA โดดที่สนามโดดพัชรกิติยาภา เมื่อสิบปีมาแล้วมั่ง เป็นภาพที่น่าทึ่งและท้าทาย อยากจะโดดมั่งจัง (แต่ยังไม่มีโอกาสครับ) โดยส่วนตัวผมคิดว่าการโดดกลางคืนต้องได้รับการฝึกฝนอย่างดี และมีอุปกรณ์ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และระบบนำทิศที่ดี ไม่งั้นโดดลงไปทำงานจริง ภารกิจคงจบเห่ง่ายๆ ถ้าโดดผิดเข้าไปอยู่ใน บก.ของข้าศึกแทนที่จะเป็นเป้าหมาย



# เครื่องหมายแสดงความสามารถของ ทบ. สำหรับผู้ที่จบหลักสูตร HAHO เป็นรูปพรานเวหา นักโดดสีเหลืองประดับบนไหล่เสื้อด้านขวา ส่วนรายละเอียดและที่มาของเครื่องหมาย เอาไว้ผมค้นหามาแล้วจะมา Post ให้อีกครั้งครับ

# เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
# การโดดร่มกระตุกเองทางทหารแบบ HALO

การกระโดดร่มแบบ HALO / HAHO คืออะไร?


HALO / HAHO คืออะไร? คนที่อยู่หน่วยรบพิเศษ หรือหน่วยส่งทางอากาศ คงจะคุ้นเคยกับเจ้าคำย่อภาษาอังกฤษสองคำนี้เป็นอย่างดี โดยเป็นคำย่อที่มาจากคำเต็มคือคำว่า High Altitude Low Opening / High Altitude High Opening หมายถึงการกระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา หรือร่มแบบกระตุกเอง หรือแบบ Free Fall นั้นเอง โดยความแตกต่างก็ดูจากคำแปลหรือความหมายของคำภาษาอังกฤษนั้นเอง คือ High Altitude Low Opening / High Altitude High Opening โดดสูงเปิดร่มต่ำ / โดดสูงเปิดสูง เพื่อวามกระจ่างชัดยิ่งขึ้น ผมจะแยกให้ดูในแต่ละรายละเอียดของแต่ละแบบดังนี้

# High Altitude Low Opening โดดสูงเปิดต่ำ คำย่อ HALO ลักษณะการกระโดดแบบนี้ผู้โดดหรือนักโดดจะกระโดดออกจากอากาศยาน ที่ระดับความสูงประมาณ 10000 ฟิต จากพื้นดิน จากนั้นก็จะถ่วงเวลาลงมาตามอัตราตกด้วยแรงดึงของแรงโน้มถ่วงของโลก หรือแรง G จนกระทั่งความสูงลงลงมาที่ประมาณ ประมาณ 4000 ฟิต จากพื้นดิน นักโดดก็จะทำการเปิดร่ม และบังคับร่มเข้าสู่ที่หมาย แบบนี้นักโดดชอบเพราะเวลาลอยตัวเล่นหรือบินอยู่นอากาศได้ประมาณ 30 วินาที การโดดแบบนี้ เพื่อลงสู่พื้นดินและเป้าหมายให้รวดเร็วที่สุด




ใครสามารถกระโดดร่มแบบนี้ได้
ผู้ที่ผ่านหลักสูตรการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง หรือเรียกว่าหลักสูตรการแทรกซึมทางอากาศ ซึ่งมีตามเหล่าทัพต่างๆ ของ กองทัพบก เรือ อากาศ และตำรวจ
โดยมาตรฐานหลักสูตรของกองทัพบก โดย โรงเรียนสงครามพิเศษ (ที่ผมจบมา) จะใช้ระยะเวลาฝึกศึกษาประมาณ 1 เดือน โดยเป็นการฝึกท่าทางการทรงตัวในอากาศ ท่าทางการกระโดดออกจากอากาศยาน การพับร่มโดด (ต้องพับด้วยตนเอง) การบังคับร่ม การแก้ไขเหตุติดขัด การลอยตัวในอากาศด้วยเครื่องช่วยฝึกจำลอง อุโมงค์ลมทางดิ่ง (โชคดีที่ได้ฝึก ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น) การกระโดดร่มจริงจากอากาศยานทั้ง ฮ.ลำเลียง ซีนุ๊ก,บล.212 CAZA,C-130 ของ ทอ., โดยต้องผ่านการกระโดดอย่างน้อย 35 ครั้ง จึงจะสำเร็จการศึกษา
แนวโน้มของหลักสูตรในปัจจุบัน # ความจำเป็นในการคงสภาพ แต่ติดขัดปัญหางบประมาณ ทำให้การเปิดการศึกษาหลักสูตร HALO มีน้อยลงไป

# High Altitude High Opening โดดสูงเปิดสูง  คำย่อ HAHO ลักษณะการกระโดดแบบนี้ผู้โดดหรือนักโดดจะกระโดดออกจากอากาศยาน ที่ระดับความสูงประมาณ 30000 ฟิต จากระดับพื้นดิน ซึ่งความสูงระดับนี้ บนชั้นบรรยากาสจะมีออซิเจน O2 ค่อนข้างเบาบาง นักโดดจำเป็นจะต้องมีการสวม หน้ากากออกซิเจนส่วนบุคคล Personal Oxigen mask ซึ่งมีอากาศเพียงพอสำหรับนักโดดประมาณ 10-15 โดยประมาณ สำหรับการโดดแบบนี้ จึงจำเป็นที่นักโดดต้องมีร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรง เรียกว่าต้องฟิต 100% เมื่อนักโดด โดดออกมาจะถ่วงเวลาประมาณ 10-15 วินาที เท่านั้น ก็จะเปิดร่มที่ระดับความสูงมากๆ และทำกสนเดินร่มหรือบังคับร่มให้เดินทางไปยังจุดหมายที่กำหนดหรือต้องการได้ในระยะำกลประมาณ 30-40 กิโลเมตร เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นการปล่อยนักโดดจากชายแดนประเทศหนึ่งที่เราต้องการแทรกซึมเข้าไปปฏิบัติภารกิจ นักโดดเหล่านี้ก็จะสามารถเดินร่มเข้าไปยังพื้นที่ในดินแดนของฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่า 30 กิโลเมตร เป็นต้น
การโดดแบบนี้เป็นการโดดที่ท้าทายมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ซึ่งจะต้องมีการควบคุมและกำกับดูแลการฝึกอย่างใกล้ชิด  เนื่องจากการแต่งตัวของนักโดดจะมีการใส่อุปกรณืในการปฏิบัติภารกิจทางทหารเพิ่มเข้ามาอีก ประกอบด้วยอาวุธ อุปกรณ์สื่อสาร เป้บรรจุสัมภาระ ซึ่งมีน้ำหนักรวมๆๆ กันแล้วมากกว่า 30 กก. จึงต้องมีเทคนิค และหลักการในการแต่งร่มที่ถูกต้องและคล่องตัวเป็นพิเศษ หากไม่แล้วอันตรายย่อมเกิดขึ้นโดยง่ายนั้นเอง



Tuesday, July 7, 2009

ความสามารถในการกระโดดร่มของท่านอยู่ในระดับไหน?

10 ครั้ง คุณจะมีความสามารถในระดับนักเรียน
30 ครั้ง คุณจะมีความสามารถในระดับนักกระโดด
80 ครั้ง คุณจะมีความสามารถในระดับผู้ควบคุมการกระโดด
205 ครั้ง คุณจะมีความสามารถในระดับผู้เชี่ยวชาญ

ดังนั้นครูปรีดา ครูอัมพร ครูเต๋อ ครูจรวย และครูอีกหลายๆ ท่านที่สังกัด แผนก ปฏิบัติการทางอากาศ ล้วนแล้วแต่ระดับผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น (เท่าที่สังเกตุดู น่าจะไม่ต่ำกว่าท่านละ )

สูตรคำนวณหาระยะทางพัดพา (WIND DRIFT)

สูตรคำนวณหาระยะทางพัดพา (WIND DRIFT)
D = KAV
D = ระยะทางพัดพา (เมตร)
K = ค่าคงที่ของร่ม (ร่มบุคคลกลม 4.1,ร่มทิ้งสัมภาระ 2.6)
A = ความสูงเปิดร่ม (หลักร้อยฟุต)
V = ความเร็วลมผิวพื้น (น็อต)

Saturday, July 4, 2009

สูตรคำนวณหาความยาวของเขตส่งลง (DZ)

DZ มาจากคำภาษาอังกฤษ ว่า Drop Zone แปลว่าการทิ้งหรือปล่อย ส่วน Zone ก็คือเขตหรือพื้นที่นั้นเอง เมื่อนำมารวมกันจึงกลาบเป็น Drop Zone หรือเขตหรือพื้นที่ส่งลงนั้นเอง ซึ่งการปฏิบัติการยุทธส่งทางอากาศ หรือการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศมีความต้องการ DZ ที่ถูกต้องและเพียงพอต่อการปฏิบัติการในครั้งนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อลดการเสี่ยงจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้กับพลร่มได้
D = RT
D = ความยาวของเขตส่งลง (เมตร)
R = ความเร็วของเครื่องบิน (เมตร/วินาที)
T = เวลาที่ต้องปล่อยนักโดดร่มหรือทิ้งร่มอุปกรณ์
(หมายเหตุ 1 นอต มีค่า -0.51 เมตร/วินาที)
)
ข้อมูลจาก สมุดบันทึกการกระโดดร่มของ H-7